อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ไม่น้อยเลยที่เป็นยอดดอยสูง เป็นที่พักพิงของชาวไทยภูเขาหรือบ้างเรียกว่าชนเผ่าต่างๆ อดีตที่ผ่านมายอดดอยเหล่านี้ถูกบุกรุกถากถางเพื่อใช้ทำมาหากินพืชไร่แบบเลื่อนลอย จากเทือกเขาที่มีป่าไม้สัตว์ป่านานาชนิดอุดมสมบูรณ์ก็กลายเป็นเขาหัวโล้นไปมากต่อมากอันเป็นที่มาแห่งพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(สมเด็จย่า) ทรงห่วงใยทั้งในพื้นที่อันเป็นแหล่งอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรธรรมชาติที่ในความเป็นจริงแล้วคือแหล่งเอื้ออำนวยในการดำเนินชีวิตของทุกสรรพชีวิตทั้งผู้คนทั้งสิงสาราสัตว์ที่เป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งความร่มเย็นเป็นสุข เพราะเป็นทั้งต้นกำเนิดป่า น้ำ ดิน จึงพระราชทานแนวทางการพัฒนาฟื้นฟูเพื่อให้คนกับป่า ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ร่วมกันพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันไม่ใช่เสาะแสวงหาแบบทำลาย เพื่อประโยชน์ตนแถ่ถ่ายเดียว มีหน่วยที่สนองพระมหากรุณาธิคุณเป็นกำลังสำคัญในการเข้าไปยังพื้นที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้ตระหนักรู้ เข้าใจ ร่วมกันฟื้นฟู รักษา ใช้ประโยชน์อย่างรู้คุณค่าที่ผมมีโอกาสตามไปเข้าป่าปีนเขาไปด้วยสนองพระมหากรุณาธิคุณน้อมนำพระมหากรุณาธิคุณอันเกิดจากพระราชหฤทัยห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศ์ไปสู่ประชาชนในพื้นที่ป่าเขาเหล่านั้นที่ส่วนใหญ่ครอบครัวอาศัยในพื้นที่ดังกล่าวยังตกอยู่ในสภาพขาดแคลน อดอยาก ยากจน เพราะไม่มีปัจจัยหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต เช่นขาดป่าต้นตอการดูดซับความชุ่มชื้นบ่อเกิดแหล่งน้ำ เมื่อขาดป่าขาดน้ำไม่อาจประกอบอาชีพได้ก็ทำให้ขาดปัจจัยการผลิตอาหารไปโดยอัตโนมัต ปัจจัยการนำไปสู่ความรู้เพราะพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ห่างไกลความเจริญอยู่ในป่าในเขา กลางทุ่ง กลางนาลำบากยากแค้นอย่างสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงานกป.)และอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท่านที่นำทางลงพื้นที่ส่วนใหญ่คือฯพณฯองคมนตรี พร้อมด้วยผู้บริหารของหน่วยงานอย่างสำนักงานกปร.ก็จะมีเลขาธิการ รองเลขาธิการ ที่ปรึกษาเป็นต้น เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้วก็จังหวัดตามไปร่วมเป็นกำลังในการสนองพระมหากรุณาธิคุณเพื่อนำประโยชน์สุขสู่ประชาชนให้สมดังพระราชปณิธาน องคมนตรีนำพาลุยไปยังพื้นที่ที่ราษฎรเดือดร้อนเพื่อบรรเทาความทุกข์จากการขาดแคลนยากจนอดอยากดังกล่าว ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่พระราชทานให้ดำเนินการในพื้นที่ท้องนาป่าเขานั้น ระหว่างวันที่4-6 สิงหาคม 2559ที่ผ่านมา เริ่มวันแรกคือวันที่ 4 นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี นำเดินทางไปยังโครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านห้วยหยวกป่าโซ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายดนุชา สินธวานนท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(รองงเลขาธิการกปร.)นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ นายกิจจา ผลภาษี ที่ปรึกษาสำนักงานกปร. นายจรูญ อิ่มเอิบสิน ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง นายทวี เต็มญารศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลประทาน นางเปรมพิมล พิมพ์พันธุ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางศศิพร ปาณิกบุตร ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์สำนักงานกปร. นายสว่าง กองอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักสนองพระราชดำริ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ ติดตามการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและร่วมดำนากับราษฎรในพื้นที่โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดังกล่าว นายพลากร สุวรรณรัฐเดินทางเยี่ยมโครงการสถานพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริฯแห่งนี้ถึง 7 ครั้งตั้งปี2549-2559 บ้านห้วยหยวกป่าโซ เดินทางจากพื้นราบขึ้นไปถึงพื้นที่ซึ่งเป็นยอดดอยความสูงเกินพันเมตรจากระดับน้ำทะเลเห็นจะได้เข้าไป ด้วยความยากลำบาก รถธรรมดาขึ้นไปไม่ได้ต้องใช้รถระบบโฟร์วิล นอกจากทางรถยังเป็นคล้ายทางเกวียนเป็นดินลูกรัง ถ้าเจอน้ำเข้าก็จะเป็นโคลนแล้ว ยังแคบรถวิ่งสวนทางไม่ได้ เป็นหลุมบ่อ เป็นร่องน้ำที่เกิดจากการถูกเซาะตอนฝนตก ไต่เขาสูงไปเรื่อยๆ รถวิ่งสวนทางกันไม่ได้ถ้ามีอีกคนสวนมาต้องส่งสัญญาณกันไกลมาก หาที่เบี่ยงหลบกันให้ได้ ไม่เช่นนั้นเบียดกันตกเขา ระยะทางสิบกว่ากิโลเมตรใช้เวลาเดินทางราวสองชั่วโมง แม้จะไปผจญมาแล้วกับพณฯองคมนตรีพลากรก็บรรยายให้หลับตาเห็นภาพได้เท่านี้แหละ แต่ย้ำว่าสิบกว่ากิโลเมตรเดินทางราวสองชั่วโมงจริงๆ องคมนตรีและคณะนั่งรถหัวสั่นหัวคอนเช่นเดียวกันกว่าจะถึงที่หมาย ตอนขากลับลงมาก็ต้องเจอแบบเดิม เมื่อไปถึงพื้นที่มีทั้งชาวบ้าน นักเรียนบ้านห้วยหหยวกป่าโซที่เปิดสอนอนุบาลถึงประถมปีที่ 6 จำนวน 232 คนเป็นเผ่าอาข่า ลาหู่(มูเซอร์)และจีน เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในจังหวัดไปรอต้อนรับคณะด้วยความตื่นเต้นที่องคมนตรีขึ้นดอยไปเยือน เท่าที่สังเกตคนพื้นที่แสดงออกทางสีหน้าว่าชื่นใจที่ได้ต้อนรับคณะอันเชื่อว่าเป็นขวัญกำลังใจอีกมากโขที่มีผู้ใหญ่ลุยไปถึงพื้นที่ อีกคณะที่ไปรอรับและตั้งโชว์ระบบไฟฟ้าเป็นการบอกให้รู้ว่าหมู่บ้านในป่าในเขาย่านนี้มีไฟฟ้าใช้แล้วคือคณะจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ไปติดตั้งไฟฟ้าให้เพื่อใช้ทั้งในโครงการฯและในชุมชน โดยให้องคมนตรีเป็นประธานเปิดการใช้ไฟฟ้าซะในคราวนี้ “ในนามชาวบ้าน สมาชิกสถานีเกษตรที่สูงตามพระราชดำริฯตลอดจนลูกหลานนักเรียนขอบคุณการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่เสียสละพยายามจ่ายงบที่จัดเก็บมาจากในเมืองเจริญมาช่วยปักเสาพาดสายไฟไกลมากกว่าจะมาถึงหมู่บ้านเล็กๆ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล เป็นที่ประจักษ์ว่าแม้พสกนิกรจะอยู่ห่างไกลก็จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณเท่าเทียมพื้นล่าง ลดความเหลี่ยมล้ำระหว่างพื้นราบกับที่สูง คนจนคนรวยอันเป็นพระราชปณิธานของทั้งสองพระองค์”องคมนตรีพลากรกล่าวหลังทำพิธีเปิดการใช้กระแสไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ