คนการเมือง จัดเสวนา ปรองดองรับวาเลนไทน์ "ชินวัฒน์" ปลุกผีสุดซอย ย้ำต้องนิรโทษทักษิณด้วย ด้านตัวแทน กสม.แนะ ต้องให้ ปชช.มีส่วนร่วมก่อนสร้างปรองดอง เมื่อเวลา 10.00 น. นักศึกษาจากหลักสูตรประกาศนียบั ตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสั นติสุข (4 ส.)สถาบันพระปกเกล้าได้จั ดงานเสวนา “ก้าวผ่านวันวาน สมานรัก วาเลนไทน์” ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 8 อาคาร 3 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยระหว่างงานเสวนานายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่ าวว่าการสร้างความปรองดองนั้นต้ องมีความหวัง ตนได้นึกถึ งพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็ จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชว่ า “ถ้าเราเอาแต่ชนะ มันก็ต้องมีแพ้ แต่ถ้าเราปรองดอง มีแต่ชนะ ไม่มีแพ้” นี่คือสิ่งที่ตนจะเสนอ ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือทุกคนจะปฏิบั ติได้ตามนี้หรือไม่ ทุกกลุ่มต่างก็คิดว่าจะได้ อะไรบ้างจากการปรองดอง ตนคิดว่าตรงนี้ต้องปรับกันใหม่ ต้องถอดใจออกมา ต้องคิดว่าจะให้อะไร จะเสียสละอะไรเพื่อให้เกิ ดการปรองดองได้บ้าง ตนไม่เห็นด้วยที่ทหารบอกว่ าจะไม่ร่วมการปรองดองเพราะว่ าไม่ใช่คุ่ขัดแย้ง ตรงนี้ตนคิดว่าตรงนี้ไม่ใช่แล้ว ในใจเขา เขาก็ควรจะคิดด้วยว่าจะต้องเสี ยสละบ้างเพื่อให้เกิ ดความปรองดองด้วยเช่นกัน ในสังคมประชาธิปไตยนั้นไม่มี ใครที่จะได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากมีสังคมที่ได้ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องมีคนที่เสีย แบบนั้นเป็นสังคมเผด็จการ นายนิพิฎฐ์กล่าวว่าตนสนับสนุ นให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้เริ่มต้ นการปรองดอง เชื่อว่านายกฯนั้นนับหนึ่งมาถู กแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่านับสองถูกหรือไม่ การปรองดองนั้นต้องลืมบางเรื่ องและจำบางเรื่อง แต่คนไทยนั้นเลือกที่จะจำแต่ไม่ เลือกที่จะลืม ประวัติศาสตร์นั้ นสอนอะไรหลายอย่างว่าคนเราไม่ เคยจำอะไรจากประวัติศาสตร์เลย เพราะถ้าเราจำจริงๆ ความขัดแย้งก็คงจะไม่เกิด แต่การเลือกที่จะลืม ก็มีปัญหาอีก เพราะนำไปสู่การนิรโทษกรรม การนิรโทษกรรมนั้นก็เป็ นผลของการบังคับด้วย ดังนั้นตนเห็นว่าสิ่งสำคัญก็คื อจะต้องมาตกลงกันว่าจะเลือกที่ จะลืมในเรื่องอะไร หลักและขั้นตอนที่สำคัญก็คือ 1. ต้องค้นหาความจริง 2.เปิดเผยความจริง 3. จัดการกับความจริง และ 4. ต้องนิรโทษกรรม นายนิพิฎฐ์กล่าวต่อว่าสิ่งที่ จะต้องมาทำให้เกิดข้อยุติในอีก 2-3 เดือนต่อจากนี้ก้คือจะต้องมายุ ติเรื่องที่ทำเป็นที่มาของปั ญหาความขัดแย้งค้นหาความจริงว่ าอะไร เรื่องแรกก็คือจะต้องให้คนมี ความเข้าใจในประชาธิปไตยที่ใกล้ เคียง สองจะต้องทำให้มีความชัดเจนว่ าความยุติธรรมนั้นคืออะไร ทุกคนในสังคมจะต้องมีความเข้ าใจในสิ่งที่เรียกว่าความยุติ ธรรมในระดับที่ใกล้เคียงกัน เพราะที่ผ่าน ความรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติ ธรรมก็เป็นที่มาของความขัดแย้ง และเรื่องที่สามก็คือต้องยุติ ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในเรื่ องหลักของเสียงข้างมาก ในระบอบประชาธิปไตย ต้องอย่าลืมว่าที่ผ่านมาก่ อนการรัฐประหารก็มีการถกเถียงกั นในสภาว่าเสียงข้างมากนั้นแก้ กฎหมายได้ อีกฝ่ายซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยก็ บอกว่าทำไม่ได้ ซึ่งในที่สุดก็เกิดวิวาทะกั นและนำไปสู่การรัฐประหาร นายนิพิฎฐ์กล่าวว่าตนเห็นว่าที่ ผ่านมาสิ่งที่เป็นอุปสรรคไม่ ทำให้เกิดการปรองดองแม้จะมี ความพยายามกันมาหลายรัฐบาลก็คือ 1. คนไทยเป็นคนที่เกรงใจกัน จนไม่กล้านำเอาความจริงมาพูดกัน ดังนั้นต้องเลิกที่จะมาเกรงใจกั น 2. ไม่มีรัฐบาลไหนมีอำนาจเต็ม มีอำนาจจริงแบบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ที่กุมอำนาจทั้ งบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ และ3. ต้องชี้แจงให้ประชาชนได้รับรู้ ถึงปัญหาและที่มาของความขัดแย้ งด้วย เมื่อถามถึงเรื่องการนิ รโทษกรรมสุดซอย นายนิพิฎฐ์กล่าวว่านั้นอย่าพึ่ งไปตั้งธงเลยว่าจะเอาสุดซอย ควรจะทำตามขั้ นตอนและกระบวนการเรื่องการค้ นหาความจริงกัน 4 ขั้นตอนก่อน เพราะเมื่อทำตามแล้วอาจจะไม่ จำเป็นถึงขั้นที่จะต้องนิ รโทษกรรมสุดซอยก็ได้หากเราไปตั้ งธงแล้วก็จะเป็นปัญหาอีกว่าจะนิ รโทษกรรมกันอย่างไร จะต้องนิรโทษกรรมใครบ้าง จะนิรโทษกรรมคดีการเมืองใช่ไหม แล้วพอนิรโทษกรรมคดีการเมือง ก็ต้องมาถามอีกว่าจะนิ รโทษกรรมคดีกบฏหรือไม่เพราะเป้ นคดีการเมืองเหมือนกัน ดังนั้นมันมีปัญหาเยอะถ้ าหากมาพุดถึงเรื่องการนิรโทษกัน ขณะที่นายชินวัฒน์ หาบุญพาด อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่จะปรองดองได้ไม่ใช่แค่ การจัดเวทีหารือแล้วเลิกกัน แต่ต้องเกิดจากใจ ทุกคนต้องตั้งใจว่าจะทำเรื่ องการปรองดอง และต้องทำใจลืมเรื่องที่ควรลื มและจำเรื่องที่ควรจำ หากจะปรองดองโดยไม่ค้นหาเหตุก็ จะกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะเรื่องความไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตามมองว่าหากมีแค่ ป.ย.ป.ทำเรื่องปรองดองอย่างเดี ยวนั้นไม่สำเร็จ แต่ต้องมีภาคประชาชนร่วมเพื่ อทำให้เกิดความเข้าใจ ทั้งนี้เรื่องนิรโทษกรรมนั้ นตนมองว่าต้องนิรโทษกรรมแบบสุ ดซอยเลย เหมือนกรณีคำสั่ง 66/23 โดยเฉพาะการนิรโทษกรรมในส่ วนของคดีที่มีเหตุจู งใจทางการเมือง รวมถึงคดีของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนั้นยังรวมถึงคดี 112 ที่มีแรงจูงใจจากการเมือง เพราะจริงๆแล้วคนไทยทุกคนจงรั กภักดี แต่คนที่ทำให้สถาบันมัวหมองคื อคนที่ต้องการผลประโยชน์ ทางการเมือง ด้านของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดงกล่ าวว่าตนเห็นด้วยกับการปรองดอง แต่วิธีการจะอย่างไรนั้นก็อี กเรื่องหนึ่ง ตนเห็นว่าปัญหาก็คือเราไม่ได้ มาเถียงกันในหลักการว่าจะไม่ เอาในเรื่องอะไรหรือเอาเรื่ องอะไร แต่มาเถียงกันว่าเราจะเอาใครหรื อไม่เอาใคร ซึ่งถ้าคิดว่าจะเอาใครหรือไม่ เอาใครแบบนี้ก็คงต้องฆ่าอีกฝ่ ายให้ตายกันเลย ดังนั้นตนเห็นว่าควรต้องมีการดี เบตกัน ต้องเสริมสร้างวัฒนธรรมของการวิ พากษ์วิจารณ์กันให้มากขึ้น อย่าติดเรื่องตัวบุคคล ให้วิจารณ์เรื่องเนื้อหา ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกั บสิ่งที่เขาพูด แม้ตนเป็นเสื้อแดงแต่ตนก็เห็นด้ วยกับหลายประเด็นที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้พูด อาทิเรื่องการขายข้าวเป็นต้น นายสมบัติกล่าวต่อว่าคนไทยจะต้ องมองถึงอนาคต เรียนรู้เรื่องการให้อภัยกั นและกัน ปัญหาความขัดแย้ งของประเทศไทยจริงๆนั้นไม่ได้มี ที่มาที่ลึกมากเมื่อเทียวกับปั ญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีที่มาที่นานมาก เมื่อถามเรื่องเรื่องการนิ รโทษกรรมสุดซอยนั้น ตนขอยืนยันว่าไม่เห็นด้วย ในตอนนั้นรัฐบาลเสนอแค่ว่าจะนิ รโทษกรรมแค่มวลชน ซึ่งก็เหมาะสมแล้ว แต่พอมาปรับเปลี่ยนเป็นการนิ รโทษกรรมแบบสุดซอย ตนมองว่านี่คือเทคนิคการบิดพลิ้ วซึ่งรับไม่ได้ ตนไม่เห็นด้วย กระบวนการปรองดองนั้นควรจะต้ องมีการสร้างความยุติธรรมให้ทุ กฝ่ายด้วย ขณะที่นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) กล่าวว่าตนเห็นว่าการสร้ างความปรองดองนั้น รัฐบาลจะต้องสื่อสารให้ ประชาชนได้รับรู้ โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ รับรู้การดำเนินงานในนโยบายรัฐ และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสิ นใจด้วย สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือการใช้ มาตรา 44 นายกฯควรยกเลิกการใช้มาตรา 44 เพราะการใช้มาตรา 44 นั้นแสดงว่าไม่มีการตัดสินกันด้ วยปัญหา ด้วยการหารืออย่างมีส่วนร่วมแล้ ว รัฐบาลควรหยิบรากเหง้าของปั ญหามาพูดกัน อาทิเรื่องยุทธศาสตร์ 20 ปี ต้องดูว่าประชาชนรับรู้และยอมรั บหรือยัง สำหรับเรื่องของการนิ รโทษกรรมนั้นตนเห็นว่าต้ องทำความจริงว่าด้วยที่มาความขั ดแย้งให้ปรากฏเสียก่อน และสังคมจะต้องมีส่วนร่ วมในการตัดสินใจด้วย