ที่ บช.ภ.3 พล.ต.ท.ดำรงศักด์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรจภูธรภาค 3เปิดเผยว่ากองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 ได้นำนโยบายของ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณฯ ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้แก่ประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีจิตอาสา ทำความ ดี ด้วยหัวใจ มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของตำรวจจราจร และประชาชนจิตอาสาด้านการจราจร ที่ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน และปลูกฝังสร้างความตระหนักในความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้แก่ประชาชน มุ่งเน้นให้ตำรวจจราจร และประชาชนจิตอาสาร่วมทำความ ดี ด้วยหัวใจ และมีบุคลิกภาพที่สง่างาม กิริยาวาจาสุภาพอ่อนโยน และเป็นมิตรกับประชาชน โดยเป็นการเปลี่ยนมิติใหม่สร้างภาพลักษณ์ตำรวจจราจรภาค 3 เพื่อเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของตำรวจให้กับประชาชน และแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืน ด้วยโครงการ สุภาพบุรุษจราจร ทำความ ดี ด้วยหัวใจ “เปลี่ยนใบสั่ง ให้ความรู้” โดยยึดถือหลัก 5 S ในการปฏิบัติงาน คือ - Smile : ยิ้มแย้ม แจ่มใส - Smart : บุคลิก ท่าทาง สง่างาม ทั้งทางร่างกาย และ จิตใจ - Salute : การเคารพ อ่อนน้อม ถ่อมตน - Service Mind : การมีจิตใจบริการ - Standard : ความมีมาตรฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นตำรวจจราจร และประชาชนจิตอาสาด้านจราจร ทั้ง 8 จังหวัด ในสังกัดตำรวจภูธรภาค 3 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตามโครงการดังกล่าว ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไปมีขั้นตอนการดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 ตั้งแต่ วันที่ 1-7 ธันวาคม 2560 เพื่อเป็นการอบรม ให้ตัวเจ้าหน้าที่จราจรและจิตอาสา โดยแต่ละกองบังคับการ จัดวิทยากรให้ความรู้ด้านกฎหมาย การสาธารณสุข การช่วยชีวิตเบื้องต้น และการบริการด้วยหัวใจ (Service Mind ) เพื่อสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน มีการประชาสัมพันธ์ ไปยังสื่อโซเชียลมีเดีย วิทยุโทรทัศน์ เครือข่ายท้องถิ่น ฯลฯ ระยะที่ 2 ตั้งแต่ วันที่ 8 - 20 ธันวาคม 2560 ช่วงรณรงค์ “ห่วงใย ให้ความรู้ ว่ากล่าวตักเตือน” เฉพาะข้อหาที่สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้ เช่น ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย อุปกรณ์ส่วนควบไม่ครบถ้วน ไม่พกพาใบอนุญาตขับขี่ เป็นต้น ระยะที่ 3 ตั้งแต่ วันที่ 5 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2561กิจกรรมทางเลือก “เปลี่ยนใบสั่ง ให้ความรู้” โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็น นักเรียน นักศึกษา และ ประชาชนทั่วไป ที่กระทำความผิดตามกฎหมายจราจร (เฉพาะข้อหาที่สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้) โดยจะต้องเป็นข้อหาที่เป็นความผิดเฉพาะตัวบุคคล และไม่สร้างความเดือดร้อนหรืออันตรายให้แก่ผู้อื่น เช่น ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย อุปกรณ์ส่วนควบ ไม่ครบถ้วน เป็นต้น รวมทั้งมีความสมัครใจที่ร่วมกิจกรรมทางเลือก “เปลี่ยนใบสั่ง ให้ความรู้” เข้ารับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจร และความปลอดภัยทางถนน ณ สถานีตำรวจท้องที่ คาดว่าจะได้รับจากโครงการ เชื่อว่า ประชาชนจะมีความรู้สึกดี มีความรัก ความศรัทธา ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมากขึ้น