วันที่ 14 มี.ค. 62 จังหวัดอ่างทอง โดย สานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง (พช.อ่างทอง)ชวนชม ชิม ช้อป จัดโชว์ผลงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝาก ของที่ระลึกต้นแบบ 58 ผลิตภัณฑ์ จาก 406 ผลิตภัณฑ์ ใน 29 หมู่บ้าน พร้อมจัดเวทีเสวนา “นวัตวิถีสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์สร้างอาชีพ” เตรียมดันสินค้า และพัฒนาผู้ประกอบการOTOP กลุ่ม D ที่พร้อมเติบโต ให้โดดเด่นด้วยคุณภาพคู่ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน นายเรวัต ประสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “กิจกรรมสรุปผลงาน (Show Case) โครงการออกแบบพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ OTOP ของฝากของที่ระลึก ภายในและภายนอกชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีฯ จ.อ่างทอง” พร้อมจัดแฟชั่นโชว์และเปิดเวทีเสวนา สร้างแรงบันดาลใจในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา หรือ กลุ่ม Quadrant D จังหวัดอ่างทอง โดยมี นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดอ่างทอง พัฒนาการอาเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และประชาชนจานวนมาก เข้าร่วมงาน ณ อาคารสานึกรักบ้านเกิด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง จ.อ่างทอง นายเรวัต ประสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า สินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้จานวนมากให้กับประเทศไทย จึงทาให้รัฐบาลและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งผลักดันให้ผู้ประกอบการ OTOP ได้เห็นถึงช่องทางในการพัฒนายกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ โดยใช้จุดแข็งของชุมชนที่มีเสน่ห์ทั้งทางด้านภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม เพื่อเชื่อมโยงสู่ภาคการผลิตสินค้าOTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP กลุ่ม D ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีภูมิปัญญา มีอัตลักษณ์ประจาแต่ละท้องถิ่นที่ถือว่าเป็นต้นทุนที่ควรนามาส่งเสริมให้โดดเด่น การจัดกิจกรรมฯ ในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทการทางานของจังหวัดอ่างทอง โดยสานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง ที่ได้เข้าไปส่งเสริมพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ให้มีขีดความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ และนามาต่อยอดการบริหารจัดการชุมชนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มีช่องทางในการจาหน่ายและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการเชื่อมโยงการตลาดจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือน และใช้จ่ายในทุกกิจกรรมของชุมชน ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้อยู่กับคนในชุมชนโดยรอบ เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง ด้านนายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดอ่างทอง กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ OTOP ของฝากของที่ระลึก ในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมต่อยอดจากโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 จังหวัดอ่างทอง มีเป้าหมายในการส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว จานวน 29 ชุมชน และหมู่บ้านใกล้เคียง ใน 7 อาเภอ รวมผลิตภัณฑ์ต้นแบบทั้งสิ้น 406 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นประเภทอาหารและเครื่องดื่ม 185 ผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้า/เครื่องแต่งกาย 12 ผลิตภัณฑ์ ประเภทของใช้ของตกแต่ง 110 ผลิตภัณฑ์ ประเภทของฝากของที่ระลึก 58 ผลิตภัณฑ์ ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 41 ผลิตภัณฑ์ โดยจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นของฝากของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว จากวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบสวยงาม และบรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดใจ อีกทั้งยังได้ออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการจัดทาผลิตภัณฑ์เพื่อการทดสอบตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และสร้างนวัตกรรมกระบวนการผลิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เป็นการเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้า สำหรับผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่นามาจัดแสดงในครั้งนี้ อาทิเช่น ภาพนูนต่ำพระสมเด็จเกษไชโย อ.โพธิ์ทอง หัวโขน ติดผนัง อ.วิเศษชัยชาญ โคมไฟสุ่มไก่แคปซูล อ.เมือง นาฬิกาจากไม้ลัง อ.แสวงหา ฯลฯ ซึ่งการดาเนินงาน ในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยพัฒนาและยกระดับทั้ง 406 ผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาไปสู่การมีโอกาสทางการตลาดแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการกระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตามแนวคิดที่จะเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์สินค้าในชุมชนกับการท่องเที่ยว จากการท่องเที่ยวเมืองหลักไปสู่เมืองรอง และมีการเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ OTOP จึงเกิดเป็นโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี