แก้วกานต์ กองโชค รายงานข่าวจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ระบุว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคาร เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.พ.2560 เอ็นพีแอลคงค้างของธนาคารเท่ากับ 5.73 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 61.54% ของสินเชื่อรวม 9.32 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 4,000 ล้านบาท จากสิ้นปี 2559 ที่มีเอ็นพีcv]กว่า 5.37 หมื่นล้านบาท เนื่องจากลูกค้ารายใหญ่มีปัญหาการชำระหนี้ ทำให้ลดระดับหนี้จัดชั้นลงมา เพราะลูกหนี้ส่วนใหญ๋ไม่สามารถสร้างรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งในการบริหารงานภายในบริษัทของลูกค้า และยังมีบางรายขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ รวมถึงยังพบว่าบางบริษัทนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์นั่นจึงทำให้ “เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ” ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สั่งการไปยังคณะกรรมการและผู้บริหารธนาคาร ให้เร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เป็นการด่วน เพราการแก้ไขปรับโครงสร้างยังทำได้ง่ายกว่าที่เป็นรายย่อยที่มีจำนวนมากราย ปัญหา “หนี้เสียธนาคารของรัฐ” นั้น เป็นปัญหามาราธอนที่ยังไม่มีรัฐบาลชุดไหนสามารถแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ มิหนำซ้ำยังทำให้ปริมาณ “หนี้เสีย” เพิ่มขึ้นทุกรัฐบาล โดยเฉพาะการดำเนินนโยบาย “ประชานิยม” ซึ่งอาศัยสถาบันการเงินของรัฐเป็นเครื่องมือใช้เงินตามนโยบายนั้นๆ ข้อมูล สถาบันการเงินของรัฐทั้ง 7 แห่ง ปรากฎว่า มีสัดส่วนหนี้เสียมากกว่าระบบธนาคารพาณิชย์เกือบ 2 เท่า หนี้เสีย หรือ NPLs 5.3% ของสินเชื่อทั้งหมด ขณะที่หนี้เสียของระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2555 มีเพียง 2.2% เท่านั้น แต่เมื่อคิดเป็นมูลค่าเงินแล้ว แบงก์รัฐมีหนี้เสียรวม 243,317ล้านบาท น้อยกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีหนี้เสียมูลค่า 265,600 ล้านบาท ผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) สิ้นไตรมาส 3 ปี 2559 มียอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) คงค้าง 2.53 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.35 หมื่นล้านบาท และสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมยังปรับตัวเพิ่ม 6.4% สถาบันการเงินภาครัฐทั้ง 7 แห่ง ประกอบด้วย 1.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 2. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอี แบงก์ 3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) 4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิม แบงก์ 5.ธนาคารออมสิน 6. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)7.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์ ส่วนอีก 3 แห่งไม่ได้ประกอบธุรกิจธนาคาร ประกอบด้วย 1) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย 2) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และ 3) สำนักงานธนานุเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ในบรรดาแบงก์รัฐทั้งหมดนั้น เอสเอ็มอีแบงก์ และไอแบงก์ มีปัญหาเรื่องหนี้เสียมากที่สุด เนื่องจากการปล่อยสืนเชื่อของธนาคารเหล่านี้ มักแปรผันในทิศทางเดียวกับความสัมพันธทางการเมือง โดยข้อมูลในอดีตระบุว่า เอสเอ็มอีแบงก์และไอแบงก์ มีหนี้เสียมากถึง 33.7% และ 29.7% ตามลำดับ แต่ทั้งนี้ แบงก์รัฐเกือบทุกแห่งมีหนี้เสียสูงกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ โดยเฉลี่ยมากกว่า 2 เท่า (ไม่รวมเอสเอ็มอีแบงก์และไอแบงก์) ยกเว้นธนาคารออมสิน มีหนี้เสีย 1.1% ต่ำกว่าระบบธนาคารพาณิชย์เพียงแห่งเดียว คำถามที่สำคัญคือ กระบวนการบริหารสินเชื่อของธนาคารเหล่านี้ อยู่ในสภาพเช่นไร ? โดยไม่ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นไปตามมาตรฐานอยู่แล้ว แต่เมื่อหลักเกณฑ์นั้นอยู่ในมือของคน อาจจะมีการตีความไปเป็นอีกแบบหนึ่ง ทำห้ารตัดสินใจจะขึ้นอยู่ “อำนาจ” ว่าอยู่ที่ใครมากกว่า !!!!