ศาลฎีกานักการเมือง สั่งคุก หมอเลี๊ยบ1 ปี ปรับ 20,000 บ. ปฏิบัติมิชอบขัดหลักเกณฑ์ แต่งตั้งบอร์ด.ผู้ทรงคุณวุฒิ ธปท.ปี 51 ศาลยังปรานีให้รอลงอาญา 1ปี เจ้าตัวเผย เหมือนยกภูเขาออกจากอก เหลือ อีก1ลูก 25 ส.ค.นี้ วันที่ 4 ส.ค.59 ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะเมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 4 ส.ค.นี้ นางอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกาผู้พิพากษา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน พร้อมด้วยองค์คณะผู้พิพากษา 9 คน คดีหมายเลขดำ อม.39/2558 นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือ หมอเลี๊ยบ อายุ 59 ปี อดีต รมว.คลัง ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริตเป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คดีนี้โจทก์ฟ้องระบุความผิดจำเลยว่า เมื่อปี 2551 ระหว่างที่ นพ.สุรพงษ์ ดำรงตำแหน่ง รมว.คลัง มีวาระการแต่งตั้งกรรมการคัดเลือกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (บอร์ด ธปท.) โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและไม่ใช่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จึงได้เสนอรายชื่อจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการคัดเลือกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ธปท. เพื่อให้ นพ.สุรพงษ์ เห็นชอบแต่งตั้งตามขั้นตอน แต่ นพ.สุรพงษ์ ไม่เห็นด้วยกับรายชื่อดังกล่าวและได้ใช้อำนาจสั่งการแทรกแซง โดยแต่งตั้งนายวิจิตร สุพินิจ นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เป็นกรรมการ ทั้งที่บุคคลทั้งสามเป็นกรรมการในสถาบันการเงิน จึงถือเป็นผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนขัดต่อหลักการการมีส่วนได้ส่วนเสียอันจะกระทบต่อภาพลักษณ์ความโปร่งใสของ ธปท.และเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1 โดยจำเลยให้การปฏิเสธ และยื่นหลักทรัทย์ 10 ล้านบาทขอปล่อยชั่วคราว ในวันนี้ นพ.สุรพงษ์ เดินทางมาศาลตั้งแต่เวลา 09.40 น.ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มทักทายผู้สื่อข่าว แต่ยังไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ขณะที่องค์คณะได้ประชุมหารือกันนานกว่า 3 ชั่วโมง จึงอ่านคำพิพากษา ศาลฎีกาฯพิเคราะห์แล้วเห็นว่า นายสถิตย์ลิ่มพงศ์พันธุ์ นายวิจิตร สุพินิจ และนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ต่างเป็นตัวแทนในสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.ซึ่งเข้าไปทำหน้าที่คณะกรรมการคัดเลือกคณะดรรมการ ธปท.ถือว่าบุคคลทั้งสามเป็นผู้มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามความหลายของพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 28/1 วรรคสาม องคณะผู้พิพากษาเสียข้างมาก พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วว่า การที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐมนตรีคลังซึ่งมีอำนาจแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ด ธปท.แต่ตาม พรบ.ธนาคาร แห่งประเทศไทย กำหนดคุณสมบัติห้ามไม่ให้บุคคลที่มาเป็นกรรมการคัดเลือก เป็นข้าราชการประจำ ไม่เกี่ยวข้องทางการเมือง และไม่มีผลประโยชน์ได้เสีย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยกับเสนอรายชื่อบุคคล 7 รายชื่อซึ่งใน 3 รายชื่ิอนั้น เป็นผู้บริหาร ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นธนาคารพานิชย์ ภายใต้การกำกับของ ธปท. เพื่อให้มาเสนอเป็นกรรมการคัดเลือกเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของบร์อด ธปท. จึงเป็นการแต่งตั้งผู้มีประโยชน์ได้เสียฝ่าฝืนต่อกฏหมายกระทบต่อความเป็นอิสระและสเถียรภาพของ ธปท. ที่จะเป็นธนาคารกลางของประเทศ การกระทำของจำเลยถือเป็นการแทรกแซงทำให้ ธปท. เสียหายจรืง จึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ให้จำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท แต่ภายหลังที่จำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกดังกล่าวแล้วต่อมามีการยกเลิกคำสั่งแต่งตั้ง ต่อมากระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯดังกล่าว จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ประกอบกับจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงให้รอลงอาญาไว้มีกำหนด 1 ปี ภายหลังฟังคำพิพากษา นพ.สุรพงษ์ เปิดเผยว่า น้อมรับคำพิพากษาและขอบคุณในความเมตตาของศาล เรื่องนี้ถือเป็นกฎหมายใหมที่เพิ่งบังคับใช้ ซึ่งศาลก็ได้ให้ความชัดเจนและเป็นบรรทัดฐานให้รัฐมนตรีดำเนินการตามคำวินิจฉัยต่อไป วันนี้ได้ยกภูเขาออกไปแล้ว 1 ลูก ส่วนคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีแปลงสัญญาสัมปทาน เอื้อประโยชน์ชินแซทเทไลท์ ซึ่งคดีนี้ศาลฎีกาฯจะมีคำพิพากษา 25 ส.ค.นี้ ก็เป็นธรรมดาของคนที่ถูกฟ้องจะมีความกังวล แต่ใครที่ถูกฟ้องขอให้มีสติ รวบข้อมูลสู้ให้เต็มที่ เชื่อศาลพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้ ป.ป.ช.ได้ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาฯ เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากมีการชี้มูลความผิด นพ.สุรพงษ์ เมื่อเดือน มี.ค. 54 เเละศาลฎีกาฯ นักการเมืองมีคำสั่งให้ประทับรับฟ้องในวันที่ 16 ก.ค. 58 ผู้สื่อข่าวรายงานงานเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากนี้ นพ.สุรงพษ์ ยังมีคดีที่ ป.ป.ช. ได้ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาฯ ฐานปฎิบัติหน้าที่มิชอบฯ อีกสำนวนหนึ่งเป็นคดีหมายเลขดำ อม.66/2558 ด้วย ซึ่งมีนพ.สุรพงษ์ ในฐานะอดีต รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร,นายไกรสร พรสุธี อดีตปลัดกระทรวงไอซีที สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ อดีตผู้อำนวยการสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ และอดีตปลัดกระทรวงไอซีที ยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตกเป็นจำเลยกรณีอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่5)เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องถือในบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่า51%เป็นไม่น้อยกว่า 40% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดซึ่งศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษา วันที่ 25 ส.ค.นี้ เวลา 10.30 น.