วันที่ 9 ก.ค.68 ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการ กทม.ดินแดง นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยที่ 3 ครั้งที่ 2 ประจำปี 2568 โดยมีนายจักกพันธุ์ ผิวงาม นายศานนท์ หวังสร้างบุญ  นางสาวทวิดา กมลเวชช นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

นายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ ส.ก.เขตยานนาวา เสนอญัตติเรื่อง ขอให้กรุงเทพมหานครพัฒนาระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ของกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยโครงการ CCTV ของ กทม.เริ่มต้นใช้ประมาณปี 2010 ในขณะยังเป็นช่วงต้นๆ ในการนำเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล H.264 ที่ทันสมัยในช่วงนั้น มาใช้ในอุตสาหกรรม CCTV ซึ่ง กทม. ได้จัดทำระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้เทคโนโลยี H.264 มาใช้งาน ทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีขนาดเล็กลงจากระบบ CCTV เดิมในขณะนั้น ที่ใช้การบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG-4 ได้ถึงประมาณ 50%

ต่อมาการบีบอัดข้อมูลได้มีการพัฒนาขึ้นเป็น H.265 ซึ่งได้มีเริ่มมีการใช้งานในอุตสาหกรรม CCTV ซึ่งเป็นเทคโลยีที่มีประสิทธิผลการบีบอัดข้อมูลที่ดีขึ้นจาก H.264 ได้ประมาณ 25%-50% แต่ด้วยความจำกัดทางงบประมาณ กทม. จึงไม่ได้ upgrade ระบบกล้องโกรทัศน์วงจรปิดให้ทันสมัย ทำให้ในปัจจุบันระบบของ กทม. ยังคงใช้ระบบเดิมอยู่จึงไม่สามารถใช้งานกับกล้องรุ่นใหม่ในปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยี H.265 ได้

ดังนั้น หากมีการ upgrade ระบบกล้องวงจรปิดให้เป็นรุ่นใหม่กันสมัยที่รองรับ H.265 ได้จะทำให้สามารถทำการเก็บภาพบันทึกได้นานขึ้น และใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูล bandwidth network ที่น้อยลง รวมทั้งยังมีความสามารถทางด้านการวิเคราะห์ภาพ AI เพิ่มขึ้นอีกด้วย

นายวิศณุ กล่าวว่า กทม.มีกล้อง cctv มากกว่า 65,000 กล้อง ปัญหาคือเป็นกล้องรุ่นเก่า (analog) อายุมากกว่า 18 ปี ภาพไม่ชัด ประมาณ 33,000 กล้อง ส่วนกล้องดิจิทัล อายุมากกว่า 8 ปี มีประมาณ 19,000 กล้อง ปี 2568 ได้รับงบประมาณเปลี่ยนใหม่ 2,900 กล้อง นอกจากคุณสมบัติตัวกล้องแล้ว ต้องคำนึงถึงปัญหาความพร้อมด้านซอฟต์แวร์ การเชื่อมโยงข้อมูล และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลด้วย อีกปัญหาสำคัญคือเรื่องเน็ตเวิร์ค โครงสร้างของกทม. เป็นโครงสร้างที่ปะผุขึ้นมา คือค่อย ๆ ทำไปเรื่อย ทำให้เครือข่ายไม่มีประสิทธิภาพ อยู่ในลักษณะกระจายไปหลายศูนย์ ทำให้ต้องใช้งบประมาณสูงมาก

การเปลี่ยนกล้องจากชนิด Analog เป็นกล้องชนิด Digital เนื่องจากกล้องมีอายุมากกว่า 10 ปี เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน คุณภาพความละเอียดของภาพต่ำ ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อการประมวลผลด้วย AI โดยอยู่ระหว่างการขอรับงบประมาณ ข้อดีกล้อง Digital รุ่นใหม่ สามารถนำภาพไปประมวลผลด้วยระบบ AI ได้

ส่วนการเปลี่ยนกล้อง Digital ที่มีอายุมากกว่า 8 ปี เป็นกล้อง Digital รุ่นใหม่ พร้อมเปลี่ยนระบบการบันทึกภาพ เป็น SD Card แทนการบันทึกด้วย DVR และ Server Storage ข้อดี คือ 1.กล้อง Digital รุ่นใหม่ สามารถนำภาพไปประมวลผลด้วยระบบ AI ได้ 2.ใช้ SD Card และ NVR ในการบันทึกภาพแทน Server Storage และ DVR เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ในปี 2568 ได้รับงบประมาณเปลี่ยนกล้อง จำนวน 2,900 กล้อง

ส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพกล้องชนิด Digital แบ่งเป็น ระบบ AI ประมวลผลที่ตัวกล้อง เพื่อการตรวจจับการฝ่าฝืนการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยก การฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางข้ามชนิดกดปุ่ม จำนวน 557 กล้อง และเพื่อการเก็บข้อมูล เช่น ทะเบียนรถที่วิ่งผ่าน อัตราความเร็วของรถ การจัดทำสถิติปริมาณจราจรจำนวน 268 กล้อง

รวมถึง ระบบ AI โดยโปรแกรมประมวลผล ที่มีความสามารถที่หลากหลาย เช่น การตรวจจับการฝ่าฝืน การเก็บทะเบียน การเก็บลักษณะบุคคล เป็นต้น โดยเชื่อมกับกล้องชนิด IP หรือ Digital ได้รับงบประมาณปี 2567 จำนวน 100 สิทธิ์การใช้งาน

นายวิศณุ กล่าวว่า กทม.มีแผนการติดตั้งกล้องฯ ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุม ได้แก่ 1.เปลี่ยนกล้อง ชนิด Digital ทดแทนกล้องที่เสื่อมสภาพ และติดตั้งเพิ่มให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งาน 2.เปลี่ยนจากการบันทึกด้วย DVR และ Server Storage ที่ต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลภาพจำนวนมาก มีค่าใช้จ่ายและค่าซ่อมบำรุงรักษาสูง เป็นบันทึกภาพด้วย NVR หรือ SD Card ที่ตัวกล้อง มีค่าใช้จ่ายและค่าซ่อมบำรุงรักษาที่ต่ำกว่า ซึ่งให้ประสิทธิภาพทำงานสูงขึ้น

3. เพิ่มจำนวนโปรแกรมประมวลผล AI เฉพาะกล้องที่มีความจำเป็นต้องการประมวลผลด้วย AI เช่น แหล่งชุมนุมชน บริเวณพื้นที่สำคัญ พื้นที่สุ่มเสียงต่อการก่อการร้าย หรือพื้นที่ที่มีการจัดกิจกรรมพิเศษ (สงกรานด์ งานกาชาด การชุมชุม เป็นต้น) และเก็บข้อมูลด้วย Server Storage เพื่อลดงบประมาณของกรุงเทพมหานคร

4.การเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพกล้องฯ โดยการเชื่อมกล้องของภาคเอกชน หรือหน่วยงานอื่น เช่น กองบัญชาการตำรวจนครบาล การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 5.การลดต้นทุนการติดตั้งกล้องฯ ในส่วนงานติดตั้ง โดยการใช้ท่อรวมกัน การวางท่อพร้อมการก่อสร้าง/ปรับปรุงทางเท้า การใช้เสาร่วมกัน

6.อยู่ระหว่างดำเนินโครงการศูนย์ควบคุมและบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีการจราจรและความปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2569 ได้แก่ 1.มีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลภาพเพื่อการประมวลผล AI 2.ระบบการเชื่อมโยงกล้องกับหน่วยงานอื่นทั้งหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานคร และภายนอก 3.การดูภาพจากกล้อง CCTV ทั้งหมดด้วยโปรแกรมเดียว (ปัจจุบันใช้โปรแกรมดูภาพ มากกว่า 3 โปรแกรม เช่น Mirasys,Nice Vision,Gfin ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานและมีค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน) ซึ่งทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยและการบริหารจัดการด้านจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ