“13 ขุนพลหลัก” ฐานะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เดินหน้า แก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนใต้ “พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้า “พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงษ์” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองหัวหน้า “พล.อ.อักษรา เกิดผล”, “พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์”, “พล.อ.สกล ชื่นตระกูล”, “พล.อ.ปราการ ชลยุทธ”, “พล.ท.วิวรรธน์ ปฐมภาคย์”, “พล.อ.จำลอง คุณสงค์”, “พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์”, “พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ”, “นายภาณุ อุทัยรัตน์”, “นายจำนัล เหมือนดำ” และ “นายพรชาต บุนนาค” จากผลการทำงาน ตามคำสั่งของหัวหน้า คสช. ในเรื่องการปรับปรุงการบริหารเพื่อแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ทั้ง ๖ ยุทธศาสตร์ นโยบายที่ ๓ ของนโยบาย ความมั่นคงแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงข้อสั่งการเพิ่มเติมของ นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ได้เพิ่มน้ำหนัก และสร้างความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนงานให้มีความ ก้าวหน้าในทุกๆด้านอย่างเห็นได้ชัด ด้านความมั่นคง คือมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และประสิทธิผลการดำเนินคดี และแนวทางสันติวิธี คือ มีการจัดตั้ง “จิตอาสาประชารัฐ ญาลันนันบารู” เป็นเครือข่ายป้องกันเยาวชน จากภัยยาเสพติด พัฒนาและใช้ระบบฐานข้อมูลกลางด้านความมั่นคงและทางคดี เสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ ชุดพนักงานสอบสวนคดีความมั่นคงที่จัดตั้งขึ้นจัดประชุมคณะทำงานทางเทคนิคร่วม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกภาคส่วน โดยล่าสุดเปิดการอบรม โครงการสันติวิธี รุ่นที่ ๔ ผู้รับการอบรม มีความเข้าใจ และสนับสนุนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข รวมทั้ง การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ด้านการพัฒนา "รวมการวางแผน แก้ไขปัญหา และการศึกษา มุ่งสู่การพัฒนา และส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม" "รวมการวางแผน แก้ไขปัญหา" ประสานกับกระทรวงพลังงาน ให้ ศอ.บต. เป็น “ศูนย์รวมการวางแผน” แก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน โดยส่งเสริมภาคเอกชน ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ส่งเสริมการจัดตั้งโรงงานแปรรูปมะพร้าวแบบครบวงจร เตรียมจัดตั้ง สถาบันเกษตรกรประชารัฐ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใน ๓ เดือน “การศึกษา มุ่งสู่การพัฒนา" จัดการเรียนในศูนย์ฝึกวิชาชีพประจำอำเภอ จัดตั้งกลุ่มอาชีพและส่งเสริมทักษะในสถาบันการศึกษาปอเนาะ ฝึกอบรมอาชีพ ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และจัดการเรียนอาชีพควบคู่กับการเรียนศาสนา เพื่อ "ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม" พบปะสร้างความเข้าใจ และดำเนินโครงการ “ชวนคนไทยพุทธกลับภูมิลำเนา” จำนวน ๓๘ ครอบครัว พบปะสร้างความเข้าใจ กลุ่มผู้นำทางศาสนาทั้ง ๘ องค์กร ร่วมกิจกรรมต้อนรับ "เดือนรอมฎอน" ศึกษาและถอด บทเรียนหมู่บ้านตัวอย่าง ชุมชนศรัทธา “กัมปงตักวา เพื่อสันติสุข” ครบทั้ง ๕ หมู่บ้าน โดยเชื่อมโยงสู่ความ เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม - การประเมินผล โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยสำนักงาน คปต.ส่วนหน้า ตาม คำสั่งของ ประธาน คปต. ผลการประเมิน ร่วมถึงประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารและ เชื่อมั่นในการดำเนินโครงการ โดยรวมแล้วอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ด้านการสร้างความเข้าใจ “สร้างความเชื่อมั่นจากภายในและเสริมความเข้าใจจากภายนอก" ได้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รัฐ รุ่นแรก ตาม "หลักสูตรมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน" ซึ่งส่วนราชการในกลุ่มภารกิจงาน ที่ ๓ ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น (ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม, กระทรวงการต่างประเทศ และกรมพระธรรมนูญ) นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือ จากธนาคารโลก ให้การสนับสนุน องค์กรภาคประชาสังคม ที่ขับเคลื่อนแนวทางสันติวิธี ตามแนวทางของรัฐ และเชิญผู้แทนพิเศษฯ ศึกษาดูงาน ณ ประเทศโคลัมเบีย (ศึกษาดูงานการพัฒนาเพื่อ แก้ไขปัญหาความขัดแย้งของโครงการพาคนกลับบ้าน ของรัฐบาลโคลัมเบีย) เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล มีเรื่องประสานกับ ๖ กระทรวง ๓ ส่วนราชการ ขอให้สนับสนุนการขับเคลื่อนงาน คือกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กอ.รมน. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ ๒ กระทรวง คือ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพลังงาน อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนแนวทางนี้จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะนำไปสู่สันติสุขที่ยั่งยืนต่อไป