ทรูฯประสานพลังรัฐ-เอกชน ยกระดับการศึกษาไทยแบบยั่งยืน ศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการจัดเวิร์คช้อป และประชุมเชิงปฏิบัติการ ใน“โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน” (คอนเน็กซ์-อีที) เพื่อเตรียมความพร้อมรอบด้านแก่ผู้นำรุ่นใหม่ (School Partners) รุ่นแรก รวมจำนวน 550 คน จาก 12 องค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง และทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนหลัก ในการให้คำปรึกษาด้านยุทธศาสตร์พร้อมงบประมาณ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ,บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ,บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด , บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ,บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ,กลุ่มมิตรผล ,บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ,ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ,เอสซีจี ,บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ,บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสัมคมเข้าร่วมเสริมองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ทั้งด้านการพัฒนาการเป็นผู้นำ การเรียนรู้จิตวิทยาเด็ก พร้อมเพิ่มความมั่นใจจากซีอีโอจากทั้ง 12 องค์กร ก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติจริง ในโครงการประชารัฐ 3,242 แห่งในระยะแรก และจะขยายครบ 7,424 แห่ง ครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศ ตามแนวยุทธศาสตร์ 10 ด้าน ให้ประสบความสำเร็จ สามารถยกระดับมาตรฐาน และคุณภาพการศึกษาของประเทศได้อย่างยั่งยืน -มีความเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการศึกษาไทย และการที่ภาครัฐมีนโยบายสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำ เป็นเรื่องที่ดีมากๆ เป็นการเปิดมติใหม่ในการเชื่อมภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชนเข้าด้วยกัน ซึ่งเดิมทีนั้นอาจจะต่างคนต่างทำ และถ้าการเชื่อมโยงอันนี้เป็นการแชร์องค์ความรู้ต่างๆ ก็จะเป็นการสร้างมติใหม่ให้กับการศึกษาไทย ซึ่งผมเชื่อมั่นเช่นนั้น -ในฐานะที่เป็นหน้าทีมภาคเอกชน โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำ ในภาคเอกชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการขับเคลื่อนด้านการศึกษาอย่างไร ต้องเรียนให้ทราบก่อนว่าภาครัฐเป็นผู้กำหนดนโยนบาย และก็ได้ฟังความเห็นของทุกฝ่าย ภาคเอกชนบทบาทหลักของเรานั้น คือ เราจะเข้าไปต่อยอด เข้าไปสนับสนุน เชื่อมโยงกลไกของตลาดมากขึ้น ไม่ได้เป็นการทับซ้อนกัน แต่เป็นการส่งเสริมซึ่งกันและกัน -เด็กที่ผ่านจากการอบรมนั้น เรามีความคาดหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยขนาดไหน ทางโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (คอนเน็กซ์-อีที) เพื่อเตรียมความพร้อมรอบด้านแก่ผู้นำรุ่นใหม่ (School Partners)จะเข้าไปช่วยสนับสนุนผู้อำนวยการโรงเรียน หรืออาจารย์ใหญ่ และครู รวมถึงนักเรียน ในมิติที่โรงเรียนนั้นยังขาดทรัพยากรหลักๆ เช่น ทรัพยากรบุคคล อุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งเราจะเข้าไปให้การสนับสนุน และจะเข้าไปช่วยทำให้เกิดการสร้างระบบนิเวศพื้นฐาน ที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ตามนโยบายรัฐอยู่แล้ว ทั้งนี้แนวทางยุทธศาสตร์10 ด้าน ในการยกระดับการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล ตามแนวทางของโครงการสานพลังประชารัฐ ประกอบด้วย 1.ความโปร่งใส่ของข้อมูลสถานศึกษา (Transpareency) 2.การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructure) 3.กลไกการตลาด และการมีส่วนร่วมของชุมชน (Market Mechanism) 4.การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน (High Quality Schiil Principals) 5.หลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Curriculum) 6.การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะให้นักเรียน (Health & Heart) 7.การสร้างมาตรฐานการจูงใจด้านสิทธิประโยชน์ และการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ (Tax Incentive for Local & International Professor) 8.การยกระดับทักษะความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (English Language Capability) 9.ศูนย์กลางการศึกษาเทคโนโลยีแห่งอนาคตในระดับภูมิภาค (Technology Hub R&D) และ10. การพัฒนา และส่างเสริมผู้นำรุ่นใหม่ (Young Leadership Development) อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวคงต้องใช้เวลาในการที่จะสร้างระบบนิเวศพื้นฐานในการปรับเปลี่ยน ซึ่งคิดว่าผลที่จะได้เห็นในเด็กรุ่นใหม่ที่จะออกมาสู่สังคมในระยะเวลา 5 – 10 ปี จะเป็นระยะเวลาที่เห็นผลได้ อาทิ เด็กมัธยมโดยเฉพาะเด็กมัธยมปลายเราสามารถที่จะต่อยอดได้ทันที เช่น ศึกษาในการทำงานภาคฤดูร้อน ระยะเวลา 1 เดือน เป็นการทำให้เห็นมุมมองของระบบ ของอาชีพ ในสิ่งที่เด็กอยากทำ หรือไม่อยากทำ ทำให้เห็นว่าการที่จะเรียนต่อไปจะช่วยให้การปรับเปลี่ยนวิธีการในการนำมาใช้ได้อย่างไร สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สามารถเชื่อมโยงได้ และภาคเอกชนก็ถือเป็นสถานเรียนรู้หลังเรียนจบอยู่แล้ว จึงเป็นการหล่อหลอมที่ดี และเป็นรูปแบบที่นำมาใช้ได้ -ความคาดหวังของการศึกษาไทย หลังจากนี้ต่อไป จะได้เห็นการศึกษาไทยมีการเติบโต หรือมีการพัฒนามากขึ้นอย่างไร จะต้องมองให้ครบทั้ง 2 ด้าน ในมิติของด้านวิชาการ จะต้องมีวิชาการที่เป็นเลิศ มากขึ้นไปเรื่อยๆ ในระดับโลก และมิติทางด้านของจิตใจ คุณธรรม จริยธรรม อาจจะเป็นมิติที่ไม่มีมาตรวัดชัดเจนในระดับโลก แต่เราก็จะให้ความสำคัญ และเป็นสิ่งสำคัญหลักด้วยเช่นกัน ดังนั้นจะมีการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อที่จะช่วยให้บ่มเพาะในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม จิตใจ คู่ขนาดไปด้วยกัน และต้องมีความสมดุลกัน