สยามรัฐ ยึดมั่นอุดมการณ์ปกป้องเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ยืนหยัดรับใช้สังคมด้วยจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบ …*…
ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2568 ความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาปะทุขึ้นอีกครั้ง เมื่อกัมพูชาโดยนายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ยื่นเรื่องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) เพื่อขอให้วินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ชายแดน 4 จุดสำคัญ ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต (มอมเบ็ย) ที่แม้ไทยจะยืนยันมาตลอดว่าข้อพิพาทชายแดนควรแก้ไขผ่านกลไกทวิภาคีและไม่ยอมรับเขตอำนาจ ICJ แต่กัมพูชากลับเลือกเดินหน้าใช้เวทีระหว่างประเทศเป็นหลัก นำไปสู่สถานการณ์ที่สังคมไทยเริ่มตั้งคำถามถึงศักยภาพของรัฐบาลในการต่อรองและปกป้องอธิปไตยของประเทศ …*…
หนึ่งในประเด็นสำคัญที่สังคมไทยเริ่มพูดถึงอย่างเปิดเผยคือ ทำไม "ทหาร" จึงยังคงได้รับความเชื่อมั่นจากสาธารณชนในเรื่องการจัดการข้อพิพาทกับกัมพูชามากกว่ารัฐบาลพลเรือน นี่ไม่ใช่เพียงเพราะบทบาทดั้งเดิมของกองทัพในการพิทักษ์เขตแดน แต่ยังเป็นผลจากประสบการณ์และประวัติศาสตร์ที่สั่งสมมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีความขัดแย้งบริเวณปราสาทพระวิหารในช่วงปี 2551-2554 หรือบทบาทของทหารไทยในพื้นที่พิพาทซึ่งมักแสดงท่าทีแข็งกร้าวและยืนยันในอธิปไตยอย่างชัดเจน …*…
ในขณะที่รัฐบาลโดยเฉพาะรัฐบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตร มักถูกตั้งคำถามเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนและท่าทีที่ไม่ชัดเจนต่อการปกป้องพื้นที่พิพาท ตัวอย่างชัดเจนคือกรณีเมื่อปี พ.ศ. 2553 ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในช่วงนั้นเผชิญแรงกดดันจากพรรคฝ่ายค้านซึ่งนำโดยพรรคเพื่อไทยเกี่ยวกับการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยไม่มีการปักปันเขตแดนให้แล้วเสร็จ สถานการณ์เหล่านี้ทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยเกิดความรู้สึกว่าการเมืองอาจยอมเสียเปรียบเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง ในขณะที่ทหารดูเหมือนจะปกป้องผลประโยชน์ของชาติอย่างตรงไปตรงมา …*…
ชื่อของตระกูลชินวัตร โดยเฉพาะนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนปัจจุบัน กลับมาเป็นเป้าโจมตีอีกครั้งในสถานการณ์นี้ เนื่องจากตระกูลชินวัตรมีความสัมพันธ์เชิงมิตรกับผู้นำกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นการที่นายทักษิณเคยได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาในปี 2552 หรือการที่สมเด็จฮุน เซน แสดงออกอย่างชัดเจนถึงความเป็นมิตรกับฝ่ายการเมืองที่มีความใกล้ชิดกับทักษิณ ซึ่งในสายตาของประชาชนจำนวนไม่น้อย กลายเป็นภาพลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่อาจก่อให้เกิด "ความเกรงใจ" ในการต่อรองเรื่องชายแดน …*…
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า ภายใต้รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยหรือมีบุคคลจากตระกูลชินวัตรเป็นผู้นำ กลไกของรัฐดูเหมือนจะไม่สามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระในการตอบโต้กัมพูชาอย่างแข็งกร้าว โดยเฉพาะในประเด็นด้านการทหารและการทูต การปฏิเสธการนำข้อพิพาทเข้าสู่ ICJ จึงถูกมองว่าเป็นท่าทีทางการเมืองมากกว่าท่าทีทางยุทธศาสตร์ …*…
สำหรับข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชามีแก่นหลักอยู่ที่การยึดถือแผนที่คนละฉบับ ไทยยืนยันใช้แผนที่มาตราส่วน 1: 50,000 ที่จัดทำขึ้นตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ส่วนกัมพูชายืนยันใช้แผนที่ 1:200,000 ที่อ้างว่ามาจากคณะผู้เชี่ยวชาญของฝรั่งเศสในยุคอาณานิคม ซึ่งแผนที่ดังกล่าวเคยเป็นต้นเหตุของคำตัดสินศาลโลกในปี พ.ศ. 2505 ที่ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่ไม่ได้วินิจฉัยเขตแดนโดยรอบแต่อย่างใด …*…
ความต่างในเรื่องแผนที่เป็นเรื่องที่ยากจะตกลงกันได้ หากใช้เพียงกลไกการเจรจาทวิภาคีเพราะต่างฝ่ายต่างอ้างหลักฐานคนละชุด กัมพูชาจึงเลือกเดินเกมเข้าสู่เวที ICJ ซึ่งไทยไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลนี้ในกรณีพิพาทเขตแดนมาตั้งแต่ปี 2503 การเคลื่อนไหวล่าสุดของกัมพูชาไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นการยกระดับเกมการทูตที่อาจใช้แรงกดดันจากประชาคมโลกและความเห็นของศาลสากลมากดดันให้ไทยต้องยอมรับข้อเสนอบางประการในอนาคต …*…
ในมิติภายนอก รัฐบาลไทยต้องรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนภายในประเทศที่จับตามองทุกการเคลื่อนไหวอย่างระแวดระวัง การที่รัฐบาลดูมีท่าทีไม่แข็งแรงหรือหลีกเลี่ยงการปะทะ จึงอาจถูกตีความว่าเป็น "การยอมอ่อนข้อ" หรือ "การไม่กล้าปกป้องดินแดน" ซึ่งต่างจากกองทัพที่มักออกมาส่งสัญญาณชัดเจนว่าไม่ยอมให้ไทยเสียอธิปไตยโดยเด็ดขาด …*…
สิ่งที่สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนคือ แม้ประชาชนจะมีปัญหากับบทบาทของทหารในหลายกรณี เช่น รัฐประหาร หรือการเมืองภายในประเทศ แต่เมื่อกล่าวถึงความมั่นคงระหว่างประเทศ ประชาชนจำนวนมากกลับรู้สึกว่าทหาร "น่าไว้ใจ" กว่านักการเมือง เพราะเชื่อว่าทหารไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนในข้อพิพาทข้ามพรมแดน …*…
ทั้งหมดนี้ทำให้รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและโปร่งใส โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการปรับ ครม. และกระแสไม่ไว้วางใจยังคงถาโถม รัฐบาลจำเป็นต้องฟังเสียงของประชาชนและไม่เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูล ขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานความมั่นคง เพื่อให้แนวทางของไทยมีเอกภาพและเป็นหนึ่งเดียว …*…
ข่าวสังคมทั่วไป ประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 มิ.ย. เวลา 09.00 น. นิธิศ ทองสอาด รองผู้ว่าฯ กปภ. เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร “การบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับ ผจก.กปภ.สาขา” (Strategy Management For PWA’s Branch Manager) รุ่นที่ 1/68 ที่ห้องแกรนด์ ซี โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ขรรค์ ประจวบเหมาะ ผอ.สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย นำ สุพันธุ์ มงคลสุธี กก.บห.สยามเพรส และมารชัย กองบุญมา ประธานกลุ่ม จันวาณิชย์ พร้อมคณะ เฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อสนับสนุนการจัดพิมพ์ชุดฝึกทักษะ Scaffolding สำหรับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียน ภาษาไทย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ พิทักษ์ จรรยพงษ์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน พร้อมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2568 และทูลเกล้า ฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
กิ่งทองใบหยก...อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี/รมว. เป็นประธานในงานพิธีมงคลสมรส ระหว่าง ฐิติพร บุตรี ฉลาด พนาวงศ์ชัย กับ ปวริศ ธนเหลืองอร่าม บุตร อำพล - สิริศรี เหลืองอร่ามรัตน์ โดยมี พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ฉัตรชัย พรหมเลิศ และ รพีพรรณ เหลืองอร่ามรัตน์ ร่วมอวยพร ท่ามกลาวบรรยาก่าศแสนหวาน ที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อวันก่อน
มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ...ศุภมาส อิศรภักดี รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีนำเข้าสู่งาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 และขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง Research for All พลิกโฉมอนาคตไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นักวิจัยและนักวิชาการสาขาต่างๆให้การต้อนรับ ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันก่อน
จัดกิจกรรม...ม.ล.อรดิศ สนิทวงศ์ ผู้ช่วย กก.ผจก.ใหญ่กลุ่มงาน Corporate Affairs สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ พล.ต.ต.กัญชล อินทราราม รอง ผบช.ตชด. ผนึกกำลังพันธมิตร นำโดย กมลวรรณ สงวนศักดิ์ และ พีรพงษ์ สมบูรณ์ จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ Citizen of Love by Siam Piwat ส่งมอบอาคารห้องสมุด และมอบทุนการศึกษา พร้อมเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โดยมี พล.ต.ท.ปฏิพัทธ์ - ปิยภัทร สุบรรณ ณ อยุธยา อารยา จิตตโรภาส และ ธาตรี ลิขนะพิชิตกุล ร่วมกิจกรรม ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหมาก จ.ประจวบคีรีขันธ์
ยินดีด้วย...เตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมแสดงความยินดีในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่อาสาสมัครกาชาดผู้ทำคุณประโยชน์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปี แห่งการสถาปนาสำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย โดยปัจจุบันมีอาสาสมัครในระบบอาสาสมัครกาชาดจากทั่วประเทศ และมีกิจกรรมเพื่อประชาชนและกลุ่มเปราะบางในระบบ ที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันอานันทมหิดล...วิจักษณ์ ประดิษฐวณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/กก.ผอ. เอ็ม บี เค เฝ้าฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมรับพระราชทานของที่ระลึก “เข็มอานันทมหิดล” ประจำปี พ.ศ. 2568 ที่เป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมสนับสนุน โครงการเข็มวันอานันทมหิดล ประจำปี 2568 “Air We Share, Lungs We Care ห่วงใยทุกลมหายใจ” ที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เบิร์ธเดย์อบอุ่น...ศุภานวิต เอี่ยมสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เดอะ เคอี กรุ๊ป จัดงานเลี้ยงฉลองคล้ายวันเกิดครบรอบ 60 ปีให้กับ กวีพันธ์ เอี่ยมสกุลรัตน์ ปธ.กก.บห.เดอะ เคอี กรุ๊ปท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่น โดยมี พ.ต.อ. ดร.สีหนาท ประยูรรัตน์ พล.ร.ต. ดร.เศวตนันท์ ประยูรรัตน์ ชาวันย์-ประถมาภรณ์ สวัสดิ์-ชูโต สุทธิภา สวัสดิ์-ชูโต และ กวินทร์ เอี่ยมสกุลรัตน์ ร่วมอวยพร ที่โรงแรมโรสวูด กรุงเทพ เมื่อวันก่อน