เพราะการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เป็นผู้เริ่มตั้งคำถาม และออกค้นคว้าหาข้อมูลจากสิ่งต่างๆ รอบตัว “ศูนย์การค้า” จึงกลายเป็นจุดนัดพบที่สำคัญ สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ ทำการบ้าน ค้นหาไอเดียใหม่ๆ เช่นเดียวกับ ศูนย์การค้า เดอะสตรีท ที่ได้แชร์พื้นที่ส่วนกลาง สร้างเป็น “Co-Learning Space (โค เลิร์นนิ่ง สเปซ)” ให้นักเรียนนักศึกษามาใช้พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันได้ 24 ชม. พงษ์ศักดิ์ นันตวรรณกุล พงษ์ศักดิ์ นันตวรรณกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ สตรีท รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา กล่าวว่า พื้นที่ Co-Learning Space (โค เลิร์นนิ่ง สเปซ) เกิดขึ้นจากการมองเห็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่มาใช้บริการในศูนย์การค้า และมาใช้พื้นที่ต่างๆ เพื่อท่องตำรา ทำงานกลุ่ม และติวหนังสือ ทางศูนย์การค้าจึงได้แชร์พื้นที่ส่วนกลางเป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้นี้ขึ้นมา
“Co-Leaning Space” ของศูนย์การค้า เดอะสตรีท รัชดา มีพื้นที่ประมาณ 400 ตร.ม. แบ่งออกเป็น 3 โซน
ได้แก่ โซนที่ 1 บริเวณชั้น B มีการจัดโต๊ะ เก้าอี้ ปลั๊กไฟ ใกล้ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ที่เปิดให้บริการ 24 ชม. โซนที่ 2 บริเวณ ชั้น 1 ด้านข้าง COLLECTIVE จัดแบ่งเป็นห้องสี่เหลี่ยม จำนวน 3 ห้อง มีโต๊ะขนาดใหญ่ เก้าอี้ และกระดาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้มาติวหนังสือ หรือทำงานกลุ่มกัน และโซน 3 บริเวณชั้น 4 โซนร้านอาหาร จัดโต๊ะเก้าอี้เช่นเดียวกับชั้น B พร้อมมีบริการ wifi” นิว นิว - สุชญา รุ่งเรือง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการรัชดา เล่าว่า รูปแบบการเรียนในปัจจุบันเน้นการทำรายงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนได้ช่วยกันระดมสมอง จึงจำเป็นต้องใช้เวลาหลังเลิกเรียนในการทำงาน โดยสถานที่ที่มักจะไปนั่งทำงานกับเพื่อนๆ เป็นประจำคือ ศูนย์การค้าใกล้โรงเรียน อย่างเดอะสตรีท รัชดา เพราะมีพื้นที่สะดวกสบาย มีปลั๊กไฟให้ต่อคอมพิวเตอร์ มีอาหารให้เลือกรับประทานมากมาย และหากขาดเหลืออุปกรณ์การทำรายงานอะไรก็สามารถหาซื้อได้ทันที ที่สำคัญคือ แอร์เย็นสบายไม่มียุง ปลอดภัย สามารถคุยกัน หารือกันได้ เพราะบางครั้งทำงานที่ห้องสมุดของโรงเรียนจะคุยกันเสียงดังไม่ได้ พส ส่วนรุ่นพี่อย่าง พส - พชร อีมโชคชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะการจัดการนวัตกรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เล่าว่า ปกติแล้วจะมานั่งทำงานกับเพื่อนๆ ที่ศูนย์การค้าเป็นประจำ หากทำงานเป็นกลุ่มใหญ่ที่ต้องช่วยกันระดมสมองออกความคิดเห็น ก็จะมานั่งในโซน Co-Learning Space เพราะสามารถใช้เสียงได้ แต่หากติวกันเป็นกลุ่มเล็กน้อยไม่กี่คนก็จะไปนั่งที่ร้านกาแฟกัน
ที่นี่มีความสะดวกสบาย ในเรื่องของที่จอดรถ มีอาหารเครื่องดื่ม มีปลั๊กไฟ มีห้องน้ำ บางจุดของศูนย์การค้าก็มีอินเทอร์เน็ต โต๊ะเก้าอี้ ให้ใช้ฟรี และที่สำคัญคือบางร้านเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง สามารถนั่งคิดงานได้แบบยาวๆ ทำให้ไอเดียของเราไม่สะดุด
นอกจากนี้การมานั่งทำงานที่ศูนย์การค้า ยังทำให้เราได้อินสไปเรชั่นใหม่ๆ นำไปใช้ในงาน เพราะข้อมูลบางอย่าง เช่น ไลฟ์สไตล์ หรือเทรนด์ ของผู้บริโภคไม่สามารถค้นหาได้ในอินเตอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว ด้วยยุคสมัยที่หมุนไปทำให้การเรียนรู้อยู่กับที่ไม่สามารถตอบโจทย์เยาวชนคนรุ่นใหม่อีกต่อไป ... การได้ออกไปเรียนรู้ ในสถานที่จริง และสัมผัสประสบการณ์ต่างๆได้ด้วยตัวเอง จึงนับเป็น "กุญแจสำคัญ" ในการพัฒนาองค์ความรู้ของเยาวชนไทยยุค 4.0