เช้าวันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๙ นายพลกร สุวรรณรัฐ องคมนตรีพร้อมคณะประกอบด้วยนายดนุชา สินธวานนท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(รองงเลขาธิการกปร.)นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ นายกิจจา ผลภาษี ที่ปรึกษาสำนักงานกปร. นายจรูญ อิ่มเอิบสิน ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง นายทวี เต็มญารศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลประทาน นางเปรมพิมล พิมพ์พันธุ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางศศิพร ปาณิกบุตร ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานกปร. นายสว่าง กองอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักสนองพระราชดำริ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและในจังหวัดเดินทางไปยัง โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านสันติสุข ตำบลขันควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา เมื่อไปถึงพื้นที่มีนักเรียน ชาวบ้านตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนรอตอนรับ องคมนตรีพบปะพูดคุยทักทายสอบถามถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน จากนั้น รับฟังรายงานการดำเนินงานพัฒนาตามแนวพระราชดำริทั้งผลสำฤทธิ์และปัญหาอุปสรรค ตัวอย่างเช่นการพัฒนาต้นต๋าวพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่กำลังจะสูญพันธุ์ส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูและสร้างรายได้เพิ่มให้ชาวบ้านเป็นไปตามพระราชดำริในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ นายพลากร สุวรรณรัฐเดินทางมาเยี่ยมโครงการฯแห่งนี้ถึง 7 ครั้งตั้งแต่ปี2548 ถึงคั้งนี้ปี2559 องคมนตรีเดินชมผลการดำเนินงานที่ได้สรุปผลบ้างส่วนบางอย่างมารวมไว้เป็นซุ้มและบอร์ดนิทรรศการเช่นการพัฒนาส่งเสริมเพาะพันธุ์ต้นต๋าวไม้ท้องถิ่นให้เกิดผลพวงทางเศรษฐกิจแก่ชาวบ้านเพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้านนำไปปลูกในพื้นที่ตนเองเป็นพืชเศรษฐกิจที่บริโภคเองก็ได้ ทำเป็นผลิตภัณฑ์ขายเป็นรายได้ก็ได้ สนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถที่ทรงให้ดำเนินการ ประโยชน์ที่เกิดคือเป็นไม้เศรษฐกิจ แล้วที่สำคัญเป็นการเพิ่มป่าด้วยต้นต๋าวขึ้นมาอีกโดยชาวบ้านร่วมเป็นกำลังในการปลูกต๋าวเป็นไม้ผลพื้นถิ่นขึ่นในป่าลึก ชาวบ้านต้องดั้นด้นเข้าไปเก็บจึงได้มา แต่เมื่อมีพันธุ์เอาไปปลูกในที่ไร่ตัวเองก็ไม่ต้องไปหาถึงบนยอดดอยที่กว่าจะได้มายากลำบากเหลือเกิน ในรับรายงานบอกว่าการเพาะพันธุ์เป็นไปด้วยดี และต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะต๋าวนั้นหลังจากให้ผลแล้วก็ตาย ต๋าวกว่าจะได้ผลใช้เวลานาน6-8 ปี ผลของต๋าวก็คือลูกชิดนั่นเอง 1 ต้นได้ผลผลิตประมาณ 60 กิโลกรัม ขายได้ 1,200 บาท จากผลผลิตต้นต๋าวก็เป็นผลผลิตจากการส่งเสริมให้ปลูกชาเจียวกู่หลาน ที่ดื่มแล้วช่วยบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะบรรเทาเบาหวาน มีการส่งเสริมผลิตผักปลอดสารพิษที่ไว้บริโภคเองและจำหน่ายในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง ปลูกไม้ผล แล้วที่สำคัญมีการรณรงค์อนุรักษ์ฟื้นฟูป่า พัฒนาแหล่งน้ำสร้างความชุ่มชื้นและเป็นแหล่งอาหารโปรตีนคือการขยายพันธุ์สัตว์น้ำเช่นปลาท้องถิ่นอย่างแหล่งน้ำสำคัญในพื้นที่คือห้วยแม่สาว “หลังจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงฯเป็นต้นมา ทั้งด้านสาธารณสุขของชาวบ้านก็ดีขึ้น การประกอบอาชีพดีขึ้น ทำนาได้มากขึ้น เพราะมีการจัดระบบชลประทานดีขึ้น มีแหล่งอาหาร มีรายได้เพิ่ม คุณภาพชีวิตชาวบ้านดีขึ้น อย่างการเกษตรตอนนี้มีการส่งเสริมปลูกต้นต๋าวที่ใช้ลูกไปทำลูกชิด ปลูกกาแฟ ปลูกชาเจียวกู่หลาน ผักปลอดสารพิษ ไม้ผล ในแหล่งน้ำกรมประมงได้นำปลาไปปล่อยปีละหลายครั้งเป็นปลาพื้นถิ่นเช่นปลาพวง ปลาแก้มช้ำ ปลาตะเพียนขาว ปลาจาดแล้วก็ปลากินหญ้าประมงปล่อยปีละประมาณ 3 หมื่นตัว”เจ้าหน้าที่จากกรมประมงจังหวัดรายงานองคมนตรี นายเสกสรร มโนจา นักจัดการงานในพระองค์ชำนาญการโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ บอกกับผู้สื่อข่าวว่าต๋าวเป็นไม้พื้นถิ่นเดิมพื้นที่โครงการฯถูกบุกรุกจากชาวบ้านเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯมาก็ทรงช่วยเหลือมีพระราชดำริให้รักษาพืชถิ่นเดิมคือต๋าวให้มีการขยายพันธุ์แจกชาวบ้าน ปัจจุบันต๋าวให้ผลแล้วชาวบ้านมีรายได้เพิ่มจากต๋าวพอสมควร “แรกๆชาวบ้านไม่สนใจ เพราะใช้เวลานานเกินไปในการให้ผล แล้วไม่เชื่อด้วยว่าจะเพาะพันธุ์ได้ ตอนนี้ทำได้แล้วราคาก็พอสมวคร ต๋าวป่าเก็บยากมาก แต่เมื่อเอามาปลูกในที่ตัวเองก็เก็บง่ายขึ้น ไม่ต้องเข้าป่า ต้นต๋าวอ่อนก็กินได้ด้วย แล้วยังมีด้วงสาคูเป็นอาหารให้อีก ต๋าวส่วนใหญ่จะขึ้นตามร่องห้วย เป็นไม้ที่สามารถดูดซับน้ำได้”นายเสกสรรกล่าว(อ่านต่อ)