จากกรณี พ.อ.บุรินทร์ ทอง ประไพ นายทหารปฏิบัติการ ประจำกอง บัญชาการกองทัพบก ปฏิบัติหน้าที่ฝ่าย กฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช. ) เดินทางเข้าพบ ร.ต.อ.สมบัติ สมบัติโยธา รอง สว.(สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับ ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต หรือหมวดเจี๊ยบ อดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ความผิดเข้าข่าย 1.นำเข้าข้อมูลเท็จ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ฯ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(2) และ 2.ข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 หลังวิจารณ์นายกฯ และรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.60. เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 13 ธ.ค. 60 ที่บก.ปอท. ชั้น 4 ศูนย์ราชการอาคารบี ถยนแจ้งวัฒนะ กทม. ร.ท.หญิง สุณิสา พร้อมด้วย นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ ทนายความส่วนตัว มาพบ ร.ต.อ.สมบัติ เพื่อรับทราบข้อล่าวหา ตามหมายเรียก นำเข้าข้อมูลเท็จ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ฯ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(2) และ 2.ข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองพรรคเพื่อไทย อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ รมช.แรงงาน และรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย พร้อมบรรดาแฟนคลับการเมืองมามอบดิอกไม่ให้กำลังใจ ก่อน นายนรินท์พงศ์ ทขายความ เผยว่า วันนี้ ร.ท.หญิง สุณิสา มารับทราบข้อกล่าวหา หากทางพนักงานสอบสวนปอท. เบื้องต้นคงปฎิเสธข้อกล่าวหา และจะให้การในศาลเท่านั้น ทั้งนี้การแจ้งข้อหาตาม พรบ.คอมฯ มาตรา116 หลังจากดูรายละเอียดในสำนวนแล้ว น่าจะเป็นการแจ้งข้อหาเกินความจริง ส่วนข้อหายุยง ปลุกปั่นเกี่ยวกับความมั่น คิดว่าคงไม่น่าเข้าข่ายมาตรานี้ "ร.ท.หญิง สุณิสา เป็นโฆษกพรรคการเมืองอย่างไรก็ต้องยุ่งการเมืองอยู่แล้ว ไม่หนักใจกับรัฐบาลนี้ ความจริงก็คือความจริง อำนาจรัฐยังคงมีอำนาจ แต่สั่งให้ตำรวจ.บก.ปอท. ก็ต้องดำเนินการตามคำสั่ง ตนก็จะตอบโต้กลับไป ตำรวจอย่าเป็นเครื่องมือของรัฐบาล ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกล่าวร้ายต่อประชาชน เราอาจจะดำเนินการตามกฏหมาย ฟ้องกลับ ขมาตรา 200 ที่ระบุว่า หากพนักงานสอบสวนตั้งมาตราระบุโทษเกินความจริง จะต้องโทษอย่างหนักสูงสุดกลับไป ที่ตนพูดเช่นนี้ไม่ได้ขู่ แต่หลายครั้งที่มีบุคคลทางการเมืองโดนแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพื่อปิดปาก แต่ยังไงก็ตามบุคคลเหล่านี้ก็ยังจะดำเนินการวิจารณ์รัฐบาลต่อไป ร.ท.หญิง สุณิสา เปิดเผยว่า การโพสต์ข้อความดังกล่าวหากย้อนดูจะพบว่าเป็นวิจารณ์การทำงานและงบประมาณค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งประชาชนมีสิทธิ์ที่จะสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้เพราะเป็นการตรวจสอบอำนาจของรัฐบาล ไม่ได้มุ่งใส่ร้ายโจมตีบุคคลใด โดยรัฐบาลควรรับฟังและนำไปแก้ไขปัญหาดีกว่า ส่วนการเปรียบเทียบรัฐบาลเปิดทำเนียบต้อนรับนักร้องแต่ไม่ได้เปิดรับกลุ่มต้านโรงงานถ่านหินภาคใต้ เป็นการวิจารณ์รัฐบาลที่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ชาติและแสดงสิทธิเสรีภาพความคิดเห็นของประชาชน และรัฐบาลควรรับฟังด้วย ไม่ใช้อำนาจคนเห็นต่างด้วยการแจ้งความดำเนินคดี ร.ท.หญิง สุณิสา เผยอีกว่า การโพสต์วิจารณ์รัฐบาลและถูกดำเนินคดี 6 กระทง แต่ละกระทงโทษสูงสุดถึง 7 ปี รวมแล้วประมาณ 42 ปี เท่ากับชีวิตของคนๆหนึ่ง โดยตนมองว่าการตั้งข้อหาดังกล่าวน่าจะมีแรงจูงใจทางการเมืองเพราะตนเป็นอดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทยและวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลมาตลอด ทั้งนี้ รัฐบาลคงทราบดีว่าตนโพสต์ไม่ได้ใส่ร้ายแต่แสดงความคิดเห็นเพื่อรักษาผลประโยชน์บ้านเมือง สำหรับรากฐานการปฏิรูปทางการเมืองและเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้นนั้นควรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพราะหากประชาชนไม่กล้าพูดความจริงแสดงความคิดเห็น ประเทศก็คงไม่อาจพัฒนาไปได้ "ต้องขอบคุณผู้แทนจากประชาคมโลกและตัวแทนทางการทูต อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ ประเทศยุโรปอื่นๆ รวมทั้ง องค์กรสิทธิมนุษยชน เพื่อร่วมสังเกตการณ์ในวันนี้ด้วย เพราะประเทศไทยมีพันธสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนในประเทศ" ร.ท.หญิง สุณิสา กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้น ร.ท.หญิง สุณิสา เดินเข้าไปพบ พนักงานสอบสวน โดยเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนตามเข้าไปด้วย