ข่าวที่เกี่ยวข้อง: ผจญภัยในเมืองซินเจียง | ตำนานเส้นทางสายไหม (1) เริ่มต้นสัปดาห์ใหม่กับประสบการณ์ท่องเที่ยวสุดแสนประทับใจ ที่ 'กนก กนธี' จะพาทุกคนไปสัมผัสในซินเจียง ดินแดนบริสุทธิ์ผืนสุดท้ายของมนุษย์ ซึ่งยัง มีแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคั ญและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ จึงทำให้มณฑลซินเจียง โดยเฉพาะเมืองเอกอย่าง อูหลู่มู่ฉี หรือ อุรุมชี ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งนักลงทุนชาวจีน และชาวต่างชาติเดินทางมาลงทุนกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในเมืองมีตึกสูง โรงแรม ห้างสรรพสินค้าชื่อดังมากมาย รวมไปถึงความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อสอดรับกับการเจริญเติบโต ดังกล่าว เช้าแรกของวันที่อูหลู่มู่ฉี เช้าแรกของวันที่ อูหลู่มู่ฉี 'กนก กนธี' ตื่นเร็วกว่าปกติ เพราะที่นี่ในยามค่ำคืนกว่าพระอาทิตย์จะลับเหลี่ยมเขาอันไกลโพ้นเวลาก็ปาเข้าไปประมาณ 4 ทุ่ม ขณะที่แสงแดดของวันใหม่เจิดจรัสทาบท้องฟ้าตั้งแต่ 6 โมงเช้า แต่ถึงกระนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองนี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ที่เริ่มมาตั้งแต่กลางเดือนเมษายน จนไปสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน มีอุณหภูมิจะเฉลี่ยอยู่ที่ 17 องศาเซลเซียสและอาจมีฝนตกเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้โดยสภาพภูมิอากาศของซินเจียงจากข้อมูลที่ศึกษา 'กนก กนธี' พบว่า ถูกแบ่งออกเป็น 4 ฤดู คือฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และ ฤดูใบไม้ผลิ มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 12.7 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนประมาณ 3.4 นิ้วต่อปี ขณะที่ช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศที่หนาวจัดในเดือนมกราคมบางพื้นที่อุณหภูมิติด ลบกว่า -40 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนช่วงเดือนกรกฎาคมบางพื้นที่ก็จะร้อนจัด อย่างเช่น เมืองถูหลู่ฟ่านเคยร้อนสูงสุดถึง 48 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิที่ซินเจียงในเวลากลางวันและกลางคืนจะมีความแตกต่างกันมาก โดยกลางวันจะร้อนกลางคืนหนาว เพราะฉะนั้นนักเดินทางจึงต้องดูแลร่างกายเป็นพิเศษ ซินเจียง ซอฟแวร์ ปาร์ค แต่สำหรับทริปการเดินทางในวันนี้ 'กนก กนธี' แต่งตัวรับอากาศโปร่งๆ มีแสงแดดรำไรด้วยเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนชื้น ตามอุณหภูมิของอากาศสูงสุดอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส อีกทั้งในช่วงของการเดินชมความทันสมัยของซินเจียง ซอฟแวร์ ปาร์ค อาณาบริเวณของการคิดค้นเครื่องมืออิเลคทรอนิกส์สำหรับชีวิตประจำวัน ค่อนข้างจะสบาย เพราะอาคารของที่นี่ทันสมัยเหมาะสำหรับการทำงานเป็นอย่างยิ่ง ซินเจียง ซอฟท์แวร์ ปาร์ค จากที่ 'กนก กนธี' ได้สัมผัส ซินเจียง ซอฟท์แวร์ ปาร์ค หนึ่งในโครงการที่รัฐบาลผลักดันให้ศูนย์กลางไอที ณ ที่แห่งนี้ คือ การรวมเอาอุตสาหกรรม บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี ศูนย์กลางการเรียนรู้ การเริ่มต้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆไว้ด้วยกันโดยรัฐบาลส่งเสริมสิทธิพิเศษทางภาษีและสนับสนุนการวิจัยพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้าแห่งใหม่ของอูหลู่มูฉี มีพื้นที่มากกว่า 400,000 ตารางเมตร เทคโนโลยีอันทันสมัย ดังนั้นจึงไม่แปลกนักถ้าทุกคนที่มาเยือน จะพบกับสิ่งก่อสร้างที่เป็นแหล่งรวมบริษัทไอทีขนาดเล็ก ซึ่งมีนักธุรกิจหนุ่มสาวเป็นเจ้าของอยู่มากมาย บางบริษัทที่นี่มีประธานเจ้าหน้าที่บริหารอายุเพียง 30 ปีแต่พัฒนาเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์มีชื่อเสียงระดับประเทศเลยทีเดียว โดยนับเป็นจุดเริ่มต้นความฝันของจีนที่กำลังดำเนินต่อไป จนถึงปี2568หรือในอีก 8 ปีข้างหน้าที่ทุกอย่างจะแล้วเสร็จ กลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่หาใครมาเทียบเทียมได้ยาก เต็มไปด้วยวัฒนธรรมดั้งเดิม อย่างไรก็ตามแม้ อูหลู่มู่ฉี จะเต็มไปด้วยอาคารบ้านเรือนระฟ้า ตึกสูง โรงแรม ห้างสรรพสินค้าชื่อดังมากมาย แต่ยังซ่อนเร้นความสวยงาม และวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งมีชาวจีนเชื้อสายอุยกูร์ (ชาวมุสลิมเชื้อสายตุรกี) ประมาณ 46% รองลงมาเป็นชาวจีนเชื้อสายฮั่น 40% และที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ประชากรส่วนใหญ่ของซินเจียงกว่า 70% นับถือศาสนาอิสลามจึงทำให้ป้ายตามสถานที่ต่างๆของที่นี่มีสองภาษาควบคู่กัน คือ ภาษาเว่ยอู๋เออร์ และภาษาจีนกลาง เดอะ กรีน วัลเลย์ ปาร์ค โดยมื้อเที่ยงของวันกับอาหารพื้นถิ่น ที่ เดอะ กรีน วัลเลย์ ปาร์ค สวนสาธารณะขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับการพัฒนาจากรัฐบาลให้เป็น แหล่งพักผ่อนของเมืองนี้ เพราะฉะนั้นแม้ว่าซินเจียง จะเป็นเมืองที่ค่อนข้างแห้งแล้งมีฝนตกน้อย แต่เป็นที่น่าแปลกใจ ว่า ที่ดินแดนแห่งนี้สามารถทำปศุสัตว์และเกษตรกรรมได้ในระดับแนวหน้าของจีน โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียง เช่น แพะ แกะ ม้า วัวและอูฐ เป็นต้น ส่วนการเกษตรที่มีชื่อเสียงได้ผลผลิตมากและสามารถส่งออกไปยังมณฑลต่างๆทั่วประเทศจีนได้ เช่น การทำไร่ฝ้าย ข้าวสาลี สาลี่หอม แคนตาลูปที่ขึ้นชื่อว่าหวาน และอร่อยที่สุดในโลก อีกด้วย เมนูอาหารพื้นถิ่น ย้อนกลับมาที่เมนูอาหารมื้อเที่ยง'ที่ 'กนก กนธี' ได้ลิ้มลอง จึงหนีไม่พ้นส่วนผสมของวัตถุดิบดังที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งพืช ผักผลไม้ที่นำมาผ่านกระบวนการผัด ต้ม นึ่ง ไปจนถึง เนื้อสัตว์หลากหลายประเภท นำมาปรุงอาหารหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ทุกคนได้ลิ้มรสความอร่อยๆ กันอย่างเพลิดเพลิน ขณะที่เครื่องดื่มที่เป็นจุดพีค และเป็นไฮไลท์ของมื้อนี้ คงจะเป็นชาจีนร้อนๆ เติมได้ไม่อั้น แต่ที่สำคัญเมื่อทุกคนดื่มกันเสร็จเรียบร้อย ตากล้องจากประเทศอียิปต์กลับมาเฉลย ว่า ชาที่ทุกคนชื่นชอบนั้น เป็นชาที่นำเข้ามาจากอียิปต์เสียได้ ชมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หลังจากอิ่มท้องกันเป็นที่เรียบร้อย ก็ถึงเวลาไปเดินย่อยกันสักพัก ณ เดอะ กรีน วัลเลย์ ปาร์ค ซึ่งเวลานี้อยู่ระหว่างการพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ โดยภายในเต็มไปด้วยต้นไม้นานพันธุ์ ดอกไม้นานาชนิดที่นำมาปลูกแซมกันอย่างสวยงาม ขณะที่อีกมุมหนึ่งนั้นจะมีกลุ่มของผู้หญิงสูงวัยต่างร้องรำทำเพลงท่วงทำนองตามภาษาพื้นถิ่นของแถบนี้ดูสนุกสนาน เป็นกันเองมากๆก่อนจะโบกมือร่ำลาพวกป้าๆ เหล่านั้น เพื่อเดินทางไปยังจุดหมายต่อไป ซินเจียง ฯไชน่า เรลเวย์  คอนสตรัคชั่น โดยจุดหมายต่อไป ที่ ซินเจียง แฟกทอรี่ ออฟ ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น ณ ที่แห่งนี้ทำให้ 'กนก กนธี' ถึงกับตาสว่างคลายความสงสัยถึงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ภูเขาอันสูงใหญ่นับพันๆ ลูกที่ถูกเจาะในเมืองอื่นๆ เพื่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพราะเครื่องมือทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า แม้จะเป็นโมเดลย่อส่วน เพื่อให้ผู้ที่มาแวะชม ซินเจียง แฟกทอรี่ ออฟ ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น ได้ศึกษา แต่รับรองว่า ทุกคนจะเพลิดเพลินไปกับเรื่องราวต่างๆ ที่ถูกนำเสนอผ่านโมเดลต่างๆ เหล่านั้นอย่างแน่นอน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แม้ว่าใครหลายๆ คนอาจจะสนใจประวัติ ศาสตร์ที่หลายหลาก และอารยธรรมโบราณกว่า 2 พันปี จนกลายมาเป็นตำนานที่โลกได้จารึกถึง เส้นทางสายไหม ในดินแดนซินเจียงเมื่อครั้งอดีต ที่เต็มไปด้วยมนต์เสห่น์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่งดงามเกินคำบรรย แต่ถึง ณ เวลานี้ ไม่เฉพาะแต่การลงทุน ด้านการศึกษา วัฒนธรรม และ การพัฒนาพื้นที่ เพื่อลดความขัดแย้งของชนกลุ่มน้อยในมณฑลที่ใหญ่ที่สุดที่มาพร้อมๆ กับการพัฒนาเศรษฐกิจก็ดึงดูดความสนใจของคนยุคปัจุบันได้ไม่แพ้กัน ซินเจียง อาร์ท เธียเตอร์ สุดท้ายในสัปดาห์นี้ 'กนก กนธี' สัญญาว่า จะนำเรื่องราวอันหลากหลายในเมืองซินเจียงมาเสนอให้ทุกคนได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดทุกซอกทุกมุม ซึ่งสัปดาห์หน้าจะเป็นที่ใดนั้น รอติดตามหาอ่านได้ในคอลัมน์ สะพายกล้องท่องโลก ของหนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ที่เดียวเท่านั้น กนก กนธี เรื่อง/ภาพ [email protected]