วันนี้ (22 พ.ย.) เวลา 13.30 น. สยามรัฐ ได้จัดงานปาฐกถาพิเศษ ในโอกาสครบรอบ 64 ปี นิตยสารสยามรัฐ สัปดาหวิจารณ์ "อนาคตประเทศไทย...ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี" ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ โดยมี นายชัชวาลล์ คงอุดม อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร และคอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ กล่าวต้อนรับ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานเปิดงาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษ "อนาคตประเทศไทย...ตามแผนยุทธศาสตน์ชาติ 20 ปี" นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย "ท่องเที่ยววิถีไทย ตามแนวทาง 4.0" นายชูฉัตร ประมูลผล รางเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ด้านตรวจสอบ "ธุรกิจประกันภัย 4.0" ศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม คณบดีคณะสังคมเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "อนาคตท้องถิ่นภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่" รศ.นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) "ขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้าน 4.0 ตามแนวทางประชารัฐ" ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “อนาคตประเทศไทย ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ในตอนหนึ่งโดยระบุว่า ตัวเลขผลผลิตมวลรวม(GDP)ของประเทศในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาโตขึ้นประมาณ 4.3% ถือเป็นการเติบโตที่แข็งแรงมาก เช่นเดียวกับสื่อต่างชาตินำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเริ่มโตขึ้นมาอย่างแข็งแรง เป็นประเทศที่น่าลงทุนมากขึ้น และจะยังโตต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปี ก่อน การเติบโตทางเศรษฐกิจของเราโตเพียง0.8% สถานการณ์เมืองไทยในขณะนั้นมีแต่ความวุ่นวาย เศรษฐกิจถดถอย นักลงทุนไม่กล้ามาลงทุน นักท่องเที่ยวไม่กล้ามาท่องเที่ยว เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดยรัฐบาลชุดนี้เข้ามาได้ตั้งใจทำงาน ไม่มีการแบ่งพรรค แบ่งสี รู้อยู่อย่างเดียวคือตั้งใจทำทุกอย่างให้ดีที่สุด คิดทำสิ่งใหม่ๆที่จะให้เกิดความเชื่อมั่น เพราะเศรษฐกิจเดินหน้าด้วยความเชื่อมั่น โดยเดินหน้าในการปฏิรูปโครงสร้างให้มีความแข็งแรงสำหรับอนาคต ทั้งนี้ตนเองได้ประกาศภารกิจ 2 ข้อ ได้แก่ 1.ทำให้เศรษฐกิจไทยหยุดทรุด ต้องค้ำจุนให้เดินหน้าได้ต่อไปอย่างมั่นคง 2.พัฒนาบ้านเมืองให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงโลกเพื่ออนาคต ทั้งนี้จากการที่ได้ทำงาน 2-3 ปีที่ผ่านมา ภารกิจแรกนั้นถือว่ารัฐบาลชุดนี้ได้สอบผ่านในการทำงาน ที่ตัวเลขการเติบโตจาก 0.8% เพิ่มเป็น 4.3% ถือว่าไม่ใช้เรื่องงาน ภายใต้ปัญหาที่เกินขึ้นในขณะนั้น ทั้งหมดนี้ยกผลประโยชน์ให้กับผู้นำรัฐบาล เพราะถ้าสิ่งที่เราคิด เรากระตุ้น แล้วผู้นำไม่เอาด้วยก็จะไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นสิ่งที่ได้ทำมาตลอดต้องยกความดีความชอบให้กับผู้นำรัฐบาล ขณะที่ภารกิจที่ 2 เศรษฐกิจที่จะเติบโตขึ้นมาจะคงอยู่ได้นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาล คณะทำงานช่วยกันคิด ช่วยกันผลักดัน แต่พลังทั้งหมดมาจากประชาชนทุกคน เพราะถ้าไม่ช่วยก็จะเกิดความย่ำแย่ ทั้งนี้เมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้นมาโดยเฉพาะกรอบมหภาคที่ ณ เวลานี้ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดอันดับ 9 ของโลก หมายความว่าการเติบที่มั่นคง เงินเฟ้อ การจ้างงาน หนี้สาธารณะ ที่มีอยู่ขณะนี้มีความแข็งแรงหรือไม่ “คนที่มานั่งด่าขณะนี้ โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียเปิดตาให้กว้างๆ ดูตัวเลขการเติบโตเสียก่อน เมื่อกรอบแข็งแรง สิ่งที่ตามมาคือความมั่นใจจากเอกชน และต่างประเทศ โดยเฉพาะตัวเลข4.3% ยังน้อย เพราะการลงทุนของภาคเอกชนยังไม่เต็มที่ ผมมั่นใจว่าตัวเลขปีหน้าจะดีกว่านี้” ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวทำอย่างไรให้คนที่มาเที่ยวไปเที่ยวในชุมชน ไม่ใช่เฉพาะแหล่งท่องเที่ยวใหญ่ ๆ เพื่อให้เม็ดเงินเข้าไปหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจในชุมชนให้คนมีงานทำ สามารถขายสินค้าได้ การลงทุนของเอกชนจะตามมา ดังนั้นจึงต้องเร่งการใช้จ่ายของรัฐบาลอย่างที่ผ่านมาในช่วง 2- 3 ปี ก่อน การลงทุนของรัฐบาล และเอกชน สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งไม่มีใครทำได้ ทั้งหมดนี้ถ้าทำให้ดีๆ ตัวเลขจะเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่สิ่งที่ต้องการแก้ไขอย่างมาก และมีความท้าทายมี 2 ประเด็นคือ 1.ความแตกต่าง ความเหลื่อมล้ำ ในสังคมไทย รายได้มีการกระจุกตัว ทำอย่างไรให้สามารถกระจายลงไปได้มาก และเร็วที่สุด ดังนั้นจังไม่ใช่เรื่องแปลกที่เวลาเติบโตจะเติบโตมาจากด้านบน ถ้ามองในการส่งออกมีบางบริษัทที่ได้ประโยชน์นั้นจริงหรือไม่ เพราะถ้ามองในเรื่องวัตถุดิบ การจ้างงาน การลงทุน ก็คืนคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่มัวแต่มองว่าคนรวยได้ คนจนไม่ได้ ซึ่งถ้าสินค้าขายไม่ออก คนจะตกงานทั้งประเทศ ฉะนั้นทุกอย่างเชื่อมต่อกันหมด ดังนั้นการแสดงความเห็นควรที่จะพูดความจริงให้ครบ ไม่ใช่พูดแต่ด้านเดียว ส่วนเรื่องรายได้ที่มีการกระจุกตัวอยู่เพียงคนบางกลุ่มที่สะสมมานานมาเป็น 10 ปี จึงต้องหาทางแก้ปัญหาช่วยเหลือในภาคชนบทให้หลุดพ้นปัญหาความยากจน โดยในปีหน้าเตรียมปลดล็อคให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเงินค้างอยู่ 1.3-1.5 แสนล้นบาทมาใช้ประโยชน์ เพื่อนำออกมาพัฒนาโครงการด้านเศรษฐกิจและสังคม พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนควบคู่กันไป โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในเร็วๆนี้ นอกจากนี้ต้องส่งเสริมกองทุนหมู่บ้านเพราะเป็นช่องทางพัฒนาชุมชนในการสร้างตลาดประชารัฐของกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นช่องทางการตลาดนับหมื่นแห่งทั่วประเทศ ที่ตั้งอยู่ในเขต อบต. เทศบาล และเตรียมผุดโครงการใหม่อีกจำนวนมาก แม้คนที่เกษียณอายุยังต้องนำกลับมาทำงาน เช่นเดียวกับการใช้เงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะค่อยๆเติมสิทธิประโยชน์มากขึ้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รัฐบาลได้ทุ่มเทอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่สามารถเชื่อมต่อความสัมพันธ์ได้ชัดเจน ต้องมีการวางแผนในการแก้ปัญหาเพราะถือเป็นนโยบายหลักในปีหน้า ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวบรรยายหัวข้อ “ท่องเที่ยววิถีไทย ตามแนวทาง 4.0” ว่า ท่องเที่ยววิถีไทย ตามแนวทาง 4.0 สอดคล้องกับโมเดลไทยแลนด์ 4.0 ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งภาคการท่องเที่ยวถือมีบทบาทสำคัญ โดยปี 2559 ที่ผ่านมา มีปริมาณนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวในไทย 32.6 ล้านคน การท่องเที่ยวในประเทศ 145 ล้านคน แต่การสร้างความยั่งยืนเป็นโจทย์ที่ท้าทาย โดยเฉพาะการส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน ซึ่งที่ผ่านมามีเป็นการท่องเที่ยวในเมืองหลักๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี แต่ผู้ยังมีเมืองรองอีกมากมายที่นักท่องเที่ยวยังไม่รู้จัก ทั้งนี้ ทิศทางการดำเนินงานปี 2561 กำหนดให้วันที่ 1 พ.ย.60-1 ม.ค.62 เป็นปี “ท่องเที่ยววิถีไทย ไก๋อย่างยั่งยืน” ซึ่งเน้นการสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยมีเป้าหมายสร้างรายได้เติบโตไม่น้อยกว่า 8 % และในปี 2561 จะเป็นปีแรกในประวัติศาสตร์ที่การท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยสูงถึง 3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากต่างประเทศ 2 ล้านล้านบาท และในประเทศ 1 ล้านล้านบาท โดยนำยุทธศาสตร์ 20 ปี มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน สำหรับแนวทางการส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ 1.การต่อยอดสร้างรายได้ด้วยวิถีไทย เน้นเรื่องการกิน เพราะอาหารมีชื่อเสียงในระดับโลก โดย ททท. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมอาหารท้องถิ่น ส่งเสริมใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น 70 % 2.การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดยยกระดับขีดความสามารถชุมชนในการรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้น 3.การสร้างนวัตกรรม มุ่งยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยว เช่น การจัดประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือเรียกว่า รางวัลกินรี “รองนายกฯ สมคิด ได้ประกาศ ปี 2561 จะไม่มีคนจนในประเทศไทย ททท. พร้อมสนองนโยบายรัฐบาล ในการผลักดันเรื่องการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือหารายได้ ที่มีความยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนหมดความยากจน และสุดท้ายประเทศไทยสามารถหลุดจากรายได้ปานกลาง ขอเน้นย้ำว่า การท่องเที่ยวในยุคไทยแลนด์ 4.0 จะให้ความสำคัญ 3 เรื่อง คือ เศรษฐกิจชุมชน วิถีการกิน และการสร้างธรรมาภิบาลที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ หวังว่า ททท. จะสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศตามนโยบายรัฐบาล คือ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเฉพาะการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ชุมชน” ชูฉัตร ประมูลผล รางเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ได้สะท้อนมุมมองในหัวข้อ “ธุรกิจประกันภัย 4.0” ว่า อีกบทบาทหนึ่งของ คปภ.ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมธุรกิจประกันภัย รวมถึงคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยได้ดำเนินอีกนโยบายหนึ่งตามกรอบทิศทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3(พ.ศ.2559-2563) ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้กับประชาชนทุกระดับ สามารถใช้ระบบการประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง และเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้กับตนเองและครอบครัว ซึ่งจะเป็นการแบ่งเบาภาระของภาครัฐในการกำกับดูแลประชาชนให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น นั่นคือ โครงการคปภ.เพื่อชุมชน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยผ่านชุมชนต่างๆ ของประเทศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน รวมถึงการส่งเสริมการประกันภัยสำหรับรายย่อยหรือไมโครอินชัวรันส์ให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง การส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้ช่วยคิด พัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอด ส่งต่อองค์ความรู้ด้านการประกันภัยให้เกิดขึ้นภายในชุมชน เพื่อร่วมเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อเสริมสร้างให้เศรษฐกิจชุมชนของประแทศเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่อยากเห็นอนาคตของประเทศไทยเติบโตอย่าง “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” สำหรับโครงการ คปภ.เพื่อชุมชนในปีนี้ จะมีการลงพื้นที่ในชุมชนนำร่องที่ได้รับคัดเลือกจำนวน5 ชุมชนในเขตจังหวัดใกล้เคียงกทม. โดยเลขาฯคปภ.ได้เปิดตัวโครงการไปแล้ว และลงพื้นที่แล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง ด้วยกัน โดยในวันอาทิตย์ที่ 24 ธ.ค.นี้จะจัดขึ้นที่ชุมชนไทยพวน ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี จ.นครนายก การลงพื้นที่แต่ละชุมชนได้เยี่ยมชมฐานความรู้ต่างๆ ทำให้ได้รับทราบข้อมูลที่สำคัญและประเด็นปัญหาด้านประกันภัยภาในชุมชนแต่ละแห่ง รวมถึงแนวทางที่ชุมชนจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัย เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงที่อาจจะได้รับ ศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม คณบดีคณะสังคมเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง “อนาคตท้องถิ่นภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่” ว่า รัฐธรรมนูญ เขียนหลายเรื่อง เช่น เจตนารมณ์ของการปกครองท้องถิ่น จะต้องทำให้ชุมชนและท้องถิ่นมีศักยภาพซึ่งเรื่องที่สำคัญ แต่จะทำให้ท้องถิ่นมีศักยภาพได้อย่างไร ชุมชนเข้มแข็งได้อย่างไร ตนมองว่าเรื่องนี้จะไปตอบโจทย์การให้ตำบล ให้ชุมชนมีศักยภาพตามเจตนารมณ์ในการปกครองตนเองที่เขียนไว้ตามมาตรา 249 ของท้องถิ่น อย่างไรก็ตามจะต้องมีกลไกเข้ามาหนุน คือ กลไกรัฐ กฎหมายมีอยู่มาตราหนึ่ง คือ เงินรายได้ท้องถิ่น เงินอุดหนุน ภาษี การจัดสรร การเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการเรื่องรายซึ่งตัวกฎหมายที่แก้จะต้องสอดคล้องกับตัวของรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญในมาตรา 250 วรรคท้าย เขียนเรื่องการส่งเสริมศักยภาพท้องถิ่น หรือการส่งเสริมรายได้ท้องถิ่น จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ตนพูดว่าส่วนข้างบนจะต้องทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง ส่วนประเด็นเรื่องที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นก่อนนั้น ตนฟันธงว่าหากมีการเลือกตั้งท้องถิ่นทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ เพราะท้องถิ่นขณะนี้มีรูปแบบ กทม.เมืองพัทยา อบต.เทศบาล และ อบจ.จะเลือกทีเดียวทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ รัฐบาลจะต้องแก้กฎหมาย 5ฉบับ และไปแก้กฎหมายอีก 1ฉบับที่เรียกกฎหมาย6 ฉบับ หรือกฎหมายกำหนดหน้าที่อำนาจของท้องถิ่น “ ขอเสนอว่าหากจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ง่ายสุด เลือก อบต. เพราะไม่วุ่นวาย เนื่องจากอยู่ในเขตชนบท ส่วน กทม. หากเลือกตั้งเมื่อไหร่พรรคใหญ่ 2-3 พรรคลงสมัครรับเลือกตั้ง เลือก อบจ.ระดับ นายก อบจ.ทั่วประเทศจะต้องลงเลือกตั้ง ตนมองว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่ง่ายที่จะเกิดขึ้นถ้าไม่ได้ไปแก้ไขกฎหมายท้องถิ่นให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560 ทั้งนี้ควรจะปฏิรูปท้องถิ่นตามกฎหมายให้หมดก่อน หากไม่ทำในสิ่งที่คนเสนอจะถึงทางตัน แน่นอน” รศ.นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) รศ.นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กล่าวบรรยายหัวข้อ “ขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้าน 4.0 ตามแนวทางประชารัฐ” ว่า กองทุนหมู่บ้าน 4.0 คือ กองทุนหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง สามารถดูแลสมาชิกให้มีความสุข หมายถึง เป็นกองทุนหมู่บ้านที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งไม่อยากให้สังคมมองกองทุนหมู่บ้านเป็นเพียงแหล่งให้สมาชิกกู้เงิน แต่อยากให้มองว่า กองทุนหมู่บ้านสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสมาชิก ทั้งนี้ การจะก้าวข้ามการเป็นกองทุนพึ่งตนเองไปสู่กองทุนเพื่อประชาชน ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชน ตามแนวนโยบายประชารัฐ เช่น กองทุนหมู่บ้านมีร้านค้าประชารัฐ ไม่ได้ให้บริการเฉพาะสมาชิกเท่านั้น แต่พี่น้องประชาชนทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ ฉะนั้น กองทุนหมู่บ้านสามารถก้าวข้าม 1.0 คือ การพึ่งตนเอง ไปสู่ 2.0 โดยการใช้ขบวนการประชารัฐ ทำให้เป็นกองทุนหมู่บ้านเพื่อประชาชน หรือ กองทุนหมู่บ้าน 3.0 ซึ่งสามารถดูแลประชาชนใน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับเขต และหากสามารถตอบโจทย์ว่า กองทุนหมู่บ้าน คือ หัวใจหลักของประเทศ 10 กว่าปี ของกองทุนหมู่บ้านไม่สูญเปล่า เป็นหัวใจของเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ “กองทุนหมู่บ้าน พร้อมแล้วที่จะประกาศเป็นอาสาประชารัฐให้กับประเทศ และรัฐบาล ตามที่ได้รับมอบหมายให้เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ”
ชมย้อนหลัง ปาฐกถาพิเศษ ในโอกาสครบรอบ 64 ปี สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ "อนาคตประเทศไทย...ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี" คลิ๊กชมภาพบรรยากาศภายในงาน