ข้องใจชั้นในฝั่งตอ.ระบายนาน/แนะเทคนิคแก้ถนนจมให้น้อยที่สุด รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า น้ำท่วมกทม.ปีนี้ เกิดขึ้นถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเดือนพ.ค. ถูกโยนว่าสาเหตุจากขยะ และครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง ที่ถูกโยนว่าเกิดจากฝนที่ตกหนักยาวนานและขยะแสดงให้เห็นว่าหลังจากน้ำท่ วมครั้งแรก กทม.ไม่ได้ทำความสะอาดหรือ ขุดลอกท่อระบายน้ำแต่อย่างใดหรือ ทั้งนี้ จากที่ได้ดูข้อมูลระดับน้ำในคลองต่างๆ ก่อนฝนตก ยังรองรับน้ำได้ แต่ปัญหาคือน้ำจากถนนไหลลงคลองไม่ทัน สถานการณ์น้ำท่วมกทม.ครั้งนี้แตกต่างจากปี 54 เพราะครั้งนี้ปัญหามาจากท่อระบายน้ำ แม้ กทม. จะระบุปริมาณฝนที่ตกจะสูงกว่า 200 มม. แต่ข้อมูลปริมาณฝนสะสมในกทม.ของวันที่ 13 ต.ค.60 ตั้งแต่ 23.00 น. - 14 ต.ค.60 เวลา 05.00น. พบว่าประมาณฝนฝั่งธนบุรี 200 มม. แต่เหตุใดพื้นที่น้ำท่วมขังหนักสุดกลับอยู่ชั้นในฝั่งตะวันออกโดยเฉพาะถนนสายหลักอย่างถนนวิภาวดีฯ และใช้เวลากว่า 8 ชม. ในการระบาย รศ.ดร.สุจริตกล่าวว่า อาจเพราะไม่มีการขุดลอกท่อก่อนฝนตกเพียงพอหรือมีอุปสรรคทำให้การไหลของน้ำจากถนนไปยังคูคลองไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จะสังเกตเห็นว่า 2 – 3 ปีมานี้ ระยะหลังคนกทม.ไม่ค่อยเห็นการขุดลอกท่อเหมือนในอดีตที่มักเห็นกรมราชทัณฑ์นำนั กโทษชั้นดีออกมาขุดลอกท่อระบายน้ำในกทม. แต่หลังจากกทม.จัดจ้างเอกชนทำแทน กลับไม่ค่อยมีใครได้เคยเห็นการลอกท่อเลย ควรประเมินประสิทธิภาพดู แนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วม สิ่งที่ควรทำจากนี้ คือแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะสั้น ควรมีระบบช่วยเหลือบรรเทาน้ำท่วม หรือตั้งกลุ่มฉุกเฉินเฉพาะกิจแก้ปัญหาระบายน้ำในถนนสายหลัก ระยะยาว ต้องมีระบบสัญจรของ น้ำจากถนนไปสู่คลอง เพื่อดึงน้ำบนถนนเข้าไปพัก-เ ก็บกักไว้ก่อนสูบหรือดันลงคลอง ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกที่สำคัญ เช่น ทำบ่อแนวดิ่งขนาดใหญ่ใต้วงเวียน สี่แยก ใต้สวนสาธารณะ พร้อมฝังท่อมากกว่า 1 เมตรเพิ่มระหว่างท่อเดิมกลางถนน ตรงไปคลองเพื่อเป็นท่อทางด่วนลำเลียงน้ำให้ไปถึงเครื่องสูบปลายทางและเพิ่มเครื่องดันน้ำช่วย แนวทางนี้แม้จะไม่ได้ป้องกันน้ำท่วม แต่เพื่อให้มีน้ำท่วมบนถนนน้อยที่สุด และใช้เวลาท่วมบนถนนให้ลดลง ซึ่งวิธีนี้หลายประเทศทำอยู่ กทม.ควรนำมาปรับใช้ในอนาคต