ปรากฏการณ์ปัญหาเกี่ยวกับผู้สุงวัยกับผู้น้อยวัย-เด็กและเยาวชน มีมากขึ้นและเกิดปัญหาใหม่ ๆ ขึ้นมากสภาพปัญหาในโรงพยาบาลรัฐและโรงเรียนรัฐเป็นจุดที่สังคมต้อง่วยกันดูแลแก้ไข นี้มิไดด้หมายความว่า ผู้บริหารและเจ้าห้าที่ของโรงพยาบาลและโรงเรียนทำงานไม่ดี เพียงแต่ปัญหาบางอย่างมันเกินกำลัง และ/หรือขึ้นกับนโยบายศูนย์กลางรัฐ , เกินกว่าอำนาจการบริหารเฉพาะหน่วยงานจะแก้ไขได้เต็มที่เราขอเสนอว่า ถ้าผู้บริหารัฐและพลเมืองดีควรทำคความเข้าใจปัญหาเฉพาะแห่งอย่างเป็นรูปธรรม แล้วช่วยสนับสนุนการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างถูกต้องเหมาะสมจากตัวอย่างทัศนะแสดงความเป็นห่วงของท่านผู้รู้สูงวัยต่อไปนี้ น่าจะให้แง่คิดแก่รัฐและชุมชนได้บ้าง “เป็นห่วงเป็นใยกันเรื่องการศึกษาและสาธารณสุข เด็กและเยาวชนต้องมีการศึกษา แต่การศึกษาบ้านเราวิกฤติเพราะหลากปัญหา พยายามแก้ไข ยังไม่ลงตัวส่วนใหญ่มักบ่นเรืองหนี้ครู นักเรียนมีทุนเรียนไม่มากพอ สอบได้แต่ไม่มีทุนเรียนต่อ มาตรฐานครูไม่เสถียร ค่าตอบแทนต่ำ มีการกวดวิชาเพราะในชั้นเรียนไม่มากพอ การทุจริตแข่งขันสอบแย่งเก้าอี้ที่มีจำกัด ส่วนเรื่องสุขอนามัยมีเอกชนเข้ามาค้าขายความเจ็บไข้ได้ป่วยแบ่งคนจน-คนรวยชัดมากขึ้น หมอ พยาบาลไหลไปทางเอกชน ทำให้สถานพยาบาลของหลวงมีคนไข้ล้น เพราะหมอ พยาบาลในเมืองดีกว่าชนบท อันที่จริงคนเราสมัยนี้ป่วยมากขึ้น สวนทางการผลิตหมอพยาบาลมีมากขึ้นแต่จบแล้วไหลไปต่างประเทศและเอกชนเพราะค่าตอบแทนสูงกว่า การป้องกันกับรักษาต้องทำไปพร้อมกัน หากคนแข็งแรงเพราะออกกำลังกายและบริโภคถูกสุขอนามัย เจ็บไข้ได้ป่วยรู้เท่าทันจะเข้ารักษาลดลง แต่สวนทางหมดเพราะคนป่วยมากขึ้น ทั้งที่ประชากรอัตราเกิดลดลง คำถามมากที่สุดคือค่ารักษา ยาแพงมาก หมอ พยาบาลให้การรักษาไม่พอเพียง สองกระทรวงนี้มีส่วนเกยกันหรือเหลื่อมกันที่ต้องสอดคล้อง เลยไปเชื่อมกระทรวงพัฒนามนุษย์ที่เก็บรายละเอียดแต่เกิดจนตาย เป็นงานหนักที่ท้าทาย ทุกรัฐบาลหาสาเหตุจะวนเวียนพายเรือในอ่าง น่าจะปฎิรูปบูรณาการ เหมือนครั้งหนึ่งรัฐบาลทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งฐานพัฒนาอินฟราสตรัคเจอร์ด้วยกระทรวงการพัฒนาแห่งชาติรวมงานพื้นฐานทางคมนาคม เกษตร พลังงาน เข้าด้วยกัน ปรับแล้วแยกไปทำงานสอดประสาน นักวิชาการมีมากมาย คนมีทักษะประสบการณ์เต็มประเทศ แต่ทำไมยังอืดอาด หรือจาเป็นเพราะพัฒนาการเมืองไม่สำเร็จ ต้นเหตุมาจากนักการเมืองโกงกินหรือเจ้าพนักงานของรัฐไม่ขยันขันแข็งที่ทำงานไม่ได้ตามเป้าหมาย?” (เกษม จันทร์น้อย) ปัญหาการต่างคนต่างทำ ไม่บูรณาการกันอย่างจริงจังของกระทรวงต่าง ๆ นั้น ยังปรับปรุงไม่ได้ดีเท่าที่ควร นี่เป็นปัญหาของงานราชการไทยมานมนานแล้ว ปัญหา “พลังสร้างสรรค์ของชุมชน” ไม่อาจแสดงบทบาทได้เท่าที่ควร ก็เป็นปัญหาของงานราชการไทยและระบบคิดของคนไทยมานมนานแล้วเช่นกัน ทำอย่างไร จะบูรณาการงานกลุ่มเดียวกันเข้าด้วยกันให้ดี ลำพังการจัดกลุ่มกระทรวงแล้วให้รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งไปนั่งดูแลกระทรวงกลุ่มหนึ่งเท่านั้นคงไม่มีประสิทธิผลพอพียง