วันนี้ (12 พ.ย.60) พล.ต.อ.ดร.วิระชัย ทรงเมตตา รรท.รอง ผบ.ตร. ผู้รับผิดชอบงานด้านกฎหมาย พร้อมด้วย พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวษยะ รรท.ผบช.สกม. พล.ต.ต.พล.ต.ตทัตธงสักก์ ภู่พันธัชสีห์ ผบก.ภ.จว.สตูล พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง รรท.ผบก.ทท..3 และ พ.ต.อ. นราเดช กลมทุกสิ่ง รรท.ผบก.สก. และได้สนธิกำลังกับหน่วยกองพันทหารราบท ี่2 กรมทหารราบที่ 5 นายพันธ์พงษ์ คงแก้ว เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา 095 038 6881 ลงพื้นที่วนอุทยานเกาะหลีเป๊ะ เพื่อเอาคืนพื้นที่วนอุทยาน ซึ่งตำรวจได้อนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้เพื่อสร้างอาคารที่พักและที่ทำการตำรวจเป็นจำนวน 10 ไร่ แต่ได้ถูกนายทุนผู้มีอิทธิพลบุกรุกยึดถือครอบครอง สร้างรีสอร์ทหรูเต็มพื้นที่ เหลือพื้นที่ใช้สอยเป็นอาคารสถานีตำรวจเพียงแค่ครึ่งไร่ หนำซ้ำยังกล่าวหาว่าตำรวจบุกรุกที่ดินของตนเอง และฟ้องขับไล่ให้ตำรวจให้รื้นถอนอาคารบ้านพักและตัวโรงพักออกจากพื้นที่ โดยเมื่อ 26 ธ.ค.55 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่พักอาศัย ว่าโจทก์มีชื่อในที่ดินพิพาท ออกโดยผู้ว่าและที่ดินจังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอน เชื่อว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและทาง สภ.หลีเป๊ะ ได้ทำการรื้อถอนบ้านพักออกไปตามคำพิพากษา ยังคงเหลืออยู่แต่เพียงตัวอาคารที่ทำการโรงพัก เกาะหลีเป๊ะนั้น เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งในอดีตนับเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ และมีความยากลำบากในการเดินทาง เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ห่างไกล กลางทะเลอันดามัน คาบสมุทรอินเดีย หากเดินทางด้วยเรือเร็ว ต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง จึงไม่มีผู้ใดเข้าใช้ทำประโยชน์หรือครอบครอง จนเมื่อ พ.ศ.2482 ทางราชการได้มี พรก.กำหนดให้เป็นที่หวงห้าม เพื่อประโยชน์แก่กรมราชทัณฑ์ โดยได้มีการก่อสร้างเรือนจำเพื่อใช้คุมขังนักโทษอุกฉกัญจ์ที่มีอัตราโทษสูงเพื่อป้องกันการหลบหนี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2517 ได้มีการถอนสถาพที่ดินดังกล่าวออกจากการเป็นเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์แก่ราชทัณฑ์ และประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติในวันเดียวกัน ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 20 เม.ย.17 ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ในขณะนั้น กระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2532 กรมตำรวจในสมัยนั้นได้มีหนังสือถึง รมต.เกษตรและสหกรณ์ เลขที่ สต 0018(กพ.2) / 2409 ลง 19 มิ.ย.32 เพื่อขอใช้ประโยชน์ในเขตที่ดินอุทยานแห่งชาติตะรุเตา บนเกาะหลีเป๊ะ บนที่ดิน ม.7 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล จำนวน 15 ไร่ เพื่อใช้่ก่อสร้างตาม ซึ่งต่อมาได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ได้จำนวน 10 ไร่ โดยให้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติงานและที่พักของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2) ศูนย์ประสานงานช่วยเหลืออุบัติภัยทางทะเล 3) เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรมหลักสูตรการใช้เรือกู้ภัย การกู้ภัยทางทะเล และหลักสูตรอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยของสาธารณะชนทางทะเล 4) เป็นการเสริมความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากเป็นพื้นที่ชายแดน มีเขตติดต่อกับต่างประเทศ ​การสื่อสารและคมนาคมไม่สะดวก 5) เพื่อเป็นการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สวนงามไว้ให้คงอยู่ในสภาพดีสืบไป 6) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชาวไทยและชาวต่างประเทศ 7) เพื่อเป็นศูนย์บริการและช่วยเหลือประชาชน 8) เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ ปชช / ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งต่อมา กรมตำรวจได้จัดสร้างอาคารสถานีตำรวจและอาคารที่พักเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยงบประมาณการก่อสร้าง จำนวน 1,200,000 บาทในสมัยนั้น และจัดให้มีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร 2 นาย และนายตำรวจชั้นประทวน จำนวน 20 นาย อยู่ ปฏิบัติงาน และได้รับเกียรติจาก พล.ต.อ.เภา สารสิน อธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น เดินทางมาทำพิธีเปิด แต่ภายหลังได้มีนายทุนผู้มีอิทธิพลบุกรุกเข้ามาก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบนพื้นที่ที่ตำรวจได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยอ้างสิทธิการถือครองที่ดินตามเอกสาร สน.3 และ สค.1 เหนือที่ดินผืนดังกล่าว จนปัจจุบันพื้นที่ ต่อมาเมื่อ 6 ธ.ค.56 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้อง จนกระทั่ง เมื่อ 8 ส.ค.59 ศาลฎีกามีคำพิพากษาที่ 5697/2559 ลง 8 ส.ค. 59 พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องโจทก์ เหตุผลว่า อุทยานแห่งชาติตะรุเตาอนุญาตให้จำเลยใช้ที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตาก่อสร้างอาคารเรือนพักเจ้าพนักงานตำรวจสายตรวจรักษาความปลอดภัยทางทะเลและเรือนพักอาศัยของผู้บังคับบัญชาบนเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตาโดยสุจริต การที่โจทก์มีเอกสารสิทธิหนังสือรับรองการทำประโยชน์ยึดถือไว้ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าโจก์มีสิทธิหนังสือรับรองการทำประโยชน์ถือไว้ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่ากรมป่าไม้ และข้อเท็จจริงยังไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากรมป่าไม้ ทั้งคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือกรมป่าไม้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์