น้อมนำศาสตร์พระราชารากฐานองค์ความรู้ นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงอาหารสัตว์น้ำบริการชุมชน (4) “...เทคโนโลยี นั้น โดยหลักการ คือ การทำให้สิ่ง ที่มีอยู่ให้เกิด เป็นสิ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น เทคโนโลยีที่ดีสมบูรณ์ จึงควรจะ สร้างสิ่งที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และมีความสูญเปล่าหรือความ เสียหายที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด..." ความตอนหนึ่ง ของพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าณ อาคารใหม่ สวนอัมพรวันที่ 18 ตุลาคม 2522 ม.ล.ปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ.) ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่อำเภอด่านช้าง หลังให้นโยบายคือย้ำขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม ให้ผู้บริหารทุกคนทุกระดับช่วยสนับสนุนนโยบายการพัฒนาโรงเรียนหรือสถานศึกษาคุณธรรมตามแนวพระราชดำริให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน และนำหลักคิดที่สำคัญในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 5 ข้อคือ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบแล้วก็อุดมการณ์คุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นหลักการตามแนวพระราชดำริเน้นย้ำในการใช้เป็นเครื่องมือดำเนินชีวิตเพื่อการอยู่กันอย่างสุขสงบ นำไปถ่ายทอดและขยายผลให้เกิดเป็นหลักคิดและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแก่ลูกหลานเยาวชนไทยผ่านศครูอาจารย์และนักเรียนนักศึกษาทั้งสังัดอาชีวะและสังกัดหน่วยงานอื่นๆเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 สอดคล้องกับการศึกษาที่ต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน คือมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงมีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้และเป็นพลเมืองดี นโยบายถัดมาคือการขับเคลื่อนขยายผลโครงการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ยกระดับศูนย์การเรียนรู้และโครงการทฤษฎีใหม่ฯสนองพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อพัฒนาการเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน แล้วยังสามารถถ่ายทอดสู่คนอื่นสู่เยาวชนในโรงเรียนเครือข่ายประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งที่เป็นนักศึกษาเกษตรและรวมถึงเกษตรกรตามชุมชนท้องถิ่นด้วย ม.ล.ปนัดดา ดิสกุล รมช.ศธ.ให้ นโยบายต่อไปที่ไม่อาจปฏิเสธได้กับสถานศึกษาและวิทยาลัยเกษตรฯสุพรรณบุรีคือการขับเคลื่อนงานวิจัยนวัตกรรม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ในสถานศึกษา ทั้งด้านอุตสาหกรรม พณิชยกรรม เฉพาะอย่างยิ่งด้านเกษตรกรรม ประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การพัฒนาการเกษตรเพื่อผลิตอาหารที่มีมาตรฐานและปลอดภัยแก่ผู้บริโภคคือการเน้นย้ำปลอดสารพิษอันต่อยอดมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯหรือศาสตร์พระราชา ออกจากห้องประชุมแล้วรมช.ศธ.ม.ล.ปนัดดาได้เยี่ยมชมพื้นที่ของวิทยาลัยเกษตรฯสุพรรณบุรีจุดแรกเยี่ยมชมพื้นที่เกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ด้วยวิถีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริคือโครงการชีววิถีแล้วไปเยี่ยมชมโครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีชีวิต(live feed) ที่มีผลงานการวิจัยด้านการเพาะเลี้ยง ของแผนกวิชาประมง เป็นแหล่งลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนเพื่อความรู้ความเชี่ยวชาญนำไปสร้างอาชีพได้และพร้อมนำบริการชุมชนได้ด้วย รมช.ศธ.ได้รับฟังข้อมูลจากนักศึกษาว่าแผนกวิชาประมงได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ที่ต่อยอดเป็นนวัตกรรม ผ่านหลักคิดตามแนวพระราชดำริศาสตร์พระราชาสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพ และแก้ปัญหาในอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ ผลงานประกอบด้วย การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า การผลิตไข่ไรแดงสยาม กุ้งพิ้งค์สุพรรณ (กุ้งสวยงามพันธุ์ไทย) และกุ้งชฎา ทั้งนี้ด้วยเพราะการฝึกหัดลงมือปฏิบัติโดยน้อมนำหลักการดำเนินชีวิตคือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯตามที่ครูอาจารย์นำมาเน้นย้ำ ตั้งแต่ความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่ประมาท ไม่มุ่งอยู่ที่ความโลภ ช่วยเหลือเกื้อกูลด้วยความรักความสามัคคีกัน นำไปสู่การคิดค้นจนเกิดเป็นนวัตกรรมที่เหมาะสมและไม่ฟุ่มเฟือยแต่เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักศาสตร์พระราชา (อ่านต่อฉบับหน้า)