เมื่อเวลา 13.30 น.นายมีชัย ฤชุพันธ์ุ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณามาตรา 272 ว่า ตนขอว่าอย่าเดาอะไรล่วงหน้า ที่ผ่านมา กรธ.ก้ได้ทำความเห็นพร้อมให้เหตุผลไปแล้ว ทุกอย่างขึ้นอยุ่กับกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าเขาเห็นว่าต้องกลับมาแก้ไข กรธ.ก็จะแก้ไขไป ย้ำว่า กรธ.ไม่ได้มีความเป็นห่วงในเรื่องนี้ เมื่อถามถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) จะพิจารณากฎหมายลูกก่อนที่ กรธ.จะส่ง พ.ร.ป.รัฐธรรมนูญไปให้จะทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่าก็แล้วแต่เขา ทั้งนี้ตามร่างรัฐธรรมนูญระบุไว้แล้วว่าถ้า สนช.มีการเห็นชอบกฎหมายลูกไปแล้ว แต่องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องหรือ กรธ.ไม่เห็นชอบและมีคำทักท้วงมา ก็ต้องแจ้งให้ประธานสนช.ทราบ ภายใน 10 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพ.ร.ป.นั้น และให้ สนช.ตั้งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญขึ้นคณะหนึ่งมีจำนาน 11 คน ประกอบด้วยประธานองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง 1 คน สมาชิกสนช. 5 คน และกรธ. 5 คน ทำหน้าที่จะพิจารณาร่างพ.ร.ป.ที่เห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้วเสนอต่อสนช.ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ถ้าสนช.มีมติไม่เห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกิน 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสนช. ให้ร่างพ.ร.ป.นั้นเป็นอันตกไป แต่ถ้าไม่ถึง 2 ใน 3 ก็จะถือว่าสนช.ให้ความเห็นชอบตามร่างที่กมธ. เสนอ เมื่อถามว่าในตอนนี้มีข้อเสนอจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) กรณีเสนอกระทรวงมหาดไทยร่วมกันจัดการเลือกตั้งว่าจะขัดร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่าไม่เห็นว่าเสนอขนาดไหน ทุกวันนี้ กกต.ก็จัดการเลือกตั้งโดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่จากทุกกระทรวงอยู่แล้ว ในตอนนี้มีรายงานสรุปเล่มหนาจาก กกต.ส่งมาให้ กรธ.พิจารณา กรธ.ก็จะได้พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ต้องดูในหลายแง่หลายมุมวาสิ่งที่ สปท.เสนอนั้นจะเป็นการลดอำนาจ บทบาทของ กกต.ลงไปหรือไม่ ก้ต้องดูหลายแง่หลายมุม ที่ผ่านมาในรัฐธรรมนูญ 2540,2550 และในร่างรัฐธรรมนูญระบุไว้คล้ายกันว่า กกต.มีหน้าที่จัดการการเลือกตั้ง หมายความว่า กกต.จะจัดการเลือกตั้งเอง หรือให้คนอ่นจัดแล้ว กกต.คุมก็ทำได้ทั้ง 2 ทาง อย่างไรก็ตาม กกต.ก็เสียรังวัดมาหลายครั้งแล้ว เพราะคุมการจัดการการเลือกตั้งเองแล้วประสบปัญหา นายมีชัยกล่าวว่าในตอนนี้กำลังให้คนไปศึกษาอยู่ว่าที่ประเทศอินเดียนั้นมีประชาชนพันกว่าล้านคน เขามีการดูแลจัดการการเลือกตั้งกันอย่างไร เท่าที่ทราบมาเขามีคนกำกับดูแลการเลือกตั้งแค่จำนวนร้อยกว่าคนเท่านั้นในการกำกับดูแลการเลือกตั้ง และตัว กกต.ก็มีคนเดียวที่ทำหน้าที่มอบหมายให้หน่วยงานของรัฐจัดการเลือกตั้ง แล้วตัวเองก็ลงไปดูว่าที่ไหนมีปัญหาก็สั่งหยุดการเลือกตั้งได้ ซึ่งในขณะนี้ตนได้มอบหมายให้ไปศึกษาว่าระบบแบบนี้จะนำมาประยุกต์กับประเทศไทยได้หรือไม่ เมื่อถามว่าจะมีการยุบ กกต.จังหวัดหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่าในร่างรัฐธรรมนูญไม่เคยพูดเรื่อง กกต.จังหวัด นี่เป็นเรื่องที่พูดใน พ.ร.ป. ส่วนเรื่อจะเซ็ทซีโร่ กกต.หรือไม่ ตอนนี้ ตนตอบไม่ได้ ยังไปไม่ถึงตรงนั้นอย่าเพิ่งพูดอะไรที่ทำให้ขวัญกระเจิง เมื่อถามต่อว่าการให้กระทรวงมหาดไทยมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง อาจจะทำให้เกิดการแทรกแซงทางการเมืองได้ นายมีชัยกล่าวว่าก็เป็นไปได้ แต่ขอย้ำว่าเขาก็มีการใช้คนจากกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นหลักเพื่อช่วยเหลือการเลือกตั้งอยู่แล้ว นายมีชัยกล่าวว่าส่วนตัวเห็นว่า การทำงานของกกต.ที่ผ่านมาทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก กรธ.จึงพยายามคิดว่า จะทำอย่างไรให้ กกต.ทำงานเชิงรุกได้มากขึ้น ทั้งนี้ หาก กรธ.ได้ร่างกฎหมายลูกจาก กกต. ก็อาจจะจัดสัมมนา โดยเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงฝ่ายการเมืองได้อ่านตัวร่าง และดูว่าจะมีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง ซึ่งเราต้องรับฟังหลาย ๆ ทาง อย่าเพิ่งคิดร้าย เมื่อฟังเสร็จแล้วก็นำมาเปรียบเทียบและปรับปรุง