สัปดาห์นี้'กนก กนธี' ยังคงพาผู้อ่านตระเวณไปชมความหลากหลายของซินเจียง ทั้งภาษา วัฒนธรรม รวมถึงสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นจากการลงทุนของภาครัฐทั้งทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโลยี และการบริการทางการแพทย์ เพื่อรองรับกับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของเมืองหลักที่ชื่อ อูหลู่มู่ฉี สู่เส้นทางการพัฒนาการศึกษา เช้าวันใหม่ 'กนก กนธี' เดินทางออกจากโรงแรม Hoi Tak ตามเวลานัดพบเช่นเดิม ซึ่งในวันนี้รถบัสเล็กๆ 5 คันมีรถตำรวจจีนนำหน้านั้นพาไปไกลกว่าร้อยกิโลเมตร ใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษๆ ก็ถึงจุดหมาย ณ the campus of No.66 Secondary School ที่อยู่ภายใต้โครงการ อูหลู่มู่ฉี อีโคโนมิกส์ ดีเวลลอปเมนท์โซน จึงทำให้ไม่เป็นเรื่องแปลกนักที่สถานที่ดังกล่าวจะอยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปพอสมควร No.66 Secondary School เพราะภายใต้โครงการดังกล่าว 'กนก กนธี' ได้ข้อมูลมาว่า เพื่อทำให้ อูหลู่มู่ฉี เป็นเมืองสำคัญของยุทธศาสตร์เส้นทางสายใหม่ๆ จึงทำให้สถาบันการเงิน ศูนย์การค้า โรงพยาบาล สปอร์ตคอมเพล็กซ์ โรมแรม ที่พักอาศัย ต่างถูกก่อสร้างขึ้นให้ห่างจากตัวเมืองไปไม่ไกลนักอย่างเช่น โรงเรียน 66 ที่ได้มาเยือนแห่งนี้ แม้ว่าระหว่างทางจะเห็นบ้านเรือนที่ก่อด้วยอิฐฉาบโคลนถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก และถูกแทนที่ด้วยอาคารที่อยู่อาศัย อพาร์ทเมนท์สมัยใหม่เป็นระยะก็ตาม สำหรับโรงเรียนดังกล่าว เป็นอีกหนึ่งแห่งที่ทางรัฐบาลให้ความสนใจ เพราะที่นี่ให้โอกาสชาวจีนเชื้อสายอุยกูร์ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายตุรกีประมาณ 46% รองลงมาเป็นชาวจีนเชื้อสายฮั่น 40% และที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ทั้งนี้ ประชากรส่วนใหญ่ของซินเจียงกว่า 70% นับถือศาสนาอิสลาม โดยมีการใช้สองภาษาควบคู่กัน คือ ภาษาเว่ยอู๋เออร์ และภาษาจีนกลาง หรือภาษาจีนแมนดารินนั้นเอง นักเรียนตัวอย่างที่เก่งภาษา ด้วยเหตุนี้จึงให้เด็กๆ ที่สามารถผ่านการคัดเลือกเข้ามาศึกษา ณ ที่แห่งนี้ส่วนใหญ่จะสื่อสารได้ประมาณ 2-3 ภาษา โดยมีภาษาหลักๆ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนแมนดาริน และภาษาท้องถิ่นของถิ่นกำเนิดของแต่ละคน ซึ่งทุกคนจะถูกฝึก และสอนผ่านระบบการศึกษาในแต่ละปีพัฒนาขึ้นไปเพื่อรองรับกับนโยบายหลักของชาติ ในการผลักดันให้อูหลู่มูฉีเป็น 5ศูนย์กลาง คือ การค้า การขนส่ง การเงิน ศูนย์กลางทางวัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการบริการทางการแพทย์นั้นเอง ชมเขตพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง จาก โรงเรียน 66 'กนก กนธี' เดินทางต่อไปยัง Rival -Tech Urumqi High-Tech Development Zone หรือเขตพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ณ ที่แห่งนี้ได้นำขบวนการการผลิตถุงพลาสติกหลากหลายรูปแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งประหยัดกำลังคน โดยใช้ระบบไฟฟ้า และไฮดรอริกเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้จำนวนการผลิตในแต่ละครั้งมีเป็นจำนวนมากพอที่จะส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก โรงงานผลิตถุงพลาสติก ขณะที่ในช่วงบ่ายแก่ๆ ได้เดินทางไปชมการพัฒนาไปโอเทค ที่ เกี่ยวกับวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ณ the bio-Tech incubator ซึ่งทางภาครัฐให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี จึงมีทั้งนักวิทยาศาสตร์หลากหลายแขนงใช้เวลาในการวิจัย และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของพืชผักต่างๆ เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่ต้องการ ในแต่ละวันที่ อูหลู่มู่ฉี ดูจะผ่านไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับวันนี้กว่าจะเสร็จภารกิจในแต่ละสถานที่ใช้เวลาไปนานโข กว่าจะกลับถึงที่พักก็ปาไปหนึ่งทุ่มเป็นอย่างน้อย โดยยังมีแสงแดดให้เห็นก่อนจะความมืดจะปกคลุมทั่วท้องฟ้าเวลาก็ผ่านไปเกือบ 4 ทุ่มของทุกๆ วัน ขณะที่ในช่วงเช้าของวัน 'กนก กนธี' ก็จะตื่นขึ้นมาประมาณ 6-7 โมงเช้าเช่นเดิม สัมผัสการสื่อสารไร้พรหมแดน สำหรับเช้าวันสาม 'กนก กนธี' มีโปรแกรมไปเยี่ยมเยือนเพื่อนฝูงในอาชีพเดียวกัน นั้นก็คือ สำนักงานข่าวสารใหญ่ที่สุดในซินเจียง ณ the Dubbing Center of Xinjiang ครบคลุมการสื่อสาร ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และละคร กระจายไปถึงคาซัคสถาน และมองโกลเลีย ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางเมือง อูหลู่มู่ฉี ล้อมรอบด้วยยอาคารบ้านเรือนระฟ้า ตึกสูง โรงแรม ห้างสรรพสินค้าชื่อดังมากมาย ห้องจัดรายการวิทยุ เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง 'กนก กนธี' ถูกนำไปชมในแต่ละอาคาร ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่การทำงานกันออกไป ทั้งการให้เสียงตัวละคร หรืออีกห้องหนึ่งจะมีผู้จัดรายการทางวิทยุกำลังดำเนินรายการให้เห็นกันสดๆ กันเลยทีเดียว แต่ที่น่าตื่นเต้นมากกว่านั้น คือ การได้ชมห้องข่าวที่นำภาษาอารบิก มาแปลเป็นภาษาจีน เพื่อสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ห้องจัดรายการโทรทัศน์ อย่างไรก็ตามจากที่ 'กนก กนธี' ได้พบปะเจ้าหน้าที่ของสำนักข่าวแห่งนี้ ทุกคนต่างเป็นมิตร และกระตือรือล้นในการต้อนรับผู้มาเยี่ยมชมอย่างอบอุ่น และเป็นกันเอง พร้อมทั้งยังนำเสนอเทคโนโลยีการสื่อสารอีกหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพ และความพร้อมของ the Dubbing Center of Xinjiang ที่ไม่เป็นสองรองใคร โดยเฉพาะห้องที่ดึงดูดให้ทุกคนใช้เวลาเป็นนานสองนาน คงจะเป็นอื่นไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช่แสงสีในห้องจัดรายการของโทรทัศน์ ที่ดูจะเป็นสาขาที่อยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนทั่วโลก ที่ตั้งสถานีข่าวสารซินเจียง สถาบันการศึกษาของชาวมุสลิม อย่างไรก็ตามในช่วงบ่ายๆ 'กนก กนธี' ก็ไม่พลาดกับสถานที่สำคัญในอูหลู่มู่ฉี นั้นก็คือ วิทยาลัยอิสลาม (Xinjiang Islamic Institute in Urumqi ) สถาบันการศึกษาของชาวมุสลิม ที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้สามารถยกระดับเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านศาสนาอิสลามของประเทศ โดยรอบๆ บริเวณของวิทยาลัยดังกล่าวจะเต็มไปด้วยบ้านเรือนของชาวจีนเชื้อสายอุยกูร์ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายตุรกีประมาณ 46% นั้นเอง  วิทยาลัยอิสลาม ทั้งนี้จากข้อมูลที่ 'กนก กนธี' ได้รับรู้มานั้น โดยปกติแล้วการเรียนการสอนของชาวมุสลิมในจีนก็เหมือนทั่วๆ ไป คือ เรียนกันในมัสยิดโดยอิหม่ามเป็นผู้สอน ซึ่งข้อมูลระบุว่ามีมากกว่า 35,000 แห่งในจีน ต่อมาจึงยกระดับเป็นสถาบันการศึกษา ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยขึ้น และนักเรียนนอกจากจะได้รับการสอนภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย คัมภีร์กุรอ่าน และ ความรู้ศาสนาอิสลาม ยังได้รับการสอนวิทยาการสมัยใหม่ไปด้วย โดย วิทยาลัยแห่งนี้ถือเป็น 1 ใน 9 สถาบันการศึกษาอิสลามที่ก่อตั้งมาพร้อมๆ กันในปี 1980 หรือ พ.ศ.2523 เช่นที่ ปักกิ่ง คุนหมิง เสิ่นหยาง และมณฑลเหอเป่ย  วิทยาลัยอิสลาม สุดท้ายในสัปดาห์นี้ 'กนก กนธี' ยังคงนำเรื่องราวอันหลากหลายในเมืองซินเจียงมาเสนอให้ทุกคนได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดทุกซอกทุกมุม ซึ่งสัปดาห์หน้าจะเป็นที่ใดนั้น รอติดตามหาอ่านได้ในคอลัมน์ สะพายกล้องท่องโลก ของหนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ที่เดียวเท่านั้น บ้านเรือนบริเวณ วิทยาลัยอิสลาม กนก กนธี เรื่อง/ภาพ [email protected]