“เยาวชนสานต่อพระราชปณิธาน ผ่านผลประกวดงานสืบสานพระราชดำริ (จบ) ต่อมาเป็นทีมรามฯรักษ์ป่า 1 จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนาชนะด้วยโครงการนวัตกรรมรูปแบบใหม่กับ “ฝายกั้นไฟ” ที่ยั่งยืน โดยทางทีมบอกรู้สึกดีใจมากที่เราได้นำเอาโครงการของเรามาแสดงเป็นผลงานให้ทางสำนักงานกปร.ชมซึ่งแนวคิดโครงการเราทำเพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรผืนป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เลยเล็งเห็นว่าการเกิดไฟป่าแต่ละปี เกิดขึ้นบ่อยมากทำให้เกิดการสูญเสียเป็นวงกว้าง จึงเกิดแนวคิดที่จะทำฝายกั้นไฟ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่พวกเราได้ทดลองทำจริง โดยแนวคิดนี้เราก็ได้ทำเอาหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับประยุกต์ใช้กับโครงการเรา จนกระทั้งโครงการเราประสบผลความสำเร็จอย่างมากมาย ทางทีมบอกว่าเป็นการบูรณาการระหว่างการทำแนวกั้นไฟบวกกับการทำฝายชะลอน้ำมาประยุกต์เข้าด้วยกัน เพราะว่าตัวนี้จะเป็นการป้องกันด่านแรก ปะทะการโหมรุนแรงของไฟป่า ให้ชะลอความรุนแรงลง เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดับไฟได้ทันเวลา พื้นที่หรือชุมชนที่กำลังประสบปัญหาไฟป่า ก็สามารถนำเอานวัฒกรรมฝายของเราไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองได้ เพราะว่าขนาดตัวของฝายก็ดีหรือว่าวัสดุอุปกรณ์การทำก็ดี ชาวบ้านสามารถหาได้จากพื้นที่ของตนเอง เราได้ขยายต่อยอดการทำอยู่ที่วนอุทยานห้วยคต จะขยายโครงการต่อยอดไปเรื่อยๆ ยังหมู่บ้านใกล้หรือชุมชนใกล้เคียง โครงการระบบสูบน้ำแบบชั้นบันได พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นผลงานชนะเลิศของทีมต้นกล้าของพ่อหลวงจากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จังหวัดปทุมธานีที่เผยความรู้สึกว่าโครงการระบบสูบน้ำแบบนาขั้นบันได เพื่อช่วยเหลือชุมชนบ้านหินลาด ที่อยู่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นโครงการที่ทีมทำระบบสูบน้ำแบบขั้นบันไดที่มีระยะทางจากหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร ห่างจากแม่น้ำแม่ตื่น และชุมชนจากหมู่บ้านหินลาด ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกล เพราะฉะนั้นโครงการของเราจะทำระบบสูบน้ำให้ชาวบ้านแบบขั้นบันได เราจะแบ่งเป็น 2 ขั้น เราจะตั้งระบบสูบน้ำไว้ 2 ขั้นที่ระดับความสูง 60 เมตรก็คือ 1-30 เมตรแรกเราจะตั้งไว้ในน้ำ เพื่อที่จะสูบน้ำขึ้นไป ต่อไปอีก 30 เมตรเราก็จะตั้งไว้อีกที่หนึ่งพร้อมกับแผงโซล่าเซลล์ จำนวนประมาณ 9 แพง จากนั้นก็จะมีอีกจุดหนึ่ง แต่จุดสุดท้ายก็คือจุดสูงที่สุดของหมู่บ้าน ก็คือพื้นที่ยอดเขาที่สูงที่สุด เพื่อที่จะใช้แรงโน้มถ่วงของโลกปล่อยน้ำลงไปสู่หมู่บ้านโดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องยนต์อะไรเลย “ชุมชนก็ให้ความร่วมมือกับพวกเราเป็นอย่างมาก เพราะว่าพวกเราได้ลงไปที่ชุมชนนั้นแล้ว เราก็ได้ร่วมกันสร้างกิจกรรมให้ชุมชนไว้ใจพวกเรา รู้สึกถึงความเป็นมิตรกับพวกเราเพื่อที่พวกเขาจะได้ไว้ใจพวกเราให้พวกเราไปทำให้เขา แล้ว ณ ปัจจุบันนี้ ยังรอคอยการช่วยเหลือจากพวกเราอยู่ เป้าหมายที่ได้อย่างแรกเลยเราจะสามารถช่วยอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และก็ช่วยปลูกจิตสำนึกให้กับทุกคนที่เข้าไปช่วยได้รู้จักการให้ รู้จักการสร้างจิตอาสา และก็ได้รู้จักการสานต่องานที่พ่อทำค่ะ แนวพระราชดำริที่เอามาใช้ก็คือ การใช้น้ำ พระราชดำริของพระองค์ท่าน น้ำคือชีวิต ถ้ามีประชาชนแล้วไม่มีน้ำ ประชาชนอยู่ไม่ได้”ทีมนี้สรุป ทีมสิงห์น้ำเงินแห่งกรมสงขลานครินทร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ส่งโครงการเยาวชนรุ่นใหม่สืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน “…พวกเรามาโครงการนี้ รอบแรกก็คือมาเป็นค่าย RDPB CAMP 7 และหลังจากค่ายก็ส่งประกวด โครงการเยาวชนรุ่นใหม่สืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสืบสานแหล่งอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน โครงการนี้เริ่มแรกก็คือ จากการที่ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลบริเวณตำบลแหลมโพธิ์รอบอ่าวปัตตานีลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการใช้เครื่องมือหาปลาไม่ถูกวิธีของชาวบ้าน ดังนั้นทางกลุ่มจึงเห็นความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน มาใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยนำหลักการทรงงานตามแนวพระราชดำริ มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมขน แล้วก็โครงการของเราจะทำเป็นกระบวนการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทำเป็นลำดับขั้น ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในส่วนของต้นน้ำ ก็คือ ภูมิปัญญา แล้วก็ทรัพยากรธรรมชาติ อาชีพชาวประมงพื้นบ้าน อันนี้เป็นสิ่งที่ชุมชนมีดั้งเดิม ก็ในส่วนของกระบวนการ ก็คือ เราจะแบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม คือ 1. การสร้างความเข้าใจ 2. การปลูกป่าชายเลน 3.การเล่าเรื่องสร้างฮีโร่ และ 4. การทำกั้งซอและการทำบ้านปลา ใน 4 กระบวนการนี้ เราจะนำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้กับโครงการของเราทั้งหมด คือ ระเบิดจากข้างใน เป็นการทำให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง ผ่านกิจกรรมการสร้างความเข้าใจและเล่าเรื่องสร่างฮีโร่ และหลักการข้อที่ 2 คือ การแก้ปัญหาที่จุดเล็ก มันเกิดจากการที่ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมลงทำให้อาชีพของชาวบ้านลดลงอีกด้วย ดังนั้นเราแก้ปัญหาที่จุดเล็ก โดยการที่เราทำบ้านปลา ทำให้ปลามาอาศัยบริเวณชายฝั่ง ทำให้อาชีพของชาวประมงพื้นบ้านเกิดขึ้นอีกอ้วย และหลักการข้อที่ 3 คือ ไม่ติดตำรา คือการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน จากการสังเกตุธรรมชาติมาใช้และนำมาประยุกต์ใช้กับอาชีพของชาวประมงพื้นบ้าน และหลักการข้อที่ 4 คือ ประหยัด เรียบง่าย และเกิดประโยชน์สุงสุด หลักการข้อที่ 5 คือ ทำให้ง่าย สองหลักการนี้เราจะนำมาประยุกต์ใช้กับ 2 กิจกรรม ก็คือ การปลูกป่าชายเลนและการทำกั้งซอ ซึ่งการทำกั้งซอนี้เป็นการใช้วุสดุที่อยู่ในท้องถิ่น การการทำบ้านปลา ทำให้เกิดประโยชน์ โดยที่ไม่ต้องสร้างฝายขึ้นมาแล้วยังเกิดประโยชน์กับชาวบ้านอีกด้วย และหลักการข้องที่ 6 คือ ประโยชน์ต่อส่วนร่วม คือ เราจะสร้างผ่านกิจกรรมการปลูกป่าชายเลน ในส่วนของการปลูกป่าชายเลน นอกจากจะเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะแล้วยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำให้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย และหลักการข้อที่ 7 คือการปลูกป่าในใจคน เราจะสร้างผ่านกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรม ก็คือ 1.การสร้างความเข้าใจ 2.การเล่าเรื่องสร้างฮีโร่ และ3. คือการปลูกป่าชายเลน ซึ่งเราจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และหลักการข้อที่ 8 ก็คือ การพึ่งพาตนเอง คือ เมื่อชาวบ้านในพื้นที่สามารถสร้างเครื่องมือหาปลาด้วยตนเองแล้ว เขาจะสามารถสร้างแหล่งอาหารและรายได้ และพึ่งพาตนเองได้ โดยที่ไม่ต้องใช้งบประมาณมากนัก และหลักการข้อที่ 9 คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เราจะนำมาประยุกต์ใช้ทั้ง 4 กิจกรรมอย่างที่กล่าวมา”ทีมสิงห์น้ำเงินแห่งกรมสงขลานครินทร์ บอก ทีมสุดท้ายที่ชนะ GenA จิตอาสารำไพพรรณี ากมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรีกับโครงการสู้วิกฤตขยะชุมชนน้ำเค็มดินเค็ม สู่ภูมิทัศน์กินได้ตามวิถีพอเพียง ทีมนี้บอกว่า โครงการของเราก็ได้เข้าร่วมค่าย RDPB CAMP ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเชียงใหม่ แล้วได้มีการองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าค่ายมาต่อยอดพัฒนาโครงการของเราในเรื่องของการเพาะเห็ดนางฟ้า แล้วก็การทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชน มีอาชีพเสริมและมีรายได้มากขึ้นและลดรายจ่ายในครัวเรือน ซึ่งโครงการของเราเริ่มแรกเราจะมีปัญหาเรื่องขยะก่อน ซึ่งเราเล็งเห็นปัญหานี้มากที่สุด แล้วก็เรื่องเกี่ยวกับดินเค็ม น้ำเค็ม ก็มีการแก้ไขปัญหา จนมาสู่ชุมชน มีการรวมกลุ่ม มีการจัดทำเวทีชุมชน ทราบถึงปัญหาและข้อมูลเชิงลึกในชุมชน จากนั้นเราก็วิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้ มาแก้ไขปัญหาว่าเราจะทำอย่างไร ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและยั่งยืนและเกิดการพัฒนาต่อไป