การยกระดับสินค้าพื้นบ้านขึ้นสู่ตลาดบน พร้อมสนับสนุนส่งออกไปต่างประเทศ เป็นนโยบายอีกนโยบายหนึ่งของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด ซึ่งในการที่จะยกระดับสินค้าพื้นบ้านได้นั้น จะต้องทำให้สินค้าค้ามีคุณภาพ และปลอดภัย ต่อผู้บริโภค ทั้งนี้หน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง คือ “บริษัท ปฎิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ “แล็บประชารัฐ” ซึ่งถือหุ้นโดยกระทรวงการคลัง 49% และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) 51% “สุรชัย กำพลานนท์วัฒน์” กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แล็บประชารัฐ กล่าวว่า ได้จัดงาน“ดีเดย์ SMEs ยกพลเข้าแล็บ” ซึ่งถือเป็นกิจกรรมส่งท้ายปีของโครงการคูปองตรวจวิเคราะห์มาตรฐานสินค้าและผลิตภัณฑ์ มูลค่า 5,000 บาท ระยะที่ 2 ที่ได้รับการสนับสนุนสสว.ให้กับผู้ประกอบการ กลุ่ม SMEs, OTOP, วิสาหกิจชุมชน, เกษตรกร รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการเครื่องสำอาง ให้ได้รับการยกระดับมาตรฐานสินค้า ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมคูปองแล็บประชารัฐ มูลค่า 5,000 บาท ให้ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนจองสิทธิ์ผ่านทาง www.centrallabthai.com ส่วนหลักจากกิจกรรมผู้ประกอบการสนใจที่จะตรวจแล็ปประชารัฐจะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 5,000 บาท และสามารถที่ผลการตรวยสอบภายใน 24 ชั่วโมง สำหรับสินค้าส่งออก และสินค้าทั่วไปประมาณ7 วัน นอกจากนี้มีกิจกรรมฟรี 4 อย่าง ได้แก่ ตรวจแล็บฟรีด้วยคูปองแล็บประชารัฐ, บริการคำปรึกษาการขอเลข อย. จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, เรียนรู้เทคนิคการขายของออนไลน์อย่างไรให้ปังโดยผู้บริหารเว็บไซต์ Beautynista, บริการให้คำแนะนำปรึกษาทางธุรกิจจาก สสว. และพิเศษสุดกับสินเชื่อ SMEs ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Development Bank) สุรชัย กล่าวว่า สำหรับโครงการคูปองแล็บประชารัฐจะให้บริการรายการตรวจ 4 กลุ่ม ได้แก่ รายการตรวจวัดสารปนเปื้อน, รายการตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานภาครัฐ, รายการตรวจฉลากโภชนาการ และที่ปรึกษาด้านมาตรฐานสถานที่ผลิตอาหาร (GMP) เพื่อช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า เพิ่มโอกาสในการแข่งขันของผู้ประกอบการ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในยุคเศรษฐกิจ 4.0 รองรับการเติบโตทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออก ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ ตลอดจนความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภค “แล็บประชารัฐแนะนำให้เอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนให้ความสำคัญกับการทำสินค้าให้มีคุณภาพเป็นอันดับแรก เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การยกระดับผู้ประกอบการมีความครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้เป็นอย่างดี โดยการคูปองตรวจวิเคราะห์ในระยะที่ 1 และ2 มีผู้ประกอบรายเล็กรวมทั้งสิ้น 6,000 ราย ส่วนระยะที่ 3 คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และมีผู้ประกอบการรายเล็กเพิ่มขึ้นอีก10,000 ราย จากปัจจุบันมีผู้ประกอบการรายเล็กทั่วประเทศประมาณ 2 ล้านราย ” นายสุรชัยกล่าว ทั้งนี้ “แล็บประชารัฐ” เป็นแล็บเดียวในประเทศไทย และ 1 ใน 5 ของเอเชีย ที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบความชำนาญการตรวจปริมาณสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ของแล็บกลางสหภาพยุโรป (EURL) โดยมีทั้งหมด 6 สาขา ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร กรุงเทพฯ และสงขลา ในวงเงินงบประมาณทั้งหมด 1,950 ล้านบาท ซึ่งเปิดดำเนินการมากกว่า 13 ปี มีเครื่องมือ และระบบมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 มากกว่า 1,000 รายการทดสอบ รองรับการทดสอบได้มากกว่า 400,000 ตัวอย่างต่อปี