“สมชัย” แจง พ.ร.ป. กกต. คาดเสร็จ 22 ก.ย. นี้ ชี้ข้อเสนอกรธ.ไม่ก่อให้เกิดผลดี ย้อนหากเซตซีโร่กกต. ทุกองค์กรต้องทำเช่นกัน พร้อมฝากกรธ.กลับไปคิดใหม่-ปม “ธีรวัฒน์” ปัดยังไม่เห็นหลักฐาน ย้ำให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ชี้ไม่ใช่ไม่รีบ แต่อยากให้ร่างกม.เสร็จก่อน เพราะ “ธีรวัฒน์” ยังร่วมมีความเห็นต่อกม. 4 ฉบับ วันที่ 20 ก.ย.59 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายสมชัย ศรีสุทธิยากร แถลงข่าว สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า คาดว่าร่าง พ.ร.ป.กกต. จะแก้เสร็จในวันพฤหัสบดีที่ 22 ก.ย. นี้ และจะส่งให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทั้งนี้ทางกรธ.อาจจะมีการเชิญให้กกต.ไปนำเสนอแนวคิดในการร่างพ.ร.ป.กกต.อีกครั้ง ในวันพฤหัสบดีที่ 29 ก.ย. 59 ซึ่งคาดว่าคณะกกต.อาจจะไปร่วมอธิบายครบทั้ง 5 คน ทั้งนี้นายสมชัย กล่าวว่า จะมีการชี้แจงราลละเอียดถึงสาระสำคัญของ พ.ร.ป. กกต. อีกครั้งในวันศุกร์ที่ 23 ก.ย. นี้ ในเวลา 10.00 น. โดยหลักการในการออกแบบ พ.ร.ป.กกต.นั้น ได้มีการยึดหลัก 4 ป. คือ 1. การทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิผล ซึ่งในเรื่องของประสิทธิผลนั้น คือการมีอำนาจการสั่งหน่วยงานราชการต่างๆ การขอความร่วมมือ ยืนยันหากไม่ช่วยก่อให้เกิดความเสียหายถือเป็นความผิดทางอาญา 2. การทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน คือในเรื่องของความรวดเร็ว อาทิ พระราชบัญญัติสำนักงานกกต. จะให้มีการร่างเสนอคู่ขนานกันขึ้นไป โดยจะให้กฏหมายสำนักงานคู่กับพรบ.กกต. หากรออันใดอันหนึ่งเสร็จเกรงว่าจะตกไปอยู่ในส่วนของสภา อาจจะทำให้ล่าช้า รวมถึงการลดขั้นตอนการทำงาน การกำหนดโทษใบแดงใบส้มนั้น กระบวนการพิจารณาจะต้องทำให้เสร็จก่อนการประกาศผล ใบแดงให้เสร็จก่อนการเลือกตั้ง 6 เดือนหลังจากเลือกตั้ง 3. การทำให้เกิดการประหยัด คือ ทำให้ต้นทุนในการจัดการต่างๆ อาทิ สำหรับกกต.จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นชุดเก่าหรือใหม่จะมีการให้ค่าเบี้ยเลี้ยงประชุม เป็นค่าตอบแทนในการจัดประชุมแทนเงินเดือน โดยจะจัดขึ้นประมาณเดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณ ซึ่งจะทำให้รายจ่ายไปน้อยกว่าจ่ายเงินเดือน 3-4 เท่า 4. ทำให้สามารถป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งนี้มีการออกแบบกลไกการป้องกันและปราบปรามทุจริตโดย มีการจัดกองทุน ทั้งที่มาจากรัฐ และรับบริจาค เพื่อเป็นค่าตอบแทนให้กับผู้ที่แจ้งเบาะแส เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น สนับสนุนการทำงาน และกลไกปกป้องพยาน ประชาชนมีส่วนร่วม การตรวจสอบการเลือกตั้งโดยองค์กรต่างๆ ซึ่งการทำให้กกต.ทำงานจนเกิดความสำเร็จได้นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ คณะกกต. กกต.จังหวัด และสำนักงานกกต. ซึ่งกกต.กลาง มีการออกกฎหมาย พ.ร.ป.กกต. โดยยึดตามรธน. ตามมาตรา 273 ที่ระบุไว้ว่า ให้ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ ดังนั้นจึงยังให้กกต.ชุดเดิมท้ะง 5 คนยังคงทำงานต่อไปตามรธน. แต่ตะมีการหาใหม่ 2 คน ตามรธน. มาตรา 222 ที่กำหนดให้สรรหากกต. 7 คน โดยระบุให้มาจากการสรรหา 5 คน และมาจากที่ประชุมของศาลฎีกาจำนวน 2 คน ส่วนกรณีที่มีข้อเสนอจากกรธ.ว่าให้มีการสรรหาใหม่หมดทั้ง 7 คน นายสมชัย กล่าวว่า ถ้าจะให้การทำงานมีประสิทธิผล การสรรหาใหม่ทั้ง 7 คนไม่ก่อให้เกิดผลดี เพราะอาจต้องใช้เวลาอีก 2 เดือน สุดท้ายคนที่ได้เข้ามามำงาน ก็จะทำได้แค่ในระยะเวลา 2-3 เดือนเท่สนั้น ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าไม่เป็นดี ต่อการเลือกตั้ง ต่อสังคม และบ้านเมือง หากจะทำอย่างนั้นจริง ก็ต้องเปลี่ยนศาลรธน.ทุกคนด้วยเช่นกัน ยืนยันไม่จำเป็นต้องหาใหม่ทั้ง 7 คน ส่วนกรณีของกกต.จังหวัดนั้น ทางกกต.ยืนยันให้มี 5 คน ไม่มีการโล๊ะทิ้ง กกต.จังหวัดเดิมยังคงทำงานต่อ แต่จะมีการหากกต.จังหวัดใหม่ในจังหวัดทึ่ยังไม่มีกกต.จังหวัด นอกจากนี้ ยังมองว่าการหมดวาระไม่พร้อมกันของกกต. เป็นผลดีเพราะยังทำให้คงกกต.ที่มีประสบการณ์เหลืออยู่ ทำให้การส่งต่อประสบการณ์มีมากกว่า และเป็นการจูงใจให้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน ย้ำว่าถ้าจะใช้หลักการเซตซีโร่ต้องใช้กับทุกองค์กร พร้อมทั้งย้อนถามว่ากรธ.กล้าพูดหลักการนี้หรือไม่ ถ้ากล้าให้พูดดังๆ และฝากให้กรธ.คิด ไตร่ตรอง เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับกรธ. เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึง กรณีนายธีรวัฒน์ นายสมชัยกล่าวว่า ประธานกกต. ได้รับเอกสารจากผู้ตรวจการแผ่นดินแล้ว และจะทำการส่งให้ฝ่ายกฎหมายช่วยดูรายละเอียด ว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร ทำการตรวจสอบข้อกฎหมายอีกที และจะนำสู่ที่ประชุมอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ก็จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย พร้อมให้เป็นไปตามกฎหมายไม่ปกป้องใคร ทั้งนี้ส่วนตัวยังไม่เห็นหลักฐาน และทราบแค่ว่ายังไม่มีการนำเข้าที่ประชุม พร้อมบอกว่าไม่ใช่ว่าไม่เร่งรีบ แต่ย้ำว่าต้องการให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และต้องการให้กฎหมายลูกทั้ง 4 ฉบับเสร็จก่อน เพราะทางด้านนายธีรวัฒน์เองก็ยังมีความเห็นต่อกฎหมายลูกทั้ง 4 ฉบับมากเช่นกัน