วันที่ 21 พ.ย.59 นายวิมล มิตรปล้อง ผู้บัญชาการเรือนจำสตูล พร้อมเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ น้อมถวายบังคม เพื่อแสดงความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพร้อมประกาศจะประพฤติตนเป็นพลเมืองดีคืนต่อสังคม ก่อนร่วมกันขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี พร้อมกล่าวแสดงความอาลัยต่อ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 และ จากนั้นได้นำผู้ต้องขัง ชายร่วมแปรอักษรเป็นเลขเก้าไทย อย่างพร้อมเพรียง กันที่บริเวณแดนผู้ต้องขังชั้นใน เรือนจำจังหวัดสตูล ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ทั้งนี้เรือนจำจังหวัดสตูลมีผู้ต้องขังชาย –หญิงทั้งหมด 749 คน แนวทางการทำงานได้น้อมนำ พระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 อบรมผู้ต้องขังที่ได้รับโทษตัดสินแล้วและน้อมนำแนวคำสั่งสอนในเรื่องด้านการอาชีพมาต่อยอดให้กับผู้ต้องขังเมื่อออกสู่โลกภายนอกเพื่อปรับตัวเป็นคนใหม่ในสังคม พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ นายประดิษฐ์ พานิชการ อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2516 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ที่แม้เวลาจะผ่านมากว่า 38 ปีแล้ว แต่พระราชดำรัสที่ทรงให้กำลังใจข้าราชการกรมราชทัณฑ์ในครั้งนั้นยังคงก้องอยู่ในใจเจ้าหน้าที่ทุกคนจวบจนปัจจุบันและเปรียบเสมือนแรงดันดาลใจ ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริตดำรงตนอยู่บนความถูกต้องเที่ยงธรรมให้สมดังพระราชปณิทาน หากกล่าวถึงกรมราชทัณฑ์แล้ว หลายคนอาจจะจินตนาการถึงความน่ากลัวของการไร้สิ้นซึ่งอิสรภาพ รวมถึงภาพเรือนจำและทัณฑ์สถานต่างๆหรือที่เรียกกันในภาษาปากว่า“คุก”นอกจากภาพสถานที่จองจำผู้กระทำผิดเหล่านั้นกรมราชทัณฑ์ยังมีอีกแง่มุมหนึ่งที่น้อยคนนักจะรู้จักนั่นคือการน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปปฏิบัติ “เพื่อการเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้ต้องขังให้ใช้ชีวิตแบบพอเพียงเมื่อพ้นโทษ”