กฟผ.ชวนจิตอาสาปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติที่จันทบุรี (1) 9 พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้านต่างๆ ซึ่งจะเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ได้แก่ 1.ด้านการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 2. ด้านการประดิษฐ์และนวัตกรรม 3. ด้านการดูแลรักษาป่าและน้ำ 4. ด้านความพอเพียงและการเอาชนะความยากจน 5. ด้านการดูแลชาวนา 6. ด้านการศึกษา 7. ด้านการประหยัด 8. ด้านการเสียสละและการให้ทาน และ 9. ด้านการส่งเสริมให้เป็นคนดี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับสื่อพันธมิตร จัด 4 กิจกรรม 4 เส้นทาง นำจิตอาสาคนปลายน้ำร่วมสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่9 โดยน้อมนำพระราชปณิธานด้านการดูแลรักษาป่าและน้ำ ด้านการปลูกฝังย้ำสำนึกแห่งความพอเพียง ปลูกฝังด้านการเสียสละและการรู้จักให้รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติในปี2560 ช่วงวันที่ 1-3 กันยายนที่ผ่านมาเป็นการปลูกป่าชายเลนกันที่จังหวัดจันทบุรี แต่ก็เริ่มนับหนึ่งตั้งแต่ป่าชายเลนพื้นที่อำเภอบางปะกงกันเลยทีเดียว ที่จันทบุรีพื้นที่ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ2 หมื่นไร่โดยประมาณที่ผ่านถึงปีนี้ปลูกแล้ว 6 พันไร่ เชิญชวนประชาชนเยาวชนมารว่มปลูกป่าเห็นคุณค่าความสำคัญของป่าของทรัพยากรธรรมชาติป่าไม่ว่าจะเป็นป่าบก ป่าบนเทือกเขาหรือป่าชายเลนล้วนเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าต่อสรรพชีวิตทั้งสิ้นการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเป็นการร่วมสืบสานพระราชปณิธานอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรธรรมชาติทั้งป่าทั้งน้ำเพื่อความอุดมสมบูรณ์แหล่งปัจจัยสี่ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้คนสำหรับมนุษย์ ทั้งเป็นแหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งยารักษาโรค แหล่งเสื้อเครื่องนุ่งห่ม ที่ดำเนินการปลูกป่าชายเลนที่จันทบุรีนั้นเริ่มที่ศูนย์ศึกษาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมายในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีคือบริเวณพื้นที่รัศมี แม่น้ำเวฬุ ที่เป็นอ่าวเชื่อมไปสู่ทะเลเดิมเป็นพื้นที่ป่าชายเลน แต่ในช่วงหนึ่งถูกนำไปปรับพื้นที่เป็นบ่อกุ้งจึงทำลายป่าชายเลนไปหมดอยู่ใน อำเภอขลุง 3 พันไร่และเชื่อมพื้นที่ อำเภอแหลมสิงห์โดยร่วมกับกรมทรัพยากรชายฝั่งทางทะเล คณะจิตอาสาสืบสานพระราชปณิธานทำดีถวายเป็นพระราชกุศลปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติกฟผ.ไปลงเรือที่ท่าวัดสลัก บ้านสลัก ตำบลท่าสูง อำเภอเขาสมิง ไปสู่ทะเลพื้นที่คาบเกี่ยวจังหวัดตราดกับจันทบุรีตรงอำเภอขลุง เรือวิ่งเข้าสู่คลองตาเอื้อย ตำบลบางชันเข้าไปสู่พื้นที่ปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ นายมานะ โพธิ์ทอง หัวหน้ากองพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กฟผ.ในนามกฟผ.ที่นำจิตอาสาทำดีถวายเป็นพระราชกุศลปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถรัชกาลที่9ในพื้นที่อำเภอบางปะกงคือที่เกาะนก ตำบลท่าข้าม จังหวัดฉะเชิงเทราและในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ณ แม่น้ำเวฬุ อำเภอขลุง 3 พันไร่และพื้นที่ อำเภอแหลมสิงห์โดยร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปลงเรือที่ท่าวัดสลัก บ้านสลัก ตำบลท่าสูง อำเภอเขาสมิง ไปสู่ทะเลที่เชื่อมต่อพื้นที่จังหวัดตราดกับจันทบุรีตรงอำเภอขลุง เรือวิ่งเข้าสู่คลองตาเอื้อย ตำบลบางชันพื้นที่ปลูกป่าชายเลน นายมานะบอกว่าปี2560 นี้กฟผ.น้อมนำพระราชปณิธาน9 อย่าง1. ด้านการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 2. ด้านการประดิษฐ์และนวัตกรรม 3. ด้านการดูแลรักษาป่าและน้ำ 4. ด้านความพอเพียงและการเอาชนะความยากจน 5. ด้านการดูแลชาวนา 6. ด้านการศึกษา 7. ด้านการประหยัด 8. ด้านการเสียสละและการให้ทาน และ 9. ด้านการส่งเสริมให้เป็นคนดี มาสืบสานต่อยอด เพื่อสืบสานพระราชกรณียกิจมาเป็นต้นแบบปลูกป่าป้องน้ำ สร้างฝาย บวชป่า คราวนี้มาที่ฉะเชิงเทราและจันทบุรี นำเยาวชน ประชาชน สื่อมวลชนจิตอาสาเข้าชมพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนแล้วไปปลูกป่าอีก 3 พันไร่ในพื้นที่ป่าชายเลยอำเภอขลุง จันทบุรี หัวหน้ากองพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กฟผ. บอกว่าที่เกาะนก บางปะกงปลูกป่าชายเลนสืบสานป่าจาก เป็นสร้างป่าชายเลนใหม่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเวลานี้ระบบนิเวศน์คืนสู่สภาพปกติคือดีแล้ว ที่จันทบุรีปลูกป่าชายเลน 3 พันไร่ พื้นที่รัศมีแม่น้ำเวฬุ คาบเกี่ยวอำเภอขลุงและอำเภอแหลมสิงห์ ในพื้นที่เป็นบ่อกุ้งเดิม แต่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งขอคืนจากชาวบ้านด้วยการพูดคุยทำความเข้าใจระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมที่จะได้จากป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ เพราะเดิมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อยู่ในความดูแลของราชการเพื่อร่วมกันสร้างทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนสืบสานพระราชปณิธานดูแลรักษาป่าและน้ำให้ฟื้นคืนกลับมาสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันในการดำรงชีวิตมีความสุขพออยู่พอกิน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เข้าใจและให้ความร่วมมือ คุณมานะบอกด้วยว่าการปลูกป่าทางกฟผ.ได้จ้างชาวชุมชนปลูกและดูแลรักษา 6 พัน300 บาทต่อไร่ ปลูก 1 ปี ดูแลกันไป 2ปี ครบ 3 ปีต้นสมบูรณ์ส่งคืนราชการหน่วยรับผิดชอบคือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งดูแลต่อไปทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมและผูกพันอยู่กับป่า โดยป่าชายเลนก็เป็นผลพวงมาจากโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติกฟผ.ปี2537 เช่นกันพื้นที่เริ่มนอกจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริก็เป็นที่จังหวัดระนอง ชุมพร แล้วก็มาที่เกาะนกป่าเสื่อมก็เพราะบ่อกุ้งเช่นกันโดยช่วงแรกนั้นราชการที่ดูแลคือกรมป่าไม้ก็คุยกับป่าไม้ขอพื้นที่ปลูกป่า ที่จันทบุรีพื้นที่ในเขตอำเภอขลุงนี่ปลูกมาแล้วทั้งหมด 6 พันไร่ ทางเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วมไปด้วยในฐานะเจ้าของพื้นที่กล่าวว่า จากที่ได้ร่วมกันสืบสานพระราชปณิธานเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ก่อประโยชน์สุขส่วนรวมแก่คนไทยทั้งประเทศ ข้อมูลคือกฟผ.ทำโครงการปลูกป่าเพื่อเฉลิมพระเกียรติโดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี2537 ก็กว่า 20 ปีแล้วก็สร้างความยั่งยืนให้ป่า แหล่งน้ำสนองพระมหากรุณาธิคุณที่สำคัญคือความร่วมมือของชาวบ้านแล้วก็คนไทยทั้งประเทศที่ต่างเข้าใจและเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล พื้นที่ปลูกป่ากฟผ.ได้ขออนุญาตจากเจ้าของพื้นที่อย่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ รังวัดไป อย่างที่จันทบุรีนี้พื้นที่เดิมไม่มีต้นไม้เลย เพราะชาวบ้านเอาไปทำนากุ้งก็เอาไม้ชายเลนออกหมด น้ำจากบ่อกุ้งก้อเกิดมลภาวะ แหล่งเจริญเติบโตของปลาชายทะเลชายฝั่งก็หมดไป ทางราชการก็คุยกับชาวบ้านบอกถึงเหตุผล บอกถึงความสำคัญและประโยชน์ของการมีป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์ บอกถึงการรวมพลังทำถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติเพราะทรงชี้ให้เห็นความสำคัญดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทรงทำให้เห็นมาตลอดแล้วที่ทรงทำก็เกิดประโยชน์แก่ประชาชนจริงๆ “แนวพระราชดำริชาวบ้านเชื่อแต่ขาดคนเข้าไปกระตุ้นปลูกฝัง โดยเฉพาะการชี้ให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันเกื้อกูลกันระหว่างคนกับป่า เมื่อเกิดป่าอุดมสมบูรณ์แล้วเราไม่ได้ห้ามคือร่วมกันใช้ประโยชน์ได้แต่อย่าตัดอย่าทำลาย ชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือทางราชการก็สนับสนุนส่งเสริม อย่างกฟผ.ก็เอาโครงการชีววิถีเข้าไปสนับสนุน กรมทรัพยากรทางทะเลก็ระดมสร้างจิตสำนึกความรักความหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติโดยเน้นการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง”เจ้าหน้าที่สรุป ในส่วนผู้บริหารกฟผ.คุณ ฤดีมาศ ปางพุฒิพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพัฒนาสังคม กฟผ. เน้นย้ำถึงโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติกฟผ.ดำเนินการมา20 กว่าปีผลเป็นที่น่าพอใจ ชาวบ้านชาวชุมชนเห็นคุณค่าป่าไม้ แหล่งน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติช่วยกันฟื้นฟูและช่วยกันดูแลรักษาแล้วร่วมกันใช้ประโยชน์ร่วมกันเกื้อกูลกัน ชาวบ้านในพื้นที่ปลูกบอกว่าดีใจที่กฟผ.ดูแลพวกเขาด้วย เราเน้นย้ำเรื่องปลูกป่า ปลูกที่ป่าปลูกที่ใจ “เราก็ดูแลปากท้องอย่างเช่นนำเอาโครงการชีววิถีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจา กพระราชดำริเข้าไปส่งเสริมใน 2 องค์ความรู้คือวิถีแห่งความพอเพียงแล้วก็เอาจุลินทรีย์เข้าไปใช้ในการเกษตรในทุกรูปแบบด้วยการไปสาธิตวิธีสร้างแปลงเกษตรแบบชีววิถีเช่นแปลงผัก บ่อปลา โรงเรือนเลี้ยงไก่ โรงเรือนเพาะเห็ดเป็นต้น โดยเอาไปส่งเสริมแต่ละหมู่บ้านแต่ละชุมชนเลย ทำเป็นศูนย?เรียนรู้เกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงฯก่อนจะนำเข้าไปก็ทำประชาคมกันก่อน เมื่อเป็นที่ยอมรับก็เข้าไปสนับสนุนทำให้ชาวบ้านสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้น”ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพัฒนาสังคม กฟผ.กล่าวทิ้งท้าย... อ่านต่อ...