“ จริงๆแล้วก็คือตำรวจกับประชาชน เราอยู่ใกล้กันตลอดเวลา ไม่สามารถที่จะห่างกันได้ แม้ข้าราชการตำรวจ จะถูกประชาชนตำหนิมากที่สุด แต่สุดท้าย ก็คิดถึงเจ้าที่ตำรวจมากที่สุด คิดไม่ออก ก็ต้องหาตำรวจ ผมถึงบอกว่าตำรวจเราต้องช่วยกันแก้ปัญหา” หมายเหตุ : “สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ “บิ๊กหยม” พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล คนใหม่ เจ้าของรหัส “น.1” ภายหลังเข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้พล.ต.ท.ชาญเทพ ยังสวมหมวกอีกหนึ่งในฐานะ “สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ” หรือสนช.สมาชิกหนึ่งในแม่น้ำ 5 สายอันมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ครั้งนี้ พล.ต.ท.ชาญเทพ ได้พูดคุยเปิดใจถึงภารกิจในความรับผิดชอบ คือการดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ตลอดจนเผยมุมคิดในการบริหารงาน เอาไว้อย่างน่าสนใจ - อะไรจะเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนให้ตำรวจนครบาลามารถให้เป็นโมเดลของตำรวจทั่วประเทศ ขั้นแรกเราต้องมาพิจารณาดูว่า ตำรวจทำหน้าที่อะไร ก็พบว่า 1. ปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน ของพี่น้องประชาชน 2. การจราจร ที่รับผิดชอบมา 3. ดำเนินการกิจการ ประโยชน์เพื่อสังคม คือสิ่งที่วางไว้ โดยต้องทำความเข้าใจกับข้าราชการตำรวจ โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้น้อยขึ้นมา ว่าสังคมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ของโลก เริ่มเปลี่ยนแปลง โดยมีเทคโนโลยีเข้ามา และประชาชนมีการศึกษาเพิ่มขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างต้องทำความเข้าใจ ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการตำรวจ ตั้งแต่ระดับผู้ใต้บังคับบัญชาขึ้นมา จนถึงผู้บังคับบัญชา ส่วนเรื่องการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ไม่ใช่เป็นเรื่องยากแต่ก็ก็ไม่ง่าย เนื่องจากปฏิบัติกันมาช้านานจึงต้องใช้เวลา สังเกตเห็นได้ว่าทุกวันนี้ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือมีกล้องถ่ายรูปอยู่ในตัว พร้อมที่จะถ่ายภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทุกคน เพราะทุกคนมีความรู้หมด สังเกตได้ง่ายๆว่าทุกวันนี้ ประชาชนมีความรู้และไม่ได้เกรงกลัวตำรวจ ไม่เหมือนสมัยก่อน แค่ พ่อแม่บอก ลูกที่ร้องไห้ให้หยุดเดี๋ยวตำรวจมาจับเอาลูกก็หยุดร้องไห้ กลับกันสมัยนี้วิ่งชนตำรวจเลย เราพูดด้วยเหตุและผล - นโยบายที่ท่านชูไว้ คือเรื่องการแก้ไขปัญหาจราจรเพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับชาวกรุงเทพฯ ขณะนี้ผมได้ดำเนินการ อยู่แล้วนะครับ แต่ก็ยังมีเล็ดรอดอยู่บ้าง แต่การตั้งด่านของตำรวจจราจรไม่มีแน่นอน ยกเว้น 1. ด่านตรวจวัดควันดำ 2. ด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเรื่องควันดำ จะมีกองกำกับการตำรวจตรวจวัดควันดำ กอง 5 บก.จร. ซึ่งเขามีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอยู่ระหว่าง ทำความเข้าใจกับผู้กับการกอง 5 กองบังคับการตำรวจจราจรว่าจะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ให้พี่น้องประชาชนเข้าใจว่ากรุงเทพ ทุกวันนี้ปริมาณรถก็มากอยู่แล้ว ถ้ายังมีควันดำอยู่ เข้ามาในเขตก็จะสร้างบนภาวะให้กับพี่น้องประชาชน กรุงเทพมหานคร จากการตั้งด่านตรวจ ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน ที่ใช้รถสัญจรไปมา ตรงนี้อยู่ระหว่างการปรับอยู่ ว่าจะดำเนินการอย่างไรและกำลังทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข ว่าปริมาณรถที่เข้ามาในเขตชั้นในในกรุงเทพมหานคร สร้างมลภาวะ ส่วนการตั้งด่านตรวจต้องไม่กีดขวางการจราจรและตรวจสอบว่าสมควรจะตั้งเวลาไหนอย่างไร ตรงนี้ต้องทำ บังคับด้วยสังคม ตรงนี้จริงๆแล้วพี่น้องประชาชนต้องเข้าใจว่าตำรวจทำเพื่อพี่น้องประชาชน เพราะอากาศทุกคนต้องใช้ ส่วนเรื่องแอลกอฮอล์ ทุกวันนี้ก็ต้องรณรงค์กันอย่างต่อเนื่อง คดีหมอก็พึ่งเกิดขับรถชน รปภ.ผ่านมาหมาดหมาดๆ สาเหตุ ดื่มสุรามา ไม่ดื่มสุรามาก็ทำให้ขาดสติ แต่ถ้าดื่มมานิดๆหน่อยๆ เขากำหนด 70-72 % ก็อาจจะว่ากล่าวตักเตือน ให้สมกับประโยชน์ให้พี่น้องประชาชนด้วยการทำความเข้าใจ - วางกรอบการประเมินผลไว้อย่างไร ประมาณ 3 เดือน ต่อครั้งสำหรับการประเมิน ซึ่งตอนนี้เชื่อว่าด่านจราจรไม่มีแล้ว แน่นอน 100% แต่มีพี่น้องประชาชนบางส่วนยังไม่เข้าใจ และโทรศัพท์มาคุยกับผม ว่าทำไมเห็นมีด่านตั้งอยู่ ถามมาผมก็ตอบว่าที่เห็นนั้นคือด่านตรวจวัดควันดำ ซึ่งเกี่ยวกับภาวะ เป็นพิษ ผมเป็นตำรวจมานานครับ และเข้าใจว่าพี่น้องประชาชนชอบพูดว่าเวลาเบิ้ลๆ หรือเร่งเครื่องเพื่อตรวจวัดควันดำ คือต้องทำความเข้าใจพี่น้องประชาชนว่า ตำรวจเราไม่ได้กลั่นแกล้ง ทำอย่างไรให้เขายอมรับว่าเราทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ และเกิดประโยชน์กับสังคม ตรงนี้สำคัญที่สุด ไม่ใช่ว่าตำรวจเข้าใจอย่างเดียว ประชาชนก็ต้องเข้าใจด้วยในการทำงานของตำรวจ ถ้าไม่สามารถทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน สังคมก็อยู่ไม่ได้ สื่อมวลชนคือส่วนสำคัญที่สุด ที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชน ได้เห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยจริง ผมคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชาว่า วันใดที่ตำรวจเรียกรถหยุด แล้วพี่น้องประชาชนผ่านมา แล้วบอกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานอย่าไปยุ่งกับเขา เพราะเขากำลังทำงาน แต่สังคมไม่มองอย่างนี้ เขามองว่าเมื่อตำรวจเรียกรถหยุด นี่มันวันอะไรวันที่เท่าไหร่แล้ว มองภาพลบไปหมด แต่ตราบใดที่วันนั้นตำรวจเรียกรถหยุดแล้ว ประชาชนมองเห็นแล้วว่าตำรวจเขาทำงาน ได้ตรงนี้ได้เมื่อไหร่นั่นคือความสำเร็จ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ใช่ของผม ตรงนี้สำคัญมากในเรื่องการจราจร ส่วนเรื่องของงานสอบสวน เราก็พบว่าพี่น้องประชาชนรู้สึกเอือมระอา ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน 1 กริยาวาจา 2 ความไม่เข้าใจข้อกฎหมาย ของพี่น้องประชาชนที่มาแจ้ง เนื่องจากพนักงานสอบสวนไม่ได้อธิบายให้ประชาชนได้รับทราบ 3 ใช้เวลานาน 4 พนักงานสอบสวนไม่แจ้งถึงความคืบหน้าของคดี ให้พี่น้องประชาชนที่มาแจ้งความได้รับทราบ ว่าคดีมีความคืบหน้าไปถึงไหน 5 ความยุติธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างตรงนี้ เราจะมาทำ เพื่อดำเนินการแก้ไข จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากข้าราชการตำรวจด้วยกัน ตั้งแต่ชั้นผู้น้อย ขึ้นมาจนถึง ผู้บังคับบัญชา - ที่ท่านบอกว่าท่านพูดไม่เก่งขอให้ดูที่ผลงาน จริงๆแล้ว ผมก็ใกล้จะเกษียณ อายุราชการ ผมอยู่ฝ่ายปฏิบัติมาโดยตลอด เห็นพี่น้องประชาชนบ่นเห็นว่าการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผมเข้าใจ เพราะสังคม ปรับเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อความเชื่อถือของพี่น้องประชาชน และเป็นการเรียก ความศรัทธากลับมาจากพี่น้องประชาชน ปัจจุบันนี้พี่น้องประชาชน มองดูเจ้าหน้าที่ตำรวจ ด้วยความไม่ศรัทธา ขาดความเชื่อมั่น ตรงนี้เราต้องสร้างบรรทัดฐานให้ดี ให้กับให้กับพี่น้องประชาชนทราบ บางครั้งตำรวจ ทำงานนิดเดียวก็ถูกตำหนิ มาโดยตลอด เราก็ต้องยอมรับว่าพี่น้องประชาชน ไม่เข้าใจ บางครั้งไม่ยอมรับความจริง ตรงนี้ คือปัญหา ว่าเราจะทำอย่างไร ให้ประชาชน ยอมรับทราบความจริง ว่าสิ่งที่เขากระทำอยู่ คือการกระทำความผิด การปรับเปลี่ยน การแก้ไขนั้น ย่อมไม่ใช่เพียงฝ่ายเจ้าที่ตำรวจอย่างเดียว แต่พี่น้องประชาชนก็ต้องปรับตัวด้วย โดย ต้องมีวินัย เช่นกัน ไม่ใช่ว่าเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นมาก็โทษตำรวจ จริงๆแล้วก็คือตำรวจกับประชาชน เราอยู่ใกล้กันตลอดเวลา ไม่สามารถที่จะห่างกันได้ แม้ข้าราชการตำรวจ จะถูกประชาชนตำหนิมากที่สุด แต่สุดท้าย ก็คิดถึงเจ้าที่ตำรวจมากที่สุด คิดไม่ออก ก็ต้องหาตำรวจ ผมถึงบอกว่าตำรวจเราต้องช่วยกันแก้ปัญหา ถึงแม้ไม่ใช่เรื่องงานในหน้าที่ ก็ต้องแก้ปัญหา เพราะประชาชนมีความคาดหวังกับตำรวจมาก ซึ่งตอนนี้ผมได้ทำ IO ตั้งทีมไอโอและตั้งทีมโฆษก ที่สถานีตำรวจ อย่างมีเพจอะไรที่เข้ามา หรือลงมาไม่ดี หรือลงมาแบบไม่เข้าใจในข้อกฎหมาย การปฏิบัติเราก็จะนำข้อมูลมาตรวจสอบทัยว่าเป็นไปตามที่เขา ลงมาไหม เพื่อมิให้ตกเป็นจำเลยสังคม เพราะว่าสมัยนี้ใครลงก่อนได้เปรียบ และที่ผ่านมาอาจจะมีการประชาสัมพันธ์น้อยมาก กองบัญชาการนครบาลเรามีรองผู้บัญชาการจำนวน 12 ท่านมีผู้กับการตำรวจสถานีอีกจำนวน 88 สถานี และยังมีผู้การ ซึ่งทุกคนมีหน้าที่อยู่แล้ว ผมมากำกับดูแลและก็ไล่ลงไป จริงๆแล้วเรื่องทุกอย่าง ที่จะจบลงได้ด้วยดีก็คือจบลงกันที่สถานี ตำรวจ ผมถึงเอาใจใส่ผู้กำกับการสถานีตำรวจมากเป็นพิเศษ ทุกวันนี้ ผมเปิดโทรศัพท์มือถือไว้ตลอด 24 ชั่วโมงและรับเอง ตลอดทุกสาย มีอะไรให้ผมรับใช้ เพื่อตัดปัญหา ที่เขาจะต้องไปพบผู้ใหญ่ จากผมไป อาจจะไปพบผบ.ตร เมื่อผบ.ตร.ไม่สำเร็จก็อาจจะไปพบรัฐมนตรี ถ้ารัฐมนตรีไม่สำเร็จก็ไปหานายกรัฐมนตรี ผมถึงบอกว่าผู้กำกับการสถานีต้องรับโทรศัพท์ตลอดเวลา เพื่อแก้ปัญหา ถ้ามันจบลงที่ท่าน เรื่องก็ไม่ถึงผู้การและก็ไม่ถึงผม อย่างแน่นอน ที่มา:สัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 65 ฉบับที่ 13 หน้า 18-19 -บชน.ในยุคบิ๊กหยม จะ เป็นอย่างไร เราก็ต้องอยู่ ในระเบียบวินัย ในเรื่องนี้ ฉะนั้นแล้วเราอยู่เราต้องปรับตัว เรื่องของการมีระเบียบวินัย โดยเฉพาะเรื่องวินัยต้องเข้มงวดมากที่สุด เกี่ยวกับเรื่องเสื้อผ้าหน้าและทรงผม ยกเว้นกองสืบ ซึ่งทุกคนต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และต้องทันต่อเหตุการณ์ ผมเป็นคนไม่ดุ แต่เวลางาน ต้องเป็นงาน หลังจากเลิกงานแล้ว เราก็เหมือนพี่น้องกัน แต่ถ้าเรื่องงานผมไม่ยอม ส่วนใครทำงานล่าช้าก็ต้องถูกลงโทษ ผู้การบกพร่องผมก็ต้องลงโทษ อย่างกรณีเมื่อมีเหตุเกิด ผมจะไม่รับรายงานจากผู้กำกับการสถานีตำรวจ ผมรับรายงานจากผู้การคนเดียว ไม่ใช่ว่าผู้กำกับการสถานีจะต้องโทรมาหาผม มีแต่ผมต้องโทรไปหาผู้กำกับเอง คือให้เขารู้ว่าผมต้องการแบบนี้ และต้องให้ผู้การ รับรู้ทุกเรื่อง และผู้กํากับการสถานีก็ต้องรู้ทุกเรื่อง ถ้าไม่รู้เรื่อง ผมก็สั่งตาในผู้การ รายงาน ชี้แจง แล้วข้างล่าง จะเป็นอย่างไร ผมไม่ยอม ตั้งแต่อยู่ที่ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 กองบัญชาการภูธรภาค 1 และคดีที่เกิดขึ้นผมไล่ตามทุกคดี ผมไม่ยอมให้คดีมาคั่งค้างคา ทุกคดีจะต้องตอบคำถามผมได้ - ใกล้ปลดล็อคทางการเมืองแล้วหากเกิดสถานการณ์วุ่นวาย บทบาท ของเจ้าที่ตำรวจตอนนี้อยู่ตรงไหน ผมอยู่กับม็อบมาทั้งชีวิต ก็เข้าใจ เดี๋ยวนี้มีกฎหมายการชุมนุม ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้วางไว้เรียบร้อย แล้วว่าบ้านเมืองต้องสงบ เลิกแบ่ง ฝักแบ่งฝ่าย ผมเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องเดินหน้า เป็นไปตามที่ ท่านนายกรัฐมนตรีได้วางไว้ ส่วนผมเป็นผู้ปฏิบัติ การเมืองจะดีหรือไม่ดีอย่างไร ขึ้นอยู่ที่ผู้นำ คิดว่าผู้นำประเทศของเราคงไม่อยากให้เกิดปัญหาหรือความขัดแย้งกันอีก เพราะเราเป็นคนไทยด้วยกัน - หลังจากปลดล็อคแล้ว คาดว่า การเมืองจะรุนแรงขึ้นหรือไม่ คำว่าแรงหมายถึงอะไร ถ้าหมายถึงคำว่ามีคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ทุกวันนี้ก็มีออกมาอยู่แล้ว แต่ถ้าปลดล็อคการเมือง แล้วเราก็ยังมีกฎหมายรองรับอยู่ คือทุกคนต้องทำตามกฎหมาย ถ้าใครไม่ทำตามกฎหมาย ก็ต้องเดินพาเหรดกันเข้าคุก - ตรงนี้เป็นงานหลักของบช.น.หรือไม่ ในพื้นที่เป็นเมืองหลวงด้วย ซึ่งกลุ่มการเมืองอาจจะไม่ได้ใส่เสื้อสี หรือถือนกหวีดอะไรกันมา อาจจะมาในรูปแบบอื่น ตรงนี้เรามีมาตรการอย่างไร ผมคิดว่าช่วงต้นๆนี้คงยัง เพราะ ท่านนายกรัฐมนตรี ก็บอกแล้วว่าถ้าบ้านเมืองยังไม่สงบ ท่านไม่ไปไหน หากทุกคนอยากมีอิสระต้องให้ความร่วมมือ ถูกไหมครับ ไม่อย่างนั้นภาพเดิมๆก็จะกลับคืนมาอีก ถ้าเราไม่เดินไปและไม่ถอยกันคนละก้าว ก็จะออกมาในรูปแบบเดิม ถามว่าแล้วคนที่ทำเขาเป็นใคร เขาก็เป็นคนไทย การที่จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ถือว่าความผิดถึงขั้นรุนแรง ตัวอย่างก็มีคดีก็ยังอยู่ ไปขึ้นศาลกันทุกวัน ลำบาก ตรงนี้แล้วแต่ ความคิด ไม่มีอะไรยุติธรรมร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกครับ ขนาดนิ้วมือคนเรายังไม่เท่ากันเลย ถูกไหมครับ นิ้วมือมีทั้งยาวไปทั้งๆ สั้น แต่เราอยู่กันด้วยความอะลุ่มอล่วย และทำความเข้าใจกัน ผมเชื่อว่าคนไทยยังไงก็เป็นคนที่มีความ เคารพผู้หลักผู้ใหญ่ เคารพในข้อกฎหมาย เคารพในความเป็นอยู่ แบบไทย ต้องเข้าใจแบบไทย อย่าไปคิดว่าตะวันตกเขาจะดีหรือ หรือไม่ดี เราอยู่แบบ ไทย ตามแบบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ท่านทรงตรัสไว้แล้วว่า อยู่แบบพอเพียง อยู่แบบเรียบง่าย สมถะ คนไทยผมเชื่อแน่ บ้านเราอุดมสมบูรณ์ คงไม่ถึงกับต้อง รบราฆ่าฟันกันเอง เรามีบทเรียน มา 10 ปี แล้วนะครับ ที่บ้านเรานิ่งอยู่กับที่ ไม่ได้ขยับขยาย จนบ้านอื่นเขาเริ่มเจริญเติบโต แต่ผมเชื่อว่า เรื่องการศึกษา ของบ้านเรา ก้าวไปไม่ทันต่อโลก แค่นั้นเอง การศึกษาวัฒนธรรม ก็สำคัญ ความเป็นอยู่ของไทย เพราะเราเชื่อได้ว่าจิตใจของคนไทยโอบอ้อมอารี ไม่อย่างนั้นบ้านเราจะได้ยิ้มสมาย เห็นทุกอย่างไรก็ยังเห็นยิ้มกันอยู่ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ นอกจากนี้สำหรับเรื่องของการท่องเที่ยว บ้านเราเป็น AEC ทุกสิ่งทุกอย่าง ในเมืองไทยกลายเป็นสวรรค์ของคนต่างชาติ เช่นอาหารก็อร่อย การใช้จ่ายค่าครองชีพก็ถูก ทุกอย่างดีหมดการบริการก็ดี วัฒนธรรมข้อดี ประเพณีของเราก็ดีเมื่อต่างชาติเข้ามาเห็นแล้วรู้สึกว่าอิจฉา และแผ่นดินไหวที่บ้านเราก็ไม่มี หรือว่าประเทศเราโชคดี แล้วคนไทยจะไม่รักกันอีกหรือ ทุกอย่างมีได้บ้างเสียบ้าง ไม่มีใครได้อะไรไปทั้งหมด ผมต้องขออนุญาตนำเอาคำของพระพุทธเจ้ามาพูด นั่นคือไม่มีใครอะไรได้ทุกอย่าง ได้มาก็หมดไป เรามาแต่ตัวก็กลับไปแต่ตัว พอสมควรแก่เหตุ ที่มา:สัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 65 ฉบับที่ 13 หน้า 18-19