"ผู้ปลูก-โรงบ่มใบยาสูบ"โอดโรงงานยาสูบจ่อตัดจีเอพีลดอุดหนุน ทำเกษตรกรแบกต้นทุนนับวันเพิ่มสูงขึ้น วอนทบทวน-รอมติกก.ประเมินต้นทุน เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 12 ก.ย. ที่โรงแรมแพร่นครา อ.เมือง จว.แพร่ 5 สมาคมผู้ปลูกยาสูบและผู้บ่มใบยาสูบนัดประชุมหารือกรณีที่ประสบปัญหาใบยาแห้งราคาตกเนื่องจากโรงงานยาสูบ โดยกระทรวงการคลัง ได้ลดการสนับสุนค่าจีเอพี (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช) นายอลงกรณ์ ผาทอง นายกสมาคมผู้บ่มและผู้เพาะปลูกใบยาสูบเชียงราย-พะเยา เปิดเผยว่าได้มีการประชุม 5 สมาคมผู้บ่มและผู้เพาะปลูกใบยาสูบว่า ได้หารือเพื่อติดตามข้อเรียกร้องต่อโรงงานยาสูบเพื่อให้ทบทวนกรณีที่ปรับลดค่าจีเอพีจากผู้เพาะปลูกและโรงบ่มใบยาสูบลง เนื่องจากที่ผ่านมาโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ได้สนับสนุนค่าจีเอพี (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช) สำหรับผู้ปลูกใบยาสูบและโรงบ่มกิโลกรัมละ 26 บาทแต่ได้ปรับลดลงลงเหลือ 24 บาทและ 22 บาทตามลำดับและมีแนวโน้มจะลดลงอีก ซึ่งทางสมาคมได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ปรับขึ้นเป็น 24 บาทตามเดิมแต่ยังไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด การปรับลดค่าจีเอพีลงดังกล่าวโรงงานยาสูบให้เหตุผลว่าเนื่องจากรัฐบาลต้องการให้โรงงานงานยาสูบหักรายได้บางส่วนไปช่วยสนับสนุนผู้สูงอายุ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในการขนย้ายโรงงานยาสูบจากจากคลองเตยไปโรจนะซึ่งจริง ๆ แล้วโรงงานยาสูบมีงบประมาณในส่วนนี้แล้วไม่น่าจะกระทบอะไร นอกจากนี้ควรรอผลการศึกษาของกรรมการเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตการเพาะปลูกและบ่มใบยาสูบก่อนว่าจะเสรุปออกมาเป็นอย่างไรแต่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบจากกรรมการชุดดังกล่าว โรงงานยาสูบกลับเดินหน้าที่จะปรับลดค่าจีเอพีแล้ว ทั้งนี้โรงงานยาสูบรับซื้อใบยาแห้งแห้งกก.ละ 90 บาทรวมค่าจีเอพี 26 เป็น 116 แต่ได้ปรับลดลงค่าจีเอพีลง 2 บาทเหลือ 24 บาทเท่ากับรับซื้อ 114 บาทต่อกก.และในขณะนี้จะลดลงอีก 2 บาทเหลือ 22 ในฤดูกาลรับซื้อมกราคมปีหน้า หากลดลงจริงจะทำให้ผู้ปลูกและโรงบ่มต้องประสบปัญหาในอนาคตเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เริ่มต้นตั้งแต่การปลูกจนถึงโรงบ่มใบยาจนถึงขั้นตอนการส่งขายให้กับโรงงานยาสูบค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 100 บาท ถึง 109 บาท ต่อกก. ขึ้นอยู่กับการปลูกของเกษตรกรและโรงบ่มแต่ละแห่ง "การรับซื้อใบยาแห้งแต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 11 ล้านกิโกกรัมโดยโรงงานยาสูบจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 200 ล้านบาทและการที่ปรับลดค่าจีเอพีลงโรงงานยาสูบจะมีรายได้กลับคืนประมาณ 20 ล้านบาท แต่โรงงานยาสูบมีรายได้มากกว่าพันล้าน การมาหักค่าจีเอพีกับผู้ปลูกและผู้บ่มใบยาดังกล่าาวส่งผลกระทบต่อเกษตรกรนับหมื่นแน่นอนเนื่องจากต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน"