ม.ล.ปนัดดา ย้ำนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ คือศาสตร์พระราชานโยบายขับเคลื่อนหลอมเด็กอาชีวะ (2) จากห้องประชุมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี อำเภอด่านช้างหลังฟังรายงานและให้นโยบายแล้วม.ล.ปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกรทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ.)ไปได้เยี่ยมชมพื้นที่เป็นกิจกรรมต้นแบบการเรียนรู้ลงมือทำจริงในด้านอาชีพต่างๆที่จัดเป็นหลักสูตรเกี่ยวกับการเกษตรที่ทางวิทยาลัยจัดอบรมบ่มนิสัยหล่อหลอมนักเรียนนักศึกษาผ่านกิจกรรมลงมือทำจริงดังกล่าว เฉพาะอย่างยิ่งผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาการเกษตรกรรมเช่นการทำนา การประมง การปศุสัตว์เป็นต้นอบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนมีคุณธรรมจริยธรรมผ่านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านหลักทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รมช.ศธ.เยี่ยมชมแปลงเกษตรกิจกรรมโครงการชีววิถีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯที่วิทยาลัยร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ดำเนินการซึ่งทั้งงบประมาณและองค์ความรู้ทางกฟผ.ให้ความสะดวก เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้พื้นที่จริงของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนรอบๆสถานศึกษาได้มาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้แล้วนำแนวทางไปปรับประยุกต์ใช้ ที่แปลงโครงการ “ชีววิถี”ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯนอกจากครูอาจารย์นักเรียนนักศึกษาคอยอธิบายแล้วนายมานะ โพธิ์ทอง หัวหน้ากองพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมกฟผ.มาคอยให้การต้อนรับคณะรัฐมนตรีเพื่อช่วยขยายความโครงการดังกล่าวด้วย โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยศาสตร์พระราชา “…การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2539 โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงฯดำเนินการด้วยการเสริมสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจในการเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างธรรมชาติและการดำรงชีวิตของมนุษย์ รู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาพัฒนาเพื่อใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องโดยเน้นการปลอดสารพิษเป็นหลักสำคัญ ในเวลาเดียวกันก็พัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์เป็นมรดกของมนุษยชาติสืบไป ไม่ก่อหนี้สินผสมผสานกับการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงฯ คำนึงถึงการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โครงการนี้เมื่อทำต่อเนื่องจึงนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในท้ายที่สุด โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริแก่ประชาชนคนไทย เฉพาะอย่างยิ่งการปลูกฝังเรียนรู้ตั้งแต่เยาวชน ด้วยวิธีการดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกิน ที่สุดแล้วจะนำสู่การพึ่งพาตนเองได้ด้วยการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ ตลอดจนสนองตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.มีความมุ่งมั่นดำเนินเพื่อให้เข้าถึงประชาชนเพื่อสนองพระราชดำริ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง น้อมนำ มาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมวิถีชีวิตของคนไทย ให้รู้จักพอเพียงพออยู่พอกิน พึ่งตนเองได้ให้ความรู้ ความเข้าใจ ในการทำการเกษตร โดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ทำลายระบบนิเวศเสริมสร้างจิตสำนึกให้เกิดการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืนส่งเสริมสุขภาพอนามัย ทั้งเกษตรกรผู้ผลิต และผู้บริโภคอันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีส่งเสริมให้ทำเกษตรกรรมธรรมชาติ ลดต้นทุนจากการใช้สารเคมี ซึ่งจะทำให้ประหยัดเงินตราในการนำเข้าสารเคมีและยาฆ่าแมลงจากต่างประเทศ สนับสนุนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สืบสานพระราชปณิธาน 9 ด้าน1.ด้านการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 2. ด้านการประดิษฐ์และนวัตกรรม 3. ด้านการดูแลรักษาป่าและน้ำ 4. ด้านความพอเพียงและการเอาชนะความยากจน 5. ด้านการดูแลชาวนา 6. ด้านการศึกษา 7. ด้านการประหยัด 8. ด้านการเสียสละและการให้ทาน และ 9. ด้านการส่งเสริมให้เป็นคนดีส่งเสริมชุมชน เยาวชนและประชาชนคนไทยทั้งประเทศเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสืบไป (อ่านต่อ)