วันที่ 16 ธันวาคม 2560 ที่จังหวัดตรัง นายนิกร ศรีแก้ว ประธานชมรมหนังตะลุงชาวตรัง กล่าวว่า ตามที่จังหวัดตรังจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาด ประจำ 2560 ระหว่างวันที่ 5-20 ธันวาคม ทางชมรมหนังตะลุงชาวตรังและสมาคมนโนราห์จังหวัดตรัง ได้ร่วมกันปรึกษาหารือเนื่องจากทราบว่าทางจังหวัดไม่มีมหรสพประเภทหนังตะลุง มโนราห์ของชาวตรังที่เคยจัดมาเป็นประจำทุกปี ขณะที่ทางจังหวัดแจ้งว่าเปิดโอกาสใหไปแสดงบนเวทีกลางด้วยการสนับสนุนค่าเดินทางและอาหาร ทางชมรมฯโดยคณะกรรมการมีมติว่าไม่ประสงค์จะร่วมกิจกรรมแสดงในงานดังกล่าว นายนิกร กล่าวว่า ทางชมรมหนังตะลุงชาวตรัง จึงออกแถลงการณ์ชี้แจงทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลและเหตุผลที่ไม่เข้าร่วมงานประเพณีดังกล่าวได้ ด้วยเหตุผล คือหนังสือตะลุง มโนราห์ เป็นวัฒนธรรมปะเพณีที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะภาคใต้ ในอันที่จะต้องอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมและนาจารีตประเพณีที่ดีงาม อีกทั้งอุดมการณ์และจุดยืนของชมรมหนังตะลุงชาวตรัง และสมาคมนโนราห์จังหวัดตรังมีความชัดเจนแน่นแน่ ซึงต้องการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอด เผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ตกทอดมานานซึ่งต้องดำรงรักษาไว้ด้วยความสรัทธาในสายเลือดแห่งศิลปิน “งานฉลองรัฐธรรมนูญจังหวัดตรัง จัดเป็นงานปะเพณีมานานกว่า 80 ปี ประชาชนชาวตรังทุกคนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ โดยมีการการแสดง หนังตะลุง นโนราห์ ลิเกป่า ลองแง็ง เป็นอัตลักษณ์ของงาน และเมื่อจังหวัดให้เอกชนเหมางาน ผลประโยชน์กับอุดมการณ์ย่อมขัดกัน นายทุนมีเป้าหมายคือกำไร ชาวตรังโดยเฉพาะศิลปินต้องการอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีอันดีงาม เมื่อศิบปินพื้นบ้านไม่สามารถทำกำไรให้ได้จึงไม่จัดสถาที่ให้แสดง ทางชมรมฯจึงไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในงานได้ แต่พร้อมจะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการตามโอกาส” นายนิกร กล่าว นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า ที่ผ่านมาการจัดงานงานประจำปีของจังหวัดตรัง จะมีการละเล่นหนังตะลุง มโนราห์ จะมีงบประมาณ โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ ปีละประมาณ ล้านบาทเศษ แต่ปีนี้จังหวัดไม่มีงบประมาณ ทางจังหวัดจึงตัดสินใจ นำงบประมาณที่มีอยู่ส่วนหนึ่ง จัดสรรให้อำเภอแต่ละอำเภอออกร้านด้วยการนำของดีแต่ละอำเภอมาแสดง จำหน่ายสินค้า ขายอาหารของดี อำเภอ สินค้าโอทอป 3 สินค้าเกษตร 9101 4 ส่วนการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้งหนังตะลุง มโนราห์ ลิเกป่ามี โนราโกลน ดนตรีสากล และดนตรีลูกทุ่ง แสดงบนเวทีกลาง ซึ่งเป็นเวทีใหญ่อยู่ มีเวลาให้ถึงวันละ 4 ชม. คือตั้งแต่ 18.00-22.00 น.ทุกคืน เพราะฉะนั้นเวลามากถึง 4 ชม นายศิริพัฒ กล่าวอีกว่า บังเอิญทางกลุ่มชมรมหนังตะลุงชาวตรัง มีความเห็นว่าขอแสดงอย่างเดิม คือสร้างเวทีแยกออกมาต่างหาก ตามเงื่อนไขเดิม ขณะที่นายวสันต์ ถนอมทรัพย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ซึ่งรับผิดชอบพิจารณาแล้วว่าแบบเดิมไม่ได้ เพราะไม่มีงบ ทั้งงบค่าตอบแทน ตนจึงได้ทำหนังสือตอบเป็นทางราชการว่า จังหวัดยินดีให้มาร่วมแสดงร่วมกัน ณ เวทีกลาง โดยจะช่วยสนับสนุนค่าพาหนะและค่าอาหารตามสมควร ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับโรงเรียน สถานศึกษา หรือกลุ่มแม่บ้าน แต่ว่าทางกลุ่มชมรมฯยืนยันต้องการแบบเดิมทั้งหมด ไม่ใช่ว่าจังหวัดไม่ให้ที่ยืน เมื่อไม่เห็นด้วยก็ไม่ว่ากัน ถือว่าจังหวัดมีการแสดงทางวัฒนธรรมของนักเรียน ของชาวบ้านที่เป็นเรื่องหนังตะลุง โนราห์ก็มีจากจังหวัดนครฯ ก็มาเล่นโดยไม่ได้จ้าง จึงอยากจะกราบเรียนและทำความเข้าใจว่า ในโอกาสต่อไปต้องพบกันครึ่งทาง คงไม่มีใครที่จะยืนยันบนขาของตัวเองได้ ผมเอาอย่างนี้ท่านเอาอย่างนั้น “ผมเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด รับผิดชอบด้านศิลปวัฒนธรรมมาโดยตลอด ผมรักมาก และในปีหน้า จังหวัดจะจัดกิจกรรมงานวันอนุรักษ์มรดกไทยอย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 2 เมษายน 2561 จัดที่สวนสาธารณะพระยารัษฎานุประดิษฐ์ เทศบาลนครตรัง จะได้บรรยากาศ ชาวบ้านจะขายอาหารพื้นเมือง และชมมโนราห์หนังตะลุงอย่างที่ชอบ คือมันต้องมีการปรับบ้าง บางทีได้เข้ากับอารมณ์นั้น เชื่อว่าเป็นทางออกที่ดี ส่วนในปีถัดไปงานฉลองรัฐก็จะต้องคุยกันอีกว่า ตกลงจะเอาอย่างไรแค่ไหน ต้องกราบขอโทษชมรมต่าง ๆ ด้วยทั้งมืออาชีพ และสมัครเล่นมา เอาเป็นว่าปีหน้าค่อยว่ากันใหม่ และคุยกันดี ๆ ไม่มีปัญหาอะไร” นายศิริพัฒ กล่าว นายศิริพัฒ กล่าวอีกว่า ตนเคารพและนับถือปู่ย่าตายายของคนตรัง ผมเป็นคนอาศัยก็จริงแต่ว่าไม่ใช่อยู่เฉย ๆ ผมมาสร้างบ้านสร้างเมืองมาเปลี่ยนบ้านเปลี่ยนเมือง โดยอาศัยคนกลุ่มมากที่เขามีความต้องการที่จะเปลี่ยนบ้านเปลี่ยนเมืองบ้าง เพื่อให้จังหวัดตรังมีแนวทางในการพัฒนาจังหวัดในที่แหลมคมขึ้น มีจุดเด่นและสามารถที่จะเป็นแบบอย่างแก่จังหวัดอื่นได้ เราจะมีโนราห์หนังตะลุงต่อไป แต่เราต้องมีนโนราห์หนังตะลุงที่มีแล้วมีความสง่างาม มีกาลเทศะที่ถูกต้อง คืองานวันอนุรักษ์มรดกไทย ผมยืนยันจะดูดีกว่างานฉลองรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำไป