มีข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พบว่า มูลค่าความเสียหายตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2567 ถึง กุมภาพันธ์ 2568 (ระยะเวลา 5 เดือน ของปีงบประมาณ 2568) อยู่ที่ 11,348 ล้านบาท มีความเสียหายลดลง จำนวน 3,335 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายจำนวน 14,683 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2567 ( ตุลาคม 2566 – กุมภาพันธ์ 2567)
ทั้งนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีมูลค่าความเสียหาย อยู่ที่ 65 ล้านบาทต่อวัน ลดลงร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยความเสียหายในช่วงต้นปีตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2567 ที่มีความเสียหายเฉลี่ย 117 ล้านบาทต่อวัน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา วุ่นวายกับเหตุปะทะที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี ทำให้กัมพูชาเล่นบทเหยื่อและอ้างเหตุนำข้อพิพาท 4 จุด ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต ขึ้นสู่ศาลโลกนั้นดูเหมือนว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะเริ่มออกอาละวาดอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม แม้กัมพูชาจะถอยร่นออกจากจุดปะทะ แต่สถานการณ์ความขัดแย้งยังไม่จบ ศูนย์อำนวยการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ในพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน (ศอ.ปชด.) มีคำสั่ง เรื่องการสนับสนุนกองทัพบกและกองทัพเรือในการป้องกันอธิปไตยและปกป้องประชาชนชาวไทย เตรียม มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการค้ามนุษย์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ศอ.ปชด. จึงมีมาตรการ ดังนี้
1. แจ้งให้ฝ่ายกัมพูชาเร่งรัดปราบปรามผู้ก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการค้ามนุษย์ในทุกพื้นที่ทันทีจับกุมและบังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำความผิดรวมถึงผู้สนับผู้สนับสนทั้งหมด
2. จะได้ยกระดับมาตรการป้องกันและปราบปรามฯ อาทิ การตัดกระแสไฟฟ้า การระงับสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ส่งเข้าไปพื้นพื้นที่ที่เป็นบ่อนการพนันและสแกมเมอร์ การควบคุมสินค้าและยุทโธปกรณ์ที่อาจจะนำไปใช้ใช้ในการก่ออาชญกรรมทางเทคโนโลยีและอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ โดยจะได้นำเสนอนอมาตรการดังกล่าวต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติต่อไป
ถือเป็นการตีตรงจุด เรียกว่าทุบหม้อข้าว