ม.ล.ปนัดดาย้ำนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ คือศาสตร์พระราชานโยบายขับเคลื่อนหลอมเด็กอาชีวะ (1) “…โครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ ต้องมีความสอดคล้องกันดีที่ไม่ใช่เหมือนทฤษฎีใหม่ ที่ใช้ที่ดินเพียง ๑๕ ไร่ และสามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน กิจการนี้ใหญ่กว่า แต่ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสักก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน…” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ 23 ธันวาคม 2542 วันที่18 กันยายน 2560 ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ.)ลงพื้นที่ไปเยือนสถานศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรีทั้งโรงเรียนระดับมัธยมแล้วก็วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ตามข่าวฯพณฯนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาก็ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีในวันที่18 เช่นกัน ดูเหมือนจะไปเยือนพื้นที่ทำนาเห็นภาพข่าวกำลังทำกิจกรรมเกี่ยวกับทำนาในยุคสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีไทยแลนด์4.0อยู่ในแนวทางของสมาร์ทฟาร์มเมอร์ รมช.ศธ.ม.ล.ปนัดดา ดิสกุลลงพื้นที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอด่านช้าง ไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนกรรณสูตรจังหวัดสุพรรณฯแล้วก็ไปที่วิยทาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา เพื่อติดตามการเชื่อมโยงนโยบายรัฐบาลกับการศึกษา ที่เน้นย้ำน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาด้วยวิถีที่ดีงามตามครรลองแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่พอเพียงมีความสุขอย่างยั่งยืนสืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วยพระราชหฤทัยมุ่งมั่นสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่ หรือครม.สัญจรเป็นการประชุมคณะกรรมการร่วมกับภาครัฐ และเอกชนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การศึกษา นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด การเดินสายลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นการบริหารจัดการน้ำ ข้าว และท่องเที่ยว โดยเฉพาะการรับฟังความคิดเห็น เสียงประชาชน รวมทั้งทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า นโยบายจากส่วนกลางที่ลงไปยังผู้ปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยน จะช่วยลดปัญหาการบิดเบือนข้อมูลจากส่วนกลาง และช่วยบรรเทาปัญหาประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งนี้ได้รับมอบหมายภารกิจในการติดตามการดำเนินการพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่ความทันสมัย ตามนโยบายประเทศไทย 4.0โดยยึดหลักเดินตามศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พื้นที่แรกคือวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง เนื้อที่เกือบพันไร่ ประชาชนในพื้นที่อำเภอด่านช้างส่วนใหญ่ปลูกอ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลังแล้วก็ทำนา มีนักเรียนนักศึกษารวมทุกภาควิชา 597 คน มีนักเรียนโครงการเสริมวิชาแกนมัธยม 720 คนและฝึกอบรมวิชาชีพต่อ 300 คน ได้รับเกียรติบัตรสถานศึกษารางวัลพระราชทานระดับอาชีวศึกษาขนาดกลางปี2555 นายถาวร ทิพวรรณ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรีกล่าวรายสรุปได้ว่าปัจจุบันวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช)สาขาเกษตรศาสตร์และบัญชีระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)สาขาพืชไร่ สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาสัตวศาสตร์แล้วเปิดปริญญาตรีในสาขาวิชาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ “ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาลัยดำเนินการกิจกรรมสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลทั้งในรูปของศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนการศึกษาโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมด้วย”นายถาวร ทิพวรรณกล่าว จากนั้นม.ล.ปนัดดา ดิสกุลนรมช.ศธ.กล่าวกับทุกภาคส่วนที่มารวมกันในห้องประชุมและได้มอบนโยบายแก่สถานศึกษาสังกัดอาชีวะคือวิทยาลัยเกษตรฯสุพรรณบุรีเป็นเบื้องต้นคือขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม ให้ผู้บริหารทุกคนทุกระดับช่วยสนับสนุนนโยบายการพัฒนาโรงเรียนหรือสถานศึกษาคุณธรรมตามแนวพระราชดำริให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และนำหลักคิดที่สำคัญในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณ 5 ข้อคือ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบแล้วก็อุดมการณ์คุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นหลักการตามแนวพระราชดำริเน้นย้ำในการใช้เป็นเครื่องมือดำเนินชีวิตเพื่อการอยู่กันอย่างสุขสงบ นำไปถ่ายทอดและขยายผลให้เกิดเป็นหลักคิดและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแก่ลูกหลานเยาวชนไทยผ่านศครูอาจารย์และนักเรียนนักศึกษาทั้งสังัดอาชีวะและสังกัดหน่วยงานอื่นๆเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่9 สอดคล้องกับการศึกษาที่ต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน คือมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงมีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้และเป็นพลเมืองดี นโยบายถัดมาคือการขับเคลื่อนขยายผลโครงการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ยกระดับศูนย์การเรียนรู้และโครงการทฤษฎีใหม่ฯสนองพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่9 เพื่อพัฒนาการเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน แล้วยังสามารถถ่ายทอดสู่คนอื่นสู่เยาวชนในโรงเรียนเครือข่ายประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งที่เป็นนักศึกษาเกษตรและรวมถึงเกษตรกรตามชุมชนท้องถิ่นด้วย นโยบายต่อไปที่ม.ล.ปนัดดา ดิสกุล รมช.ศธ.ให้กับสถานศึกษาและวิทยาลัยเกษตรฯสุพรรณบุรีคือการขับเคลื่อนงานวิจัยนวัตกรรม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ในสถานศึกษา ทั้งด้านอุตสาหกรรม พณิชยกรรม เฉพาะอย่างยิ่งด้านเกษตรกรรม ประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การพัฒนาการเกษตรเพื่อผลิตอาหารที่มีมาตรฐานและปลอดภัยแก่ผู้บริโภคคือการเน้นย้ำปลอดสารพิษ (อ่านต่อ)