ชัยวัฒน์ สุรวิชัย 1. คำนำ ความหมาย ที่มา 1.1 สืบราชสันตติวงศ์ หมายถึง ครองราชย์สมบัติต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนซึ่งอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน เช่น กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2467 “การสืบราชสมบัติ” หมายถึง การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งนับต่อเนื่องจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน มิให้ขาดตอนกัน อันเป็นธรรมเนียมในนานาประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐหรือประเทศ 1.2 “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์” หมายถึง กฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสืบราชสมบัติ[กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นกฎหมายการสืบราชสมบัติฉบับแรกของไทยที่กำหนดการสืบโดยสายตรง ซึ่งมิได้เคยบัญญัติมาก่อนในประวัติศาสตร์การสืบราชสันตติวงศ์ของไทย โดยตราขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยามย่อมทรงพระบรมเดชานุภาพโดยบริบูรณ์ แล ทรงมีสิทธิอำนาจที่จะทรงเลือกตั้งพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ซึ่งทรงพระราชดำริว่ามีพระปรีชาสามารถอาจเป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์ ดำรงราชตระกูลและรัฐสีมาอาณาจักร อารักษ์พสกนิกรสนองพระองค์ต่อไปได้นั้น ขึ้นเป็นพระรัชทายาท โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศแก่บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และเสนามาตย์ราชเสวกบริพาร อีกทั้งสมณพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎรให้ทราบทั่วกัน ได้ทรงเลือกสรรพระบรมวงศ์พระองค์นั้นเป็นพระรัชทายาท ……. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เป็นกฎเกณฑ์ว่าด้วยการดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นเอกเทศ ซึ่งถือเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศที่บัญญัติไว้นอกตัวบทรัฐธรรมนูญ แต่เวลาใช้ต้องมาพิจารณาประกอบกัน 1.3 หลักเกณฑ์การสืบราชสันตติวงศ์ตามรัฐธรรมนูญฯ ตั้งแต่ปี 2475 – ปัจจุบัน (2550) เน้นส่วนที่เกี่ยวข้อง : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ตั้งแต่มาตรา 7 ถึงมาตรา 26 มาตรา 25 การสืบราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 และประกอบด้วยความเห็นชอบของรัฐสภารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 23 ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ 1.4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ปี 2475-2550 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้ามาเกี่ยวข้องกับการสืบราชสันตติวงศ์ สรุปได้เป็น 2 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2475 – 2521 ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งอาจเป็นสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐสภากำหนด “ให้ความเห็นชอบ” ในการสืบราชสมบัติ และได้กำหนดเพิ่มเติมว่า หากไม่มีพระราชโอรส รัฐสภาอาจให้ความเห็นชอบในการให้พระราชธิดาสืบราชสันตติวงศ์ก็ได้ ช่วงที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2534 ปี 2540 และ ปี 2550 การสืบราชสันตติวงศ์ในกรณีที่ทรงแต่งตั้งรัชทายาทไว้แล้วตามกฎมณเฑียรบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภาเพียงมาเกี่ยวข้องเพื่อ “รับทราบ” เท่านั้น 2. ขั้นตอนที่ได้ดำเนินไปเรียบร้อยแล้ว 2.1 พระรัชทายาท ในวันที่ 28 ธันวาคม 2515 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ เฉลิมพระอิสริยยศตั้งแต่งไว้ในตำแหน่ง สมเด็จพระยุพราชมกุฎราชกุมาร อันเป็นตำแหน่งพระรัชทายาทที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น และประกาศสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อรับราชสมบัติปกครองราชอาณาจักรสืบสนองพระองค์ โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า"สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร" 28 ธันวา 2515 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระรัชทายาทเพื่อทรงสืบราชสันตติวงศ์ 2.2 ขั้นตอนของ นายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภา 13 ต.ค. 2559 22:57 นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา เรียกประชุมสมาชิก สนช. ด่วนเป็นกรณีพิเศษ ในเวลา 21.00 น. เพื่อรับทราบประกาศสำนักพระราชวัง ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐได้สวรรคตแล้ว เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 เวลา 15. 52 น. และแจ้งต่อสมาชิก สนช. โดยให้สมาชิก ยืนแสดงความอาลัย เป็นเวลา 9 นาที จากนั้น นายพรเพชร ได้แจ้งในที่ประชุม ว่า สนช. จะดำเนินการ ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 2 วรรค 2 ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 23 วรรค 1 ได้บัญญัติเรื่อง การสืบราชสันตติวงศ์ ว่า ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง และ เป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และ ให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ แล้วจึงปิดประชุมพระราชบัญฑูรของ พระรัชทายาท ต่อ นายกรัฐมนตรีและผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ( ชั่วคราว ) 21.40 น. ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีได้ออกมาแถลง โดยแสดงความเสียใจกับประชาชนทั้งประเทศ พร้อมแจ้งถึงกรณีที่ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ว่าพระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาทอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่ในระยะเวลานี้ทรงขอเวลาทำพระทัยร่วมกับประชาชนไปก่อน กำหนดการสืบราชสมบัติตามกฎหมายนั้นให้เป็นไปตามความเหมาะสมในภายหลัง ขณะนี้จะดำเนินพระราชกรณียกิจในฐานะสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารไปก่อน( พระราชบัณฑูร: อย่าให้ความรู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ภายใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกิดขึ้นกะทันหันเกินไป )พระราชบัณฑูร หรือพระราชดำรัสสั่ง : สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร