ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected] กรมส่งเสริมฯหนุนแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม สืบสานวิถีชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ(2) การตระหนักถึงความสำคัญการอนุรักษ์สืบสานวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่เรียกว่าภูมิปัญญาที่บรรพชนสร้างสรรค์และสืบสานต่อเนื่องกันมารุ่นต่อรุ่นนับย้อนได้เกือบพันปีเป็นที่ประจักษ์แก่คนไทยมาตลอดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเอาพระทัยใส่อย่างจริงจังมาตราบที่ทรงครองราช 70 ปี พระราชจริยวัตรของพระองค์เป็นที่ประจักษ์ว่าได้ทรงเป็นแบบอย่างให้คนไทยได้รู้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง คนไทยทั้งประเทศกระทั่งนานาชาติต่างรู้ซึ้งว่าทรงครองชาติบ้านเมืองยึดมั่นในหลักคุณธรรมเป็นที่ตั้งดำเนินพระองค์ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงยึดมั่นในความกตัญญู ทรงให้รักษาความเป็นไทยตั้งแต่เรื่องของภาษาไทย พระราชจริยวัตรอันงดงามเป็นแม่แบบนำสู่การซึมซับให้เกิดการดำเนินตามรอยพระยุคลบาทแห่งพระราชโอรสพระราชธิดาทุกพระองค์ ดั่งพระราช จริยวัตรแห่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ได้ แสดงพระองค์ถึงความที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงกตัญญูต่อพระราชบิดาพระราชมารดาให้พสกนิกรชาวไทยได้ชื่นชมได้ภาคภูมิใจมาอย่างต่อเนื่อง อันนับว่าทรงเป็นแม่แบบของคนไทยในการสืบสานคุณค่าวิถีชีวิตวัฒนธรรมภูมิปัญญาไทยอย่างแท้จริง(อ่านต่อ) โครงการปีนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรมคัดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมชุมชนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนในการดำเนินการแหล่งเรียนรู้ชุชมน50 แห่งทั่วทุกภูมิภาคมีการเชิญทั้ง 50 แหล่งเรียนรู้มาร่วมประชุมพบปะแรกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันเมื่อวันที่1-3กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มารวมกันที่กทม.นี่แหละมีหลายแหล่งเรียนรู้นำผลงานมาร่วมจัดแสดงและนำผลผลิตที่ยังมีการสืบสาน ตลอดจนพัฒนาประยุกต์สืบสานจากภูมิปัญญาดั้งเดิมเพื่อสื่อสารให้เห็นความยั่งยืนและความภาคภูมิใจให้ได้ชมด้วย ทั้งที่เป็นวัตถุสิ่งของแห่งอดีตอย่างเครื่องมือประกอบอาชีพต่างๆ ทั้งที่เป็นผลผลิตอันยึดเป็นอาชีพสืบสานกันมาจนวันนี้ ทั้งที่เป็นการแสดงท้องถิ่นอย่างเช่นการแสดงของหอวัฒนธรรมตำบลนางแดด จังหวัดชัยภูมิที่เป็นศูนย์รวมอนุรักษ์ถ่ายทอดดนตรีพื้นบ้านอีสาน นำดนตรีและเซิ้งมาแสดงให้ชมด้วย พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิม จังหวัดนครสวรรค์ ก็นำเอาวงกลองยาวประยุกต์มาแสดงให้ชม นครวรรค์นั้นภาพรวมในอดีตก็ถนัดการละเล่นกลองยาวอยู่หลายชุมชน วันนี้มีการสืบสานไว้จึงเป็นเรื่องที่ถือได้ว่าสืบสานภูมิปัญญาเช่นกันยกตัวอย่างมาพอได้เห็นภาพ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมยังได้พาแหล่งเรียนรู้ทั้ง 50 แห่งไปเพิ่มพูนประสบการณ์เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอนพร้อมชมการแสดงหนังใหญ่ที่เชื่อว่าคนไทยอีกมากไม่เคยเห็นไม่เคยชมเป็นแน่นอน เฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่พิพิธภัณฑ์เฉลิมราชย์ แล้วก็แหล่งเรียนรู้คูบัว หนังใหญ่ถือเป็นมรดกเป็นสมบัติการแสดงหรือมรหสพทางวัฒนธรรมไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นการแสดงชั้นสูง รวมศิลปะอันเป็นภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่าหลายแขนงรวมกันไว้ทั้งด้านการออกแบบลวดลายไทยเชิงจิตรกรรมที่มีความวิจิตรบรรจง การแกะสลัก การแสดงนาฏศิลป์การละคร การเคลื่อนไหว บทพากย์ที่ต้องการจากการแต่งวรรณกรรรม บทเจรจา ขับร้อง ดนตรีปี่พาทย์ ว่ากันว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่มาพบหลักฐานการแสดงหนังใหญ่เริ่มมีสมัยอยุธยา ครั้งสมัยรัตนโกสินทร์ปรากฏหลักฐานการแสดงหนังใหญ่ตั้งแต่รัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พบการทำหนังใหญ่ 2 แห่งคือหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ สิงห์บุรีกับหนังใหญ่วัดขนอน ราชบุรี วัดขนอนมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการอนุรักษ์หนังใหญ่ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยนำไปเผยแพร่ยังที่ต่างๆกระทั่งต่างประเทศ พศ.2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีองค์อุปถัมภกมรดกไทยทรงเห็นคุณค่าในการแสดงและศิลปะตัวหนังใหญ่ ทรงมีพระราชดำริให้ทางวัดช่วยอนุรักษ์หนังใหญ่ 313 ตัวและจัดสร้างตัวหนังใหญ่ชุดใหม่ขึ้นแสดงแทนให้มหาวิทยาลัยศิลปากรรับผิดชอบงานช่างจัดทำหนังใหญ่ทั้งหมด และนำหนังใหญ่ชุดใหม่ที่สร้างนี้ทูลเกล้าฯถวายเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2538 ณ โรงละครแห่งชาติและพระราชทานให้วัดขนอนนำมาใช้ในการแสดงต่อไป ส่วนประกอบหลักหนึ่งของการแสดงหนังใหญ่คือวงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์ของวัดขนอนได้มีการนำเยาวชนจากโรงเรียนวัดขนอนมาเรียนปีพาทย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าเพื่อเป็นกำลังสืบสานศิลปวัฒนธรรมรวมถึงการฝึกแสดงเล่นหนังใหญ่ด้วยที่ต้องเป็นเยาวชนชายเท่านั้น ส่วนปี่พาทย์ได้ทั้งหญิงแล้วชาย นอกจากอนุรักษ์สืบสานแล้วยังทำให้เป็นอาชีพเสริมขณะเรียนหนังสือหรือทำอาชีพอื่นก็มาเล่นปี่พาทย์ได้ “วันนี้หนังใหญ่ที่แสดงให้คณะแหล่งเรียนรู้ชมจับตอนองคตจับยักษ์ปักหลั่น หนูมาตีฆ้องวงสลับระนาดทุ้มเล่นได้สองอย่าง เริ่มเรียนมาตั้งแต่ป.5 ตอนนี้จบม.6 แล้วทำงานแล้วก็มาช่วย ตอนมาเรียนไม่ได้ถูกบังคับมาตามกันสนุก พอเป็นแล้วไปเล่นก็ได้สตังค์ด้วย แล้วถึงวันนี้ก็รู้สึกว่าดีนะที่ได้มาเล่นวงปี่พาทย์เพรัได้รักษาของเก่าให้อยู่ต่อไป”นางสาวประภัสสร สืบติภามือฆ้องวงพูดให้ฟังขณะเล่นเพลงลาวราชบุรีก่อนเข้าเรื่องจับยักษ์ปักหลั่น (อ่านต่อ) .................................................