ปกิณกภาพ “โขนนั่งราว” หลายปีก่อน วิทยาลัยนาฏศิลปมีการฟื้น “โขนนั่งราว” โดยทีมอาจารย์และศิลปินนักวิชาการ เพื่อฟื้นฟูรูปแบบการแสดงโขนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การแสดงโขนนั่งราวนี้ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โขนโรงนอก เป็นการแสดงโขนที่ วิวัฒนาการมาจาก โขนกลางแปลง ซึ่งแสดงบนพื้นดินกลางสนามหญ้า มีต้นไม้และใบไม้ เป็นฉากธรรมชาติ เมื่อการแสดงโขนกลางแปลงวิวัฒนาการมาเป็น โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก ก็มีการปลูก โรงให้เล่นเป็นแบบเวทียกพื้น มีความกว้างยาวแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคากันแดดกันฝนด้วย ตรงด้านหลังของเวที ระหว่างที่พักผู้แสดง กับเวทีแสดงจะมีฉากกั้น ฉากกั้นนี้ทำเป็นภาพนูนๆ รูปภูเขาสองข้าง เจาะช่อง ทำเป็นประตูเข้าออก ของตัวโขนสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้คนเรียก การแสดงโขน ชนิดนี้ว่า โขนนั่งราว ก็คือ "ราว" ตรงหน้าฉากห่าง ออกมาประมาณ 1 วาจะมีราวไม้กระบอก พาดตาม ส่วนยาวของโรง ตั้งแต่ขอบประตูด้านหนึ่ง จรดขอบประตูอีกด้านหนึ่ง ตัวโขนที่เป็นตัวเอกของเรื่อง จะนั่งบนราวไม้กระบอกนี้ แทนการนั่งเตียง เพราะโขนนั่งราว ไม่มีเตียงตั้ง (องค์ความรู้ฉบับย่อ ข้อมูลและภาพ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน))