กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ การวิจัยและการพัฒนา การสร้างนวัตกรรม นำภูมิปัญญาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความเชื่อมั่น ถ่ายทอดความรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีสู่เครือข่ายภาครัฐภาคเอกชน ผู้ประกอบการ SMEs และชุมชน พร้อมร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ด้านสาธารณสุข ในภารกิจ Smart Hospital และ Smart Products ก้าวสู่การเป็นผู้นำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาเซียน นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในงานสถาปนากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครบรอบ 75 ปี ว่า การขับเคลื่อนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4.0 เป็นการพัฒนาไทยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 โดยรัฐบาลมีเป้าหมายให้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการอาศัยนวัตกรรมในประเทศ และได้มีการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ 6 ด้านประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์สุขุม กล่าวต่ออีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นองค์กรหลักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยมีภารกิจ 3 ด้าน คือ 1. การพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ (Innovation) ผลักดันนวัตกรรมและงานวิจัยเพื่อสร้างสุขภาพและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน 2. สนับสนุนระบบบริการสุขภาพ (Technology Support) พัฒนาห้องปฏิบัติการอ้างอิงและกำกับดูแลมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ และ 3. การคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection) สนับสนุนและเสริมสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความยั่งยืน สร้างคนไทย 4.0 ที่มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ โดยพัฒนาในด้านสมุนไพร เทคโนโลยีชีวภาพ-เทคโนโลยีชีวการแพทย์ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับสุขภาพ (Herb, Biotech & Bio-Med และ Healthtech) การตอบสนองต่อการเป็นประเทศไทย 4.0 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มุ่งขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ การวิจัยและการพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และสร้างองค์ความรู้และนำภูมิปัญญาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความเชื่อมั่น ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีสู่เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ SMEs ภาคประชาคมและชุมชน โดยคำนึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น และการถ่ายทอดถ่ายทอดองค์ความรู้สนับสนุนผู้ประกอบการ ทั้งนี้จุดเน้นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ด้านสาธารณสุข แบ่งเป็นภารกิจหลัก 2 ประเด็น ประกอบด้วย 1) การสนับสนุน Smart Products เป็นการสนับสนุนองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ สนับสนุนผู้ประกอบการและเอกชนให้สามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งนี้ผลงานสำคัญ ประกอบด้วย การพัฒนายาชีววัตถุ ประเภท Biosimilar (ยาชีววัตถุคล้ายคลึง) ชีวเภสัชภัณฑ์ เวชสำอาง ชุดตรวจวินิจฉัยที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เป็นต้น สามารถช่วยสร้างมูลค่าทางการแข่งขันของประเทศได้ประมาณ 5 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งภารกิจทางด้าน Smart Products จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาติภาพรวมในระยะ 5 ปีแรกไม่น้อยกว่าประมาณ 1 ล้านล้านบาท ตัวอย่างเช่น ยาชีววัตถุ ประเภท Biosimilar มี 9 รายการที่กำลังดำเนินการ มูลค่าตลาดในประเทศไทย จำนวน 2,200 ล้านบาท ตลาดอาเซียน จำนวน 11,000 ล้านบาท และตลาดโลก จำนวน 657,000 ล้านบาท เป็นต้น 2) Smart Hospital… 2) Smart Hospital โดยการพัฒนาโรงพยาบาลมีมาตรฐาน ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ ด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยคำนึงถึงประเด็นโรคสำคัญของประเทศ โรคอุบัติใหม่ และโรคเดิมที่กลับมามีปัญหา โดยอาศัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ขั้นสูง โดยมุ่งเน้นกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และเชื้อโรคดื้อยา จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของประเทศได้ประมาณ 2.5 แสนล้านบาท การพัฒนาคนตามกลุ่มวัยตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงสูงอายุ โดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ขั้นสูง เช่น การวิจัยศึกษาด้านพันธุศาสตร์ และการนำมาสู่การปฏิบัติในกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ การใช้ความรู้ด้านสเต็มเซล (Stem cell & Regenerative Medicine) ตลอดจนกลุ่มการแพทย์ที่แม่นยำเฉพาะคน (Precision Medicine) ประกอบด้วยการตรวจหาวัณโรค มะเร็ง และเภสัชพันธุศาสตร์ ตลอดจนการเสริมสร้างอาหารที่ปลอดภัยในโรงพยาบาล “ทั้งนี้หากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถขับเคลื่อนภารกิจ Smart Hospital และ Smart Products ได้สำเร็จจะส่งผลให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาเซียนในเวลา 5 ปี และติด 1 ใน 3 ของเอเชียในเวลา 10 ปี และมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ดังนี้ คือ ประเทศไทยสามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุขได้ประมาณ 1 ล้านล้านบาทใน 5 ปี และช่วยส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในเชิงเศรษฐกิจได้ประมาณ 6 แสนล้านบาทใน 5 ปี รวมทั้งสิ้นประมาณ 2 ล้านล้านบาทใน 5 ปี อีกทั้งยังส่งผลให้ประชาชนซึ่งเป็นทรัพยากรหลักในการพัฒนาประเทศมีสุขภาพที่ดีตลอดทุกช่วงกลุ่มวัยเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย และทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นนำทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขของภูมิภาคเอเชีย ก้าวสู่ความเป็นประเทศไทย 4.0 หลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแน่นอน” นายแพทย์สุขุม กล่าวทิ้งท้าย