อาชีวะฐานวิทย์ น้อมนำศาสตราพระราชาพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม "...เทคโนโลยี นั้น โดยหลักการ คือ การทำให้สิ่ง ที่มีอยู่ให้เกิด เป็นสิ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น เทคโนโลยีที่ดีสมบูรณ์ จึงควรจะ สร้างสิ่งที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และมีความสูญเปล่าหรือความ เสียหายที่เกิดขึ้นน้อ ยที่สุด..." พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าณ อาคารใหม่ สวนอัมพรวันที่ 18 ตุลาคม 2522 "เมื่อก่อนนี้ ด้านการศึกษาคนในเมืองไทยนี่ มีความรู้ การอ่านหนังสือ เขียนหนังสือเป็น มีมาก เปรียบเทียบกับประเทศอื่นค่อนข้างจะสูงคือมีการอ่านเขียนได้เปอร์เซ็นต์สูง แต่มาปัจจุบันนี้น้อยลง เพราะว่าคนเพิ่ม แต่โรงเรียนหรือผู้ที่มีหน้าที่สอนน้อยลง เปรียบเทียบกัน อาจจะแย้งว่าสมัยนี้มีเทคโนโลยีสูง ทำให้สามารถที่จะทำกิจการโรงเรียน กิจการสั่งสอนแพร่ออกไปได้มากกว่า แต่ไม่มีอะไรแทนการอบรม ไม่มีอะไรแทนการบ่มนิสัย คือการสอนนี่มีแบ่งเป็นอบรม แล้วก็บ่มนิสัย แต่ถ้าไม่มีผู้ที่อบรม ไม่มีผู้ที่บ่มนิสัย หรือผู้ที่อบรมหรือผู้ที่บ่มนิสัย เป็นคนที่คุณภาพต่ำ ผู้ที่ได้รับอบรมบ่มนิสัยย่อมคุณภาพต่ำเหมือนกัน อาจจะยิ่งร้ายกว่า แม้จะมีเทคโนโลยีชั้นสูง เทคโนโลยีชั้นสูงนี้ คนส่วนมาก เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจ ว่ามีโทรทัศน์ มีดาวเทียม มีเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ว่าเครื่องเหล่านี้ หรือสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดูรูปร่างท่าทางเหมือนมีชีวิต แต่อาจจะไม่มีชีวิต มีสีก็มีสีได้ แต่ว่าไม่มีสัน คือสีสันนั่นรวมแล้วมันครบถ้วน และยังไม่ครบ ยังไม่มีจิตใจ อาจจะทำให้คนที่มีจิตใจอ่อนเปลี่ยนเป็นคนละคนก็ได้ แต่ว่าที่จะอบรมโดยใช้สื่อที่ก้าวหน้าที่มีเทคโนโลยีสูงนี่ยากที่สุด ที่จะอบรมบ่มนิสัยด้วยเครื่องเหล่านี้ ฉะนั้นไม่มีอะไรแทนคนสอนคน คนสอนคนเดี๋ยวนี้เขาใช้ดาวเทียม คนเดียวสอนคนได้เป็นพันเป็นหมื่นในคราวเดียว แต่ถ่ายทอดความดียาก ถ้าถ่ายทอดอาจจะต้องถ่ายทอดตัวต่อตัว ฉะนั้นการที่มีความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงในประเทศ ในสังคมไทย ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเปลี่ยนแปลงในทางดี นอกจากต้องหาวิธีให้มีการถ่ายทอดโดย อาจจะใช้ตำราหรือหลักสูตรอะไรที่ทำให้คนเป็นคน จึงขอฝากความคิดอันนี้ไว้เพราะว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ" พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันพุธที่ 4 ธันวาคม 2539 ไปเยือนจังหวัดพังงาอีกหนจากที่ไปมาหลายครั้งพอควรในช่วงสิบปีมานี่ สถานที่แห่งหนึ่งคือชุมชนบ้านบางพัฒน์ พื้นที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่9และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมชุมชนแห่งนี้ ณ หมู่ที่ 8 ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2544 และทรงปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเช่นปูจนนำไปสู่การเกิดธนาคารปูที่ชาวชุมชนรวมหัวใจดำเนินการสนองแนวพระราชดำริเพื่อฟูทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งเป็นการรวมพลังรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีงามทั้งกายภาพและจิตใจ ไปหนนี้ก็ได้เยือนบ้านบางพัฒน์มาอีก เท่าที่สังเกตชาวชุมชนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเมื่อราวสิบปีที่แล้วมาก ว่ากันชาวชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาเป็นเครื่องมือดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง ผ่านอาชีพประมงทางทะเลที่เป็นหลักมาแต่บรรพชนซื้อขายให้ร้านอาหารที่เปิดโดยคนในชุมชน วันนี้กำหนดราคาเองได้อย่างขายที่ร้านอาหารทะเลของบังหมาดที่บริหารโดยลูกสาวคุณอารีย์ ขายดีทั้งวัน ร่วมกับร้านอื่นๆอีกราวๆสี่ร้านล้วนเป็นของชาวชุมชนทั้งสิ้น ในจังหวัดพังงามีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกินกว่า 30 โครงการเช่นโครงการอาคารอัดน้ำคลองน้ำแดงพร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนบ้านกลาง-บ้านบางพัฒน์ตามพระราชดำริ การส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยมอแกน โครงการพัฒนากลุ่มอาชีพการทำผ้าบาติคบ้านในไร่ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการ 57 พรรษามหาวชิราลงกรณ์หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพชาวมอร์แกนหมู่เกาะสุรินทร์ โครงการ To Be Number One โครงการควบคุมหนอนพยาธิตามพระราชดำริ โครงการควบคุมป้องกันการขาดสารไอโอดีน โครงการฟันเทียมพระราชทาน โครงการดูแลสุขภาพนักเรียนเพื่อสนองพระราชดำริ และโครงการสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินีเป็นต้น ครั้งนี้เป็นโครงการประชุมโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ที่รวมกันทั่วประเทศมาประชุมมีทั้งสิ้น 5 แห่งซึ่งวิทยาลัยเทคนิคพังงาเป็นเจ้าภาพ เป็นโครงการสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)ที่จัดการศึกษาในระดับมัธยมตอนปลายที่รองรับนักเรียนมีความสามารถพิเศษทางการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาเชิงเทคโนโลยีเตรียมความพร้อมไปสู่นักเทคโนโลยีในอนาคต ที่การจัดการเรียนการสอนได้น้อมนำศาสตร์พระราชาคือหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นหัวใจสำคัญในการปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานเป็นหลักการไว้ ในการจัดการประชุมพบปะคราวนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมของนักเรียนอันเกิดจากการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบโปรเจ็คท์ เบสต์(project based iearning ) มีสถานศึกษาอื่นเข้าร่วมรวมถึงจากต่างประเทศประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศญี่ปุ่นรวมแล้ว 350 นำไปสู่ประสบการณ์ยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศตอบสนองความต้องการตลาดแรงงานกระทั่งอาชีพอิสระโดยการยึดรากฐานแห่งหลักการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ นางสาวเจิดฤดี ชินเวโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาในนามประธานจัดตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่าศาสตร์พระราชานั้นอาชีวะน้อมนำมาเป็นหลักในการบูรณาการอบรมบ่มนิสัยนักเรียนนักศึกษาสายอาชีวะอยู่แล้วน้อมนำประยุกต์ใช้เป็นรากฐานมุ่งถึงประโยชน์สูงสุดคือความสุขในการดำรงชีวิต เราน้อมนำมาหล่อหลอมผ่านการเรียนการลงมือปฏิบัติที่ส่วนใหญ่ต้องทำงานร่วมกัน เพราะว่าการเรียนการสอนสายอาชีวะหลักสำคัญคือเด็กต้องทำงานไปพร้อมๆกับเรียนสามัญ จึงต้องฝึกฝนความขยัน ความอดทน แล้วต้องฝึกใจไม่ให้เห็นแก่ตัวเห็นว่าทำแล้วมีรายได้ก็โลภตาโต แต่ต้องฝึกความสามัคคีมีความรักใครเมตตากัน อยู่ร่วมกันให้อภัยกันแบ่งปันกัน เป็นวิถีพอเพียงที่ต้องนำมาใช้ดำรงชีวิตในรั้ววิทยาลัยแล้วติดสำนึกไปกับตัวกับเมื่อจบแล้วก็สามารถมีความเชี่ยวชาญทั้งงานอาชีพและเชี่ยวชาญการเป็นคนดีของคนสังคม “ถ้าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแข็งแกร่งมั่นคงในสำคัญแล้วจะทำกิจการงาน การธุรกิจด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมใดก็ประสบผลสำเร็จที่นำความสุขอย่างยั่งยืนมาให้แน่นอน วันนี้สังคมเริ่มเข้าใจอาชีวะแล้ว ที่มุ่งเน้นผลิตคนดีคนมีฝีมือออกไปสู่สังคม รัฐบาลก็ให้ความสำคัญแล้วรัฐบาลเองเน้นย้ำตลอดว่าน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นพลังพัฒนาชาติบ้านเมือง อาชีวะเองยึดหลักการน้อมนำพระราชดำริมาเป็นหัวใจจัดการเรียนการการสอนการอบรมบ่นิสัยเยาวชนอยู่แล้ว”ผอ.เจิดฤดีกล่าว