กระทรวงสาธารณสุขจับมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สร้างความปลอดภัยผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์มีคู่มือและแบบประเมินให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจและเป็นประเทศต้นแบบการพัฒนานโยบายอาหารปลอดภัยสำหรับภูมิภาคเอเชีย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีเจตนารมณ์ในการ บูรณาการทำงาน เพื่อสร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคเนื้อสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยโครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการของสถาบันที่กำกับดูแลความปลอดภัยและคุณภาพอาหารประเภทเนื้อสัตว์ตลอดห่วงโซ่” ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจากฟาร์ม การฆ่า การตัดแต่ง การขนส่ง การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ จนถึงการจำหน่ายสู่ผู้บริโภค โดยได้จัดทำคู่มือแนวทางการควบคุม กำกับดูแล และข้อควรปฏิบัติสำหรับการผลิต จำหน่าย และการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่ เป็นคู่มือมาตรฐานกลาง และพัฒนาแบบประเมิน ตรวจสอบความสมบูรณ์ของการควบคุม กำกับดูแลของภาครัฐในทุกขั้นตอน ที่สำคัญที่สุดคือเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งผลิตทั้งโรงงานผลิตอาหาร โรงฆ่าสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะหมูและไก่เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในกรณีเกิดปัญหาความปลอดภัยของอาหาร นายแพทย์โอภาส  การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข จากการนำคู่มือแนวทางและแบบประเมินไปทดลองใช้ใน 2 จังหวัดนำร่อง คือ เชียงใหม่ และสระบุรี พบว่าสามารถใช้แก้ไขปัญหาได้จริง ช่วยขจัดปัญหาความทับซ้อนในการทำงานเนื่องจากทุกหน่วยงานจะเข้าใจบทบาทหน้าที่ วิธีการปฏิบัติของหน่วยงานอื่นๆ อย่างชัดเจน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะมีการนำแบบประเมินไปใช้ในโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยที่สนับสนุนให้โรงพยาบาลมีการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อควบคุม ตรวจสอบ คุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ตั้งแต่การผลิต วัตถุดิบ การขนส่ง ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถสร้างความมั่นใจและสุขภาพที่ดีแก่ผู้ป่วยและประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาล นอกจากนั้นได้วางแผนขยายการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศต่อไป นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีความสำคัญและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นต้นน้ำของการผลิตอาหารเพื่อให้ปลอดภัยและพัฒนาวิธีการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อาหารปลอดภัย ปัจจุบันกระทรวงฯ ได้ออก พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ที่ปฎิวัติระบบความปลอดภัยทางด้านอาหารเนื้อสัตว์ และมีความเข้มงวดในหลายๆ เรื่อง เช่นหลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการกิจการฆ่าสัตว์ ซึ่งเป็นกลางน้ำที่สำคัญ จากเดิมใบอนุญาตจะให้ผู้ประกอบการแล้วจะให้เลย แต่พ.ร.บ.ใหม่จะกำหนดระยะเวลา 5 ปี ถ้าผู้ประกอบการไม่ทำตามกฎกระทรวงกำหนดไว้ก็ไม่สามารถต่อใบอนุญาตได้ รวมถึงบังคับใช้กฎหมายในเรื่องของการปราบปรามต่าง ๆ นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีพนักงานตรวจโรคในโรงฆ่าสัตว์ โดยพนักงานตรวจโรค ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านของการตรวจโรค และตรวจสารตกค้างที่อยู่ในสัตว์ เช่น สารเร่งเนื้อแดง หรือยาปฎิชีวนะ และกฎหมายใหม่ยังได้เพิ่มเรื่องของการขนส่งอีกด้วย ที่ผ่านมาโรงฆ่าสัตว์ส่วนใหญ่จะใช้รถขนสัตว์มายังโรงฆ่าและเอารถคันเดิมขนไปยังตลาด ทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์มีสารปนเปื้อนจากการขนส่ง ขณะเดียวกันมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อให้มีความเข้มแข็ง และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การดำเนินการดังกล่าว กระทรวงฯ ร่วมมือกับกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการกำกับดูแลที่มีความเข้มงวดมากขึ้น “ในปีนี้ไทยส่งออกเนื้อสัตว์ประมาณ 2 แสนล้านบาท ถือเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ของไทยมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้จะมีการดำเนินการให้มีความก้าวหน้าในอนาคต” นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าว Mr.Sridhar Dharmapuri ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารปลอดภัยและโภชนาการองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค (FAO Regional Representative for Asia and the Pacific) กล่าวเสริมว่า ระบบการควบคุมความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ทุกขั้นตอนมีความสำคัญ ถ้ามีการผิดพลาดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเกิดปัญหาในเรื่องของความปลอดภัยได้ ฉะนั้นในนามของ FAO เห็นว่ามีความสำคัญที่จะต้องมีการสร้างความเข้มแข็งในการทำงานของแต่ละหน่วยงานเพื่อช่วยกันในเรื่องนี้ Mr.Sridhar Dharmapuri ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารปลอดภัยและโภชนาการองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค เหตุผลที่ FAO เลือกประเทศไทยเป็นต้นแบบในการทำโครงการฯ เนื่องจากประเทศไทยมีจุดเด่นสองประการ อันดับแรกไทยมีความพร้อมในเรื่องของระบบการดูแลด้านความปลอดภัยด้านอาหาร และอีกส่วนหนึ่งไทยประกาศว่าจะเป็นฮับทางด้านอาหาร การจัดทำคู่คือครั้งนี้จะเป็นคู่มือประกอบด้วยเซ็กเตอร์หลายๆ บท ในทุกบทจะมีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ เริ่มตั้งแต่ฟาร์ม โรงเชือด ถึงโรงแปรรูป รวมไปถึงเรื่องของตลาด นอกจากนี้ในคู่มือยังมีข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภค และข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการที่จะต้องเตรียมตัว รวมถึงบทเรียนของประเทศไทย ซึ่งคู่มือที่ได้จากโครงการครั้งนี้ นับเป็นคู่มือที่เป็นแนวทางมาตรฐานและมีประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย จึงขอให้มีการจัดแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปเผยแพร่และใช้เป็นตัวอย่างในกลุ่มประเทศเอเชียต่อไป