ว.เกษตรฯกาญจน์น้อมนำศาสตร์พระราชา ปรับปรุงแต่งแปลงเกษตรเป็นแหล่งท่องเที่ยว “...ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์และเสถียรภาพอันถาวรของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี ข้อสำคัญเราจะต้องรู้จักใช้ทรัพยากรทั้งนั้นอย่างฉลาด คือไม่นำมาทุ่มเทใช้ให้สิ้นเปลืองไปโดยไร้ประโยชน์ หรือได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าหากแต่ระมัดระวังใช้ด้วยความประหยัดรอบคอบ ประกอบด้วยความคิดพิจารณาตามหลักวิชา เหตุผล และความถูกต้องเหมาะสม โดยมุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันยืนยาว...” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2529 วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2529 “...เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ ควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขอันใด ไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ทำงานได้จริงๆนั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมทำได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยัน และ ความซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น...” พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530 สถาบันการศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาที่มีชื่อว่าวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเกิน 40 แห่งทั่วประเทศทุกแห่งเน้นจัดการเรียนการสอนด้านเกษตรเต็มรูปแบบตามภูมิสังคมตั้งแต่เกษตรผสมผสานไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผัก ประมง ปศุสัตว์ แม้แต่การทำนาซึ่งวิทยาลัยเกษตรฯที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มต้องมีแปลงนา ทุกแห่งจัดการเรียนการสอนการเกษตรแนวทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร อันเป็นหลักการบริหารพื้นที่ประกอบอาชีพการเกษตรที่มุ่งเน้นการเป็นแหล่งผลิตอาหารเพื่อการดำรงชีวิตในครอบครัว ในชุมชนเหลือแล้วขาย โดยแนวพระราชดำรัสเน้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัจจัยหลักต่อความเจรืญงอกงามของสรรพชีวิตคือ “แหล่งน้ำ”พื้นที่มีการจัดแบ่งเพื่อทำแหล่งน้ำ แปลงพืชผัก ทำปศุสัตว์ ทำประมงแล้วก็ที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ต้องมีพื้นฐานแห่งความเพียร อดทน ไม่โลภ มีความรักความเมตตาสามัคคีต่อกัน มีวิทยาลัยเกษตรฯหลายแห่งที่ดำเนินการทำการเกษตรแม้เป็นเพียงการจัดการเรียนการสอนแต่ได้ทำเกษตรจริงๆทำตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ฯทำให้เป็นแหล่งผลิตอาหารได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วยฝีมือของนักเรียนนักศึกษาที่เข้ามาเรียน นักเรียนนักศึกษาในแต่ละวิทยาลัยเกษตรฯจึงกลายเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์เกษตรกรรุ่นใหม่ที่เชี่ยวชาญ เป็นกำลังสำคัญเชื่อมโยงยุคสมัยเชื่อมโยงวิถีบรรพชนคือยึดภูมิปัญญาไทยสู่การเชื่อมโยงเทคโนโลยียุคใหม่ได้อย่างยอดเยี่ยม แปลงเกษตรในวิทยาลัยเกษตรฯหลายแห่งมิใช่เพียงแหล่ผลิตอาหาร ผลิตสมาร์ทฟาร์มเมอร์เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่แต่ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรก่อให้เกิดองค์ความรู้เพื่อนำสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อีกทางหนึ่ง อย่างเช่นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรีได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริหรือศาสตร์พระราชามาปรับประยุกต์ดำเนินการวางแนวทางการบริหารจัดการร่วมกับนักศึกษาครูอาจารย์ทำแปลงเกษตรให้สอดรับการการท่องเที่ยวเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเป็นผลพลอยได้เสริมจากการได้ผลผลิตจากพืชชนิดนั้น โดยมีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุนตั้งแต่งบประมาณ การมีส่วนร่วมวางแผน เพื่อทดลองทำเป็นต้นแบบสร้างแปลงเกษตรโดยมีจุดหมายเพื่อการท่องเที่ยวโดยตรงนอกจากได้ผลผลิตเกิดประโยชน์ต่อองค์ความรู้สู่ความเชี่ยวชาญทางอาชีพสายเกษตรกรรม แม้ว่าโครงการนี้จบไปแล้วในเดือนแต่ดูเหมือนจะยั่งยืนคือกระตุ้นให้คนสนใจไปเยือนพื้นที่วิทยาลัยเกษตรฯเพื่อสัมผัสผลผลิตในแต่ละช่วงฤดู แปลงเกษตรที่วิทยาเกษตรฯกาญจนบุรีร่วมกับททท.ผลิตเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวคือแปลงข้าวโพดแล้วก็แปลงปอเทืองในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมากำลังงามสะพรั่งจ่อออกผลผลิตแล้ว ความงามสะพรั่งเขียวขจี ส่วนปอเทืองก็กำลังออกดอกเหลืองอร่ามสอดรับช่วงต้นหนาวธันวาคม2560 พอดีใครไปตอนนี้เชื่อว่ายังคงได้สัมผัสความงามนี้ท่ามกลางความหนาวเย็นที่ปกคลุมพื้นที่แล้วในยามค่ำคืนถึงช่วงเช้าตรู่ นำสู่องค์ความรู้การบริหารจัดการทั้งในรูปแบบพัฒนาด้านการตลาด การเผยแพร่พืชผักสดปลอดสารพิษในวิทยาลัยไปจนกระทั่งผลผลิตแปรรูปทำให้เกิดรายได้ระหว่างเรียนทั้งนี้ก็ด้วยการเดินตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริคือนำทรัพยากรที่มีอยู่มีความสำคัญในท้องถิ่นมาสร้างคุณสร้างประโยชน์ในการดำรงชีวิต ก็สามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนแบบพออยู่พอกิน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.)บอกว่า วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี ร่วมกับททท.ทำโครงการต้นแบบท่องเที่ยวเพื่อเกษตรยั่งยืน ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์ หรือ Amazing Green : A’Maze 2017สร้างกระแสการเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่วิทยาลัยเกษตรฯและพื้นที่ทางการเกษตรของไทย และสร้างการรับรู้เอกลักษณ์ของพื้นที่ด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปลูกฝังความภาคภูมิใจในความเป็นประเทศแห่งเกษตรกรรมให้แก่นักท่องเที่ยว ดร.มงคลชัย สมอุดร ที่ปรึกษา....ในฐานะได้รับมอบหมายจากเลขาธิการให้มาเป็นประธานบอกว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ททท.ให้ความสำคัญพื้นที่วิทยาลัยเกษตรฯของสอศ. เฉพาะอย่างวิทยาลัยเกษตรฯกาญจนบุรีเลือกที่จะสร้างแปลงผลผลิตการเกษตรเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยววิถีเกษตรไทย รากฐานอาชีพหลักคนไทย โครงการนี้นับว่าเป็นการเตรียมพร้อมนักศึกษา พร้อมทั้งการเพิ่มความเชี่ยวชาญในอาชีพเกษตร การสร้างสำนึกที่ดีงามต่ออาชีพเกษตรกรรมต่อตัวเกษตรกรต่อนักศึกษาที่กำลังก้าวสู่เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ สืบสานภูมิปัญญาที่บรรพชนไทยสืบสานมาแต่โบราณกาลสืบสาน วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ดีงามในแต่ละท้องถิ่นบนรากฐานของหลักคุณธรรม รากฐานของพิธีกรรมทางศาสนา อันเป็นเครื่องหล่อหลอมปลูกฝังให้ตั้งมั่นอยู่ในความขยัน อนทน อดออม มีความสเอื้อเฟื้อกัน สามัคคีกันด้วยรักเมตตา มีความกตัญญูอันเป็นหลักการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “การเกษตรไทยมีรากฐานที่มั่นคงที่จะก้าวไปสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์รองรับไทยแลนด์4.0 โดยการเอาเทคโนโลยีมาต่อยอดภูมิปัญญาไทยด้วยหลักการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือศาสตร์พระราชาที่พระราชทานแนวทางสร้างปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตเป็นเบื้องต้นได้แก่การบริหารจัดการน้ำ แหล่งน้ำ สรรพชีวิตขาดน้ำไม่ได้ การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเกษตรฯสังกัวิทยาดอาชีวะเน้นรากฐานแห่งแนวทางทฤษฎีใหม่ฯ ใครที่มีโอกาสมาเยือนพื้นที่เกษตรฯในรั้ววิทยาลัยจะได้สัมผัสธรรมชาติที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรแล้วยังได้ซึมซับวิถีการดำเนินชีวิตตามรอยพระยุคลบาท ซึ่งแปลงเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวที่ททท.ร่วมกับลัยเกษตรฯกาญจนบุรีสร้างขึ้นมีคุณูปการแก่วิทยาลัยและเยาวชนมากคือเพิ่มการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการร่วมกันทั้งเกษตรกรเอง นักท่องเที่ยวเพิ่มความรู้ความชำนาญในอาชีพเกษตรยิ่งขึ้น โครงการแบบนี้น่าจะได้ดำเนินการร่วมกันต่อไปในวิทยาลัยแห่งนี้และวิทยาลัยเกษตรฯที่ตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ” ดร.มงคลชัยกล่าวด้วยว่าเป้าหมายของอาชีพเกษตรกรรมที่อาชีวศึกษาเน้นย้ำนักศึกษายึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริก็เพื่อความสุขของชีวิตบนวิถีแห่งความพออยู่พอกิน ไม่โลภไม่ฟุ้งเฟ้อแล้วขยายไปยังชุมชน ในเวลาเดียวกันก็ซึมซับภูมิปัญญาจากชุมชนมาเป็นรากฐานของการก้าวไปสู่การพัฒนาด้วยเทคโนโลยีแล้วนักศึกษาที่เรียนทางนี้ก็เอาไปขยายผลในพื้นที่พ่อแม่ผู้ปกครองของตัวเองและในชุมชน “ที่สำคัญวันนี้เราน้อมนำพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 มาเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดรูปธรรมในการผลิตคนดีมีความรู้ป้อนสังคมนั่นคือ ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยเยาวชนไทยเติบโตเป็นคนมีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง, มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงและเข้มแข็ง มีระเบียบวินัย, มีงานทำมีอาชีพและเป็นพลเมืองดี” ดร.มงคลชัยสรุป ผอ.วิทยาลัยเกษตรฯกาญจนบุรี ว่าที่ร้อยตรีอมรินทร์ รูปสวยกล่าวเสริมว่าในวิทยาลัยมีโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯคือชีววิถีเป็นศูนย์จำลองเพื่อเรียนรู้อาชีพทางการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริโดยใช้หลักการศึกษาวิธีการตามศาสตร์พระราชา การศึกษาเรียนรู้เรื่องดิน น้ำ ลมไฟ คือปรับปรุงพัฒนาดินยังไง ต้องมีแหล่งน้ำ ลมก็คือบรรยากาศที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ความสำคัญรวมไปถึงทีทรงทำฝนหลวง ไฟก็เรื่องของการใช้พลังงานที่เหมาะสมเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานธรรมชาติตั้งแต่การผลิตพืชที่เป็นพลังงาน พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์เป็นต้นรู้จักเอาธรรมชาติมาใช้เพื่อความยั่งยืน ผอ.บอกมีโครงการเปิดโรงเรียนพระดาบสในอาชีวศึกษาเป็นแบบกินนอน นอกจากเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในการช่วยให้ประชาชนที่อาจจะขาดโอกาสศึกษาเรียนรู้ทั้งภาคสามัญและอาชีพทั้งๆที่มีความตั้งใจดี นี่เป็นการเปิดโอกาสเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล พร้อมกับสนองพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปลูกฝังหล่อหลอมอบรมบ่มนิสัยให้คนไทยมีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง, มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงและเข้มแข็ง มีระเบียบวินัย, มีงานทำมีอาชีพและเป็นพลเมืองดี โดยหลักการจะรับรุ่นละ 30 คนกำลังทำหลักสูตรเริ่มต้นตั้งเป้าไว้ 12 แห่งทั่วประเทศเรียน 1 ปีแบบเข้มทั้งคุณธรรมและความเชี่ยวชาญอาชีพ