วิสัยทัศน์เรื่อง “การปฏิรูป” ของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ที่สรุปเสนอเมื่อ พ.ศ 2554 เป็นภารกิจร่วมกันของคนทั้งสังคม “การปฏิรูปไม่อาจทำได้สำเร็จด้วยอำนาจของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่สำเร็จได้ด้วยความใฝ่ฝันร่วมกันที่จะทำให้สังคมของเราเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้ทุกคนอ่างเท่าเทียมกัน มีความยุติธรรม และมีสมรรถนะที่ทำให้ศักยภาพของบุคคลและสังคมได้พัฒนาไปได้สูงสุด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) เพียงเสนอแนวทางหนึ่งในการปฏิรูปประเทศไทย ส่วนการขับเคลื่อนการปฏิรูปให้ปรากฏเป็นจริงเป็นภารกิจร่วมกันของคนทั้งสังคม” ข้อเท็จจริงหลังจาก คปร. จบหน้าที่ไป สังคมไทยก็มีคณะทำงานมาช่วยกันคิดเร่องปกิรูปสังคมอีกหลายคณะ มีข้อเสนอแนะที่ดีเสนอกันไว้มากมาย แต่คนใจร้อนก็เห็นว่า แม้ทหารจะรัฐประหารแล้ว แต่การปฏิรูปก็ไม่ก้าวหน้า วิจารณ์กันไปโต้กันมา เดี๋ยวก็อาจกลายเป็นความขัดแย้งขึ้นมาอีก การปฏิรูปสังคมไม่ได้เห็นผลสำเร็จกันง่าย ๆ หรอก แม้จะมีคนสนับสนุนการปฏิรูปมาก แต่ก็ยังมิใช่คนส่วนใหญ่มีจิตสำนึกจริงจังถึงขั้นถือเป็นภารกิจร่วมกันของคนทั้งสังคม ยกตัวอย่างปัญหาคอร์รัปชั่น จะไปฝากความหวังไว้ที่นายกรัฐมนตรีคงไม่ได้ ในเมื่อ กลไกรัฐคือข้าราชการและพลเมืองส่วนใหญ่ยังไม่ถือว่า “การโกง” เป็นความผิดที่เลวร้ายที่สุด สปช. สภาการปฏิรูปแห่งชาติจบบทบาทไปนานแล้ว แต่ก็ได้ฝากข้อเสนอแนะการปฏิรูปไว้มากมาย ต่อมามีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศขึ้น มีสมาชิกสภาฯตั้ง 200 คน แต่ทุกวันนี้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปเหมือนกับสภานิติบัญญัติทั่วไป คือมีผลงานด้าน ออกกกหมายเป็นหลัก โดยได้ผลักดันกฎหมายเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศแล้ว 183 ฉบับ และกำลังเร่งผลักดันกฎหมายอีก 104 ฉบับ ซึ่งกฎหมายที่ออกมาแล้วคือกฎหมายที่เกี่ยวกับการทุจริต การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ไทยมีพันธกรณีกับต่างประเทศ รวมทั้งกฎหมายที่สนับสนุนการปฏิรูปที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ความเป็นธรรม และลดความเลื่อมล้ำในสังคม เป็นต้น สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคงจะยึดตามเอกสาร ที่ว่าภาระหน้าที่สำคัญในการผลักดันการปฏิรูป ตามแผน "37 วาระการปฏิรูป" และ "6 วาระการพัฒนา" รวมถึงการศึกษา และจัดทำแนวทางข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานด้านการปฏิรูปเกิดความสัมฤทธิ์ผลได้มากที่สุดภายในระยะเวลาที่กำหนดในโรดแมป สภาฯจึงคิดค้น เสนอกันแต่แนวทาง และแผนการ แล้วใคร หน่วยใด คือผู้ปฏิบัติตาม ไม่มี............ ในเมืองผู้คนทั้งสังคมยังไม่ถือว่าการปฏิรูปเป็นภารกิจร่วมกันของทุกคน การปฏิรูปก็จะเป็นของเล่นของพวก “ตัวแทนประชาชน” เท่านั้นเอง