ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ชาย ผู้นำหน้า ….. ของปู่จิ๊บ ซึ่งมิใช่คนทั่วๆไป แต่เป็นคนดีที่มีประสบการณ์ นำทางดีให้เรา ดังมีคำพังเพยว่า “เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด” ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย ผู้ใหญ่ในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีประสบการณ์ ปฏิบัติตามผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบการณ์ย่อมปลอดภัย การประพฤติปฏิบัติตามอย่างผู้ที่เคยทำการนั้น ๆ มาแล้วย่อมจะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดและสำเร็จได้ด้วยดี เช่น ถ้าไม่รู้จะทำอย่างไรก็ให้ดูว่าผู้ใหญ่เขาทำอย่างไรกัน แล้วก็ทำตามนั้น อย่างไรเสีย เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด แม้ว่าเราอาจเป็นคนสมัยใหม่ยึดความคิดตัวเองเป็นหลัก แต่ก็มีหลายคนที่ลืมคำว่า เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ทำให้การทำงานล้มเหลวมามากต่อมากแล้ว ปู่จิ๊บได้กล่าวถึง ป๋าบุญช่วย ก๋งเฮว คุณพ่อกรางค์ บราเดอร์มาสเซอร์ACL และพลวงพ่อวัดเชียงราย ที่ลำปาง บ้านเกิด มีชายผู้เดินเคียงข้างมา แม้ว่าจะเป็นช่วงวัยเด็ก แต่ก็ให้แง่คิด คือ เพื่อน “บ้าน-โรงเรียน” เพื่อนวัยเด็กให้แง่คิดที่สำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตจริง คือ ความเป็นเพื่อนที่บริสุทธิ์มีค่ามากกว่าสิ่งใดๆ เพราะ เพื่อนที่เรียนมาด้วยกัน ตั้งแต่ อนุบาล ประถม มัธยม มีส่วนไม่น้อย ที่ไม่เรียนต่อชั้นสูงๆ และเมื่อเพื่อนผู้ที่ไปเรียนต่อเตรียมอุดมหรือมัธยมปลาย มหาวิทยาลัย ปริญญาโทเอก เรียนในและต่างประเทศ ยิ่งจบมาทำงานข้าราชการ เอกชนประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือบางคนก้าวไปสู่การเมือง จะมีบทบาทสูงขึ้นมาก บางคนที่ได้ดิบได้ดี และด้วยความห่างของกาลเวลา ฐานะและบทบาท อาจจะลืมเพื่อนเก่าไปคบเพื่อนใหม่ หรือบางคนที่ดี แต่มีฐานะสูง เช่น เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นคหบดี สส. หรือ รัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี การคบกัน ก็อาจจะเปลี่ยนบทบาทจากความเป็นเพื่อน ไปเป็นอย่างอื่นที่ต่ำกว่า เป็นอะไรที่มิใช่เพื่อนแบบเดิม เช่น ไปเป็นลูกน้องนายเขา ไปขอความช่วยเหลือเขา ทั้งเรื่องถูกต้องและไม่ถูกต้อง เช่นการใช้อภิสิทธิ์ฝาก ฯลฯ ลักษณะหรือการกระทำแบบนี้ เป็นลักษณะอุปถัมภ์ และมักจะมีเรื่องไม่ถูกต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง และจะเป็นความไม่เท่าเทียม ไม่ใช่เพื่อนเก่าที่คบกันอย่างเสมอภาค เพราะคนให้: ให้น้อยแต่ได้มาก ส่วนคนรับได้น้อย แต่ต้องจ่ายมาก โดยไม่รู้ตัว เช่น ยอมทำผิดแทน การเป็นหัวคะแนนให้ คนให้ อาจจะจ่ายเงินไปสิบยี่สิบบ้าน แต่ได้เป็นสส. สว. รัฐมนตรี โกงเงินแผ่นดินไปหลายร้อยพันล้าน ฯลฯ ปู่จิ๊บ เอาความเป็นเพื่อน ความรักความสัมพันธ์นำหน้ามาก่อนเรื่องฐานะ บทบาท การงาน และ ความคิด คิดอย่างไรในสมัยเป็นเด็ก ที่เป็นความบริสุทธิ์ สดชื่น งดงาม อันเป็นความสุขความรักต่อกัน “จิ๊บ ก็ยังคง เป็น จิ๊บ” คนเดิมเสมอไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อเพื่อนที่คบหาสมาคมมากว่าสิบปี เจอกันก็ทักทายพูดคุยกันด้วยความรู้สึกที่ดี กินข้างแกงก๋วยเตี๋ยวขนมจีนน้ำเงี้ยว ก็อร่อยและสุขใจ คือ เพื่อนก็คือเพื่อน เป็นมิตรแท้ที่ดีต่อกันเสมอ ไม่เปลี่ยนแปลง คบกันด้วยความจริงใจ มิมีผลประโยชน์ ไม่อยากจะกล่าวว่า “ มีความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในยามเด็ก และสภาพปัจจุบัน” ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ สภาพสังคมไทยที่เป็นระบบอุปถัมภ์ ระบบบริโภคนิยมและระบบทุนนิยม เป็นใหญ่ ซึ่งมีผลและมีอิทธิพลมีบทบาทครอบงำ ให้ผู้คนเปลี่ยนไป ทั้งเพื่อนที่เป็นใหญ่เป็นโต และเพื่อนผู้น้อย คือ บางส่วน เปลี่ยนความสัมพันธ์ต่อกัน ทั้งสองฝ่าย เป็นการปรับเข้าหากันได้ดี ตามสภาพสังคม แม้จะไม่ปรารถนาให้มีสภาพเช่นนี้ แต่เราก็ฝืนความเป็นจริงของสังคมมิได้ ข้อสำคัญ ขอให้เราพิจารณาและทำที่ตัวของเราก่อน บอกตัวเองเสมอ “เราเป็นเพื่อนรักกัน” เมื่อเรามีมาก ก็ช่วยเพื่อนที่เดือดร้อนตามสภาพที่ให้เพื่อนได้พึ่งตนเอง เมื่อเราไม่มี เราก็พึ่งตนเอง อีกเรื่องหนึ่ง ที่เป็นปรากฏการณ์ในสังคมมากว่าสิบปีหลังมานี้ คือ “ความคิดทางการเมือง” การแบ่งสีแบ่งฝ่าย สีเหลืองสีแดง ทีมีโทษอนันต์และมีอิทธิพลสูง ในการ “ทำลายความเป็นเพื่อน” สาเหตุหรือรากเหง้า มาจาก “การได้ข้อมูลผิดพลาดทั้งสองฝ่าย” จะมากจะน้อยต่างกันไปตามสภาพ เพราะ “การเมืองในระบบสามานย์นี้” เป็นการแข่งขันช่วงชิงอำนาจ และเอากันถึงเลือดเนื้อระหว่างฝ่าย และตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ตัวหัวหรือหัวหน้า จะไม่ได้รับบาดเจ็บถึงเป็นถึงตายหรือมีอันเป็นไป แต่คนที่ได้รับผลเสียหาย ทั้งบาดเจ็บล้มตาย เสียทรัพย์สิน ติดคุกติดตาราง มีคดี ถูกลงโทษ คือลูกน้อง เพราะ “ไปเชื่อเขา” เชื่อในข้อมูลที่เขาใส่ลงไปในหัว โดยผ่านกลไกสื่อสารครบทุกรูปแบบ ทั้งสื่อนสพ. วิทยุ โทรทัศน์ สังคมออนไลน์ เฟสบุ๊ค อีเมล์ ไลน์ SMS และการปลุกระดมในการชุมนุมฯ และที่ใช้ไม่น้อยในสังคมที่ด้อยวัฒนธรรมการเรียนรู้ คือ การใช้อำนาจนายกฯ สส. หัวคะแนน ฯลฯ รวมทั้งกลไกอำนาจรัฐ ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร กระบวนการยุติธรรม ตำรวจ อัยการ ศาล ลักษณะของข้อมูล มี 2 ด้าน คือ ด้านหนึ่ง เราถูกเสมอและเขาผิด ด้านสอง หากเราผิดให้มาดูข้อหนึ่ง 1. เราถูก คือ เราทำถูกต้อง เราทำเพื่อประชาชนเพื่อประเทศชาติ ,เราถูกกลั่นแกล้งทำลายป้ายสี 2. เขาผิด คือ เขาทำไม่ถูก เขามิใช่ตัวแทนประชาชน เขาใส่ร้ายป้ายสีเรา เขาอิจฉาเรา …… เรื่องของเวลาที่เกิดเหตุฯ จะมี 2 ช่วง คือ เวลาที่เกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ 1. เวลาเกิดเหตุ เราจะเห็นและรับรู้ถึง เรื่องที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งก็จะมีการต่อสู้ทางความคิดและการข่าว คนที่มีความรู้ มีการติดตามข่าวสารทั้งด้วยตนเอง เพื่อน และสื่อต่างๆที่ปรากฏขึ้นทางสื่อ ทีวี ฯลฯ ก็จะได้ “ข้อมูลและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น” อย่างถูกต้อง 2. หลังเกิดเหตุ หรือเหตุการณ์ผ่านไป ก็จะมีการต่อสู้ทางความคิดและการข่าว การสื่อสารต่างๆ ฝ่ายที่ผิด ก็จะใช้กลไกทางข่าว หรืออำนาจรัฐ ( หากได้เป็นรัฐบาล ) ออกข่าวซ้ำต่อเนื่อง เพื่ออ้างว่าตนถูก ฝ่ายที่ถูก มักจะเชื่อว่า เราถูกอยู่แล้ว ก็มักไม่ค่อยทำอะไร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐ กระบวนการยุติธรรม ตัวอย่างที่ชัดเจนของเรื่องนี้ คือ เหตุการณ์ปี 2552 มีกลุ่มคนสีหนึ่ง รวมกับตำรวจบางส่วน บุกเข้าไปขัดขวางและทำลายการประชุมอาเซียน + 6 ที่พัทยา ทำให้ประเทศเสียหายอย่างมาก และก็มีภาพหัวหน้าของฝ่ายเขา ซึ่งหนีไปต่างประเทศ สไกด์ผ่านสาธารณะว่า “ เป็นชัยชนะ “ ปี 2553 กลุ่มคนสีเดิม ต้องการล้างแค้น ระดมคนมาจากต่างจังหวัด ใช้คำขวัญว่า “ การต่อสู้ครั้งสุดท้าย” มีการชุมนุมใหญ่ปิดล้อมกรุงเทพฯ ใช้อาวุธร้ายแรงยิงทำลายทหาร ประชาชน สถานที่ราชการฯ บุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาฯ ที่สมเด็จพระสังฆราชที่ทรงประชวร รักษาตัวอยู่ จนต้องย้ายไปศิริราชฯ และเมื่อถูกกำลังเจ้าหน้าที่ทหารฯ ออกมาป้องกันและยึดพื้นที่กลับคืน จนต้องยอมแพ้ ฯ แต่ ก็ยังต้องการแก้แค้น ด้วยการ “ประกาศออกทางสาธารณ ให้มวลชนของเขา ไปเผาบ้านเผาเมือง” โดยผู้ออกประกาศ เป็นทั้งแกนนำผู้ชุมนุมหลายคน และตัวหน้าใหญ่ที่โฟนลิงค์มาจากต่างประเทศ ผลก็คือ มีการเผาอาคารในกรุงเทพฯ ที่ เซนทรัลเวิลร์เทด ฯ และต่างจังหวัด เผาศาลากลางจังหวัดฯ ภาพที่เห็นประจักษ์ด้วยสายตาของคนที่อยู่ในที่เกิดเหตุ และทางทีวีวิทยุสื่อฯ มีหลักฐานชัดเจนฯ • เรื่องความคิดทางการเมือง เป็นอิสระของทุกคน แต่ควรจะต้องแยกกันให้ออก ด้วยความรู้ความรัก คือ ระหว่างความคิดต่างสีกัน ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาในช่วงสิบปี กับ ความรักความเป็นเพื่อนที่มีมากว่าห้าสิบปี การแสวงหาความจริงและข้อมูลด้วยความรู้สติปัญญาฯ มิใช่ใช้ความเชื่อ อคติ อวิชชา ไม่ตรวจสอบฯ ปู่จิ๊บ ก็พยายามแยกแยะในเรื่องที่กล่าวมา และพยายามแก้ไขปรับปรุงตนเองเสมอตลอดเวลา เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีและถูกต้อง ทั้งการรักษามิตรภาพความเป็นเพื่อนและข้อเท็จจริง แต่เรื่องนี้ ในสภาพที่สังคมยังมีความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม มีการใช้กลไกอำนาจรัฐ อำนาจทุนการเมือง ที่มีอำนาจของตน และสื่อสารมวลชน เครือข่ายนักวิชาการและประชาชน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของตน ทำให้คนที่ไม่ได้ติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดเป็นจริง แต่ใช้ความเชื่อและข่าวอ้างข่าวลือเป็นหลัก เชื่อง่าย และมีอย่างน้อยอีก 2 เรื่อง ที่มีส่วนทำให้ “การแสวงหาความจริง ทำได้ยากยิ่ง” คือ 1. สภาพสังคมไทยทุกวันนี้ แม้เราจะเชื่อว่า “ เป็นโลกของการสื่อสารข้อมูลที่ทันสมัยรวดเร็ว “แต่ก็มีฝ่ายที่มีอำนาจทุกฝ่าย ทั้งรัฐ พรรคการเมือง ทุนใหญ่ นักธุรกิจ นักวิชาการ นักเคลื่อนไหวใช้การเผยแพร่ข้อมูลไปสู่สังคม ตามความเชื่อและผลประโยชน์ของตนทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ฉะนั้น เราอย่าเพิ่งไปเชื่อหมด ว่า “เขาจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่เราและแก่สังคม” ต้องมีการตรวจสอบเพราะผู้นำหลายภาคส่วน เอาอคติความเชื่อว่า “ ใครดีไม่ดี “ โดยดูจากตัวบุคคล มิใช่ข้อมูลความจริง และในสังคมเช่นนี้ จะมีข่าวสือข่าวเล่าอ้างมากมาย และมีไม่น้อยมาจากแหล่งข่าวเดียวกัน 2. เรื่องท่าทีและความจริงใจรวมทั้งการเคารพผู้ใหญ่ที่ทำหน้าที่ เป็นเรื่องสำคัญ แม้เนื้อหา จะสำคัญที่สุด แต่หากรูปแบบดี สอดคล้องกับผู้ใหญ่ฯ ผลน่าจะออกมาดีกว่า การแยกเรื่องส่วนตัว กับงานออกจากกัน งานก็ต้องเคารพกัน แต่การแสดงท่าทีส่วนตัวต้องมีหลักการที่ถูกต้อง เอาเรื่องหลักมาก่อน ส่วนเรื่องรองและปลีกย่อย เป็นตัวเสริมและตัวประกอบ หาก ทำได้ดีถูกต้อง ทั้งเรื่องหลัก รองและปลีกย่อย และทำให้รูปแบบสัมพันธ์กับเนื้อหา จะได้ผลดีที่สุด แต่ การทำให้ได้ผลที่ดีสมบูรณ์ ต้องทำได้ทั้งตัวเอง และคนที่เกี่ยวข้องที่มีบทบาทหลัก ซึ่งทำได้หรือเกิดขึ้นไม่ง่าย ตามสภาพสังคมไทย ที่แต่ละคนยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ความจริงอย่างหนึ่ง ที่น่าจะช่วยเป่นแง่คิดเตือนสติ ได้บ้าง คือ ไม่มีฝ่ายใดสีใด ถูกหมด หรือ ผิดหมด 100 % แต่ละฝ่ายมีความคิดและการกระทำ ทั้งผิดและถูก เนื่องจากปู่จิ๊บ อยู่ในเหตุการณ์และหรือติดตามอย่างใกล้ชิด ศึกษาแสวงหาข่าวข้อมูลและกลั่นกรอง และมุ่งไปที่ตัวหลักสำคัญของแต่ละฝ่าย ที่เป็นส่วนตัดสินใจทำ และผ่านไปยังมวลชนของตน คือ คนที่เป็นหัวหน้าหรือแกนนำใหญ่ของแต่ละฝ่าย และอีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ อำนาจและความเป็นเอกภาพของแกนนำแต่ละฝ่าย ที่ต่างกัน ฝ่ายที่มีหัวหน้าเป็นผู้นำเดียว จะมีเอกภาพสูงกว่า ฝ่ายที่มีแกนนำหลายคนทั้งในการชุมนุมและการสนับสนุน และที่สำคัญส่วนหลักที่ต่างกัน คือ “ เป้าหมายของความคิดและการกระทำ เพื่อใคร” ฝ่ายหนึ่ง แม้จะกล่าวอ้างว่าทำเพื่อมวลชน แต่เป็นเรื่องรอง ที่เน้นเอาผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคมาก่อน อีกฝ่ายหนึ่ง เน้นการต่อสู้เพื่อประชาชนและประเทศชาติ ตามกติกาสูงสุด คือ รัฐธรรมนูญเป็นหลัก แต่ก็อย่างที่ได้กล่าวไป แกนนำบางคน ก็มีวัตถุประสงค์ของตนแอบแฝงอยู่ แต่ก็ต้องขึ้นกับส่วนทั้งหมด