ชัยวัฒน์ สุรวิชัย เหตุผลหลักที่สำคัญของสังคมไทย ที่เป็นอุปสรรค ต่อการแก้วิกฤตและการพัฒนาสู่ประชิปไตย 1. เราไม่รู้ถึงปัญหาที่แท้จริง ต้นเหตุของปัญหา และการแก้ไข 1.1 ไม่เข้าใจ ระบอบประชาธิปไตย ; ถูกหลอกว่า “ การเลือกตั้งคือ ประชาธิปไตย “ 1.2 ปัญหาความไม่รู้ : ปัญหาใหญ่กว่า > ความรับรู้ของคน ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ 1.3 มาจากระบบการศึกษา ไม่สอนให้คนคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง และประชาชนไม่มีส่วนร่วม 1.4 ขาดการศึกษาวิจัยในเชิงลึก ทำให้ไม่เข้าถึงสภาพความเป็นจริง ปัญหาที่แท้จริง และทางออก 2. ปัญหาความคิด 2.1 ระบบความคิดต่างๆที่มีผลต่อคนในสังคม ( 1 ) ความคิดระบบอุปถัมภ์ ระบบอำนาจนิยม และระบบบริโภคนิยม ( 2 ) ความคิดตะวันตก โดยเฉพาะ “ ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง “ ที่กำหนดความคิดของชนชั้นไทย และระบบความคิดเรื่องของกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งวัฒนธรรมและค่านิยมของต่างชาติ ที่ไทยนำมาขาดการประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย 2.2 คนไทยไม่ค่อยคิด และไม่ชอบใช้ความคิด ( อ่านหนังสือน้อย ด้วย ) จึงรับความคิดของต่างชาติ Import ความคิดต่างๆเข้ามา และที่สำคัญ คือ ขาดการศึกษาและเข้าใจประวัติศาสตร์ของสังคมไทยอย่างเป็นจริง แล้วยังไม่มีการประยุกต์มาใช้กับสอดคล้องกับสภาพ เนื่องจากขาดกิ๋นที่จะพัฒนา 2.3 ชนชั้นนำ ขาดวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และความรับผิดชอบ ที่จะบริหารและแก้วิกฤตของประเทส 2.4 นักการเมือง อยู่ในโลกของอำนาจ และการผูกขาดในการเข้าสู่อำนาจ จึงมองไม่เห็นปัญหาของระบอบประชาธิปไตยเลือกตั้ง หรือ ไม่รู้จะแก้อย่างไร 2.5 ข้าราชการ ติดอยู่ในระบบ ถึงจะเก่งแต่นักการเมืองไม่ชอบ ก็ไม่ก้าวหน้า จึงออกไปสู่เอกชน 2.6 นักธุรกิจ เป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้าที่สุด เพราะต้องอยู่ในโลกของการแข่งขัน แต่ก็ติดกับดักของการเมืองที่ล้าหลัง และระบบราชการที่อืดอาด ล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ 2.7 อาจารย์และนักวิชาการ ขาดการสอนการคิดเป็นทำเป็น ขาดงานวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาของสังคมไทย 2.8 Ngo นักสิทธิมนุษยชน นักสิ่งแวดล้อม ที่ Import ความคิดและทุนสนับสนุนเข้ามา โดยเน้นในเรื่องของปัจเจก และส่วนรวม ที่ขาดการประยุกต์ให้เข้ากับสังคมและคนไทยที่มีความต่าง 2.9 ประชาชน-ชาวบ้าน ใช้ความเชื่อผู้มีอำนาจ สื่อ ฯลฯ โดยอาศัยความชอบและการได้ผลตอบแทน 3. ปัญหาคน 3.1 ชนชั้นนำไม่มีความรับผิดชอบ ขาดวิสัยทัศน์ และความเป็นวีรบุรุษ กล้าหาญเสียสละ 3.2 ผู้มีอำนาจรัฐ ไม่ฉลาดไม่เก่ง อาศัยอำนาจที่มาจาก ความไม่รู้ของคนส่วนใหญ่ อาศัยระบบและโครงสร้าง ที่ไม่เป็นธรรม เอาเปรียบและเอมาจากประชาชนและทรัพยากรของชาติ ขณะเดียวกัน ไม่สร้างและพัฒนาให้ประชาชน มีคุณภาพมีความคิดความรู้ ที่เป็นอิสระ พึ่งตนเองได้ เพื่อที่ชนชั้นนำของสังคม โดยเฉพาะนักการเมืองข้าราชการทุนสามานย์ จะได้ปกครองประเทศต่อไป 2.3 คนส่วนใหญ่ ไม่มีคุณภาพ ขาดการศึกษาเรียนรู้ การใช้สติปัญญา ความจริง แก้ไขปัญหา ขาดการรวมตัว ขาดความสามัคคีร่วมมือกันแก้วิกฤต ทำให้ไม่มีพลังในการแก้ปัญหา ทำให้สังคมอ่อนแอ ขาดการพัฒนาเปลี่ยนแปลง เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ 4. ปัญหาระบอบและโครงสร้าง 4.1 รวมศูนย์ ผูกขาด ไม่เป็นธรรม ไม่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 4.2 เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้ เกิดความเหลื่อมล้ำในทุกปริบท 4.3 ไม่เอื้อต่อการแก้วิกฤต และการมีส่วนร่วมของประชาชน 5. ปัญหาสื่อ และการสื่อสาร 5.1 สื่อขาดจรรยาบรรณ ความรับผิดชอบ และความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสังคมไทย 5.2 ขาดการเผยแพร่ เรื่องสำคัญและเรื่องหลักของประชาชนและประเทศ มักเสนอข่าวที่เด่นดัง และขาดข้อมูลที่เป็นจริง เน้นการสร้างข่าว หารายได้ 5.3 ขาดการนำเสนอ ข้อเท็จจริง มีแต่การมอมเมา 5.4 สื่อเป็นของทุน และนักการเมือง จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย 5.5 ประชาชนไม่ได้รับทราบข้อมูลความเป็นจริง ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ 6. ปัญหาความขัดแย้งในสังคม 6.1 ประชาชน vs สถาบัน ประชาชน vs นักการเมือง ประชาชน vs ประชาชน 6.2 การที่ชนชั้นนำ นักการเมือง กลุ่มทุน ใช้ประชาชน เป็นเครื่องมือ 6.3 ประชาชน ที่ตกอยู่ใรระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม ก็ยินยอมที่จะเป็นเครื่องมือให้ 6.4 ขาดความเป็นเอกภาพในหมู่ประชาชน ทำให้ไม่มีพลังในการเปลี่ยนแปลง 7. ความขัดแย้ง ที่เกิดปัจจัยภายนอก 7.1 ที่มีผลกระทบโดยตรง การแทรกแซงทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร กรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ 7.2 ที่มีผลกระทบผ่านโครงสร้างระบบของสังคม และผู้คนส่วนต่างๆในสังคม การที่รัฐบาลไทย มีนโยบายในเรื่องภายใน ที่แตกต่างกับองค์กรระดับโลก เช่น การประมง ปัญหาผู้อพยพ ปัญหาผู้ลี้ภัย ปัญหาการบิน ( มาตรฐานความปลอดภัย ) กรณีไทย มีการรัฐประหารโดยกองทัพ มหาอำนาจจะมีมาตรการแซงชั่นตอบโต้ทางการเมืองการค้า 8. ประเทศไทย อุดมสมบูรณ์ ทั้งทรัพยากร และมรดกทางวัฒนธรรม และเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค 8.1 ทำให้ คนจนยังอยู่ได้ ยังมีทางออก การดิ้นรน การต่อสู้กับผู้มีอำนาจ มีน้อย 8.2 ทำให้ประเทศ ยังคงมีศักยภาพ ที่จะดำรงอยู่ได้ 9. ขาดแนวทาง ยุทธศาสตร์ยุทธวิธี จังหวะก้าวขั้นตอน ในการเปลี่ยนผ่าน ไปสุ่ประชาธิปไตย 9.1 ไม่รู้ใครเป็นมิตร เป็นศัตรู ( เป็นอุปสรรค ) ใครเป็นแนวร่วม 9.2 ใครเป็นกำลังเปลี่ยนแปลง 9.3 การสร้างกำลังในการเปลี่ยนแปลง 9.4 เงื่อนไขของการเปลี่ยน 9.5 ระยะเปลี่ยนผ่าน 10. เราตั้งโจทย์ผิด ไปไม่ถูกทาง 10.1 ไม่รู้ปัญหาหลัก ปัญหารอง ระยะเปลี่ยนผ่าน และจุดเปลี่ยนแปลง 10.2 แก้ไปทุกเรื่อง ทุกปัญหาสำคัญหมด จึงขาดพลังและปัจจัย และทำให้แก้อะไรไม่ได้ 10.3 ไม่รู้ตัวว่า “ ตั้งโจทย์ผิด - ไปผิดทาง “ มุ่งหน้าแต่ทางเก่า กรอบคิดเก่า 10.4 ทำให้ปัญหาเก่าสะสม จนถึงขั้นวิกฤต ปัญหาใหม่ ก็แก้ไม่ได้ สรุป การแก้ปัญหาวิกฤตของชาติของประชาชนได้ 1. ผู้นำต้องเป็นรัฐบุรุษ มีวิสัยทัศน์ กล้าหาญเสียสละ เพื่อบ้านเมืองและอนาคต 2. องค์รวมของปัญญาของนักคิดฝ่ายต่างๆ ที่มาผนึกกำลังร่วมมือกัน 3. ประชาชนและประเทศไม่มีทางไปต่อได้อีกแล้ว 4. เกิดจากปัจจัยพิเศษ ( ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ) ที่ทำให้ผู้นำต้องตัดสินใจเปลี่ยน ไม่ทำไม่ได้ .