ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected] นายผาย สร้อยสระกลางน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินชีวิต(3) พ่อพายได้ไปเรียนและอยู่กับพ่อมหาอยู่ สุนทรไท ที่จังหวัดสุรินทร์ บอกเห็นเขาทำอะไรก็จดหมด ผมไปเรียนเรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องพัฒนาบุคลากร พอเรียนแล้วก็เอาความรู้มาพัฒนาของตนเองก่อน พอทำเสร็จแล้วค่อยให้คนอื่นมาดู พ่อพายกล่าวว่า “พ่อมหาอยู่สอนให้ผมรู้ตัวเอง รู้คนอื่นหมื่นแสนก็ชั่งแต่ต้องรู้ตัวเอง รู้ตัวเองคือรู้ว่าพ่อเป็นยังไง แม่เป็นยังไง ทำไมถึงเกิดได้ ใครให้เกิด” หลังจากนั้นขุดสระเป็นสี่เหลี่ยมกว้างสี่ศอกยาวสี่ศอกลึกหนึ่งศอกเป็นมณฑล ขุดวันหนึ่งให้ได้สองสระต่อกันเป็นบ่อเล็ก วันละหลุมสองหลุมต่อกันสุดท้ายก็กลายเป็นสระขนาดใหญ่ ถ้าเป็นคนสมัยนี้สองวันก็เลิกทำแล้วมันทั้งเหนื่อย ทั้งร้อน ทั้งต้องใช้ความอดทน โดยการสร้างสระนั้นเอาฤดูเป็นตัวตั้งไม่สามารถกำหนดขนาดที่ตายตัวได้ เพราะช่วงที่ทำคือตั้งแต่ต้นแล้งพอไปถึงหน้าฝนก็หยุดและเอาขนาดพื้นที่เป็นตัวตั้งด้วยว่าจะทำเป็นพื้นที่สำหรับเก็บน้ำเท่าไหร่ ทำไปจนกว่าคิดว่าทำใช้แล้งยันแล้ง ผ่านการลองผิดลองถูกมามาก และเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงให้มีพื้นที่เก็บกักน้ำประมาณ 19000 ลบ.ม. แต่พระองค์ท่านทรงตรัสเพิ่มเติมว่าแต่ควรมีแหล่งน้ำเดิมอยู่ใกล้เพื่อค่อยเอามาเติม จนมีคนนำมาพัฒนาเป็นทฤษฎีขนมครก ที่มีแหล่งน้ำเดิมใกล้เคียงค่อยนำมาเติมเลย พอมีน้ำป่าก็งดงามตามสภาพ ชีวิตก็จะงดงามตามกันไปเช่นกัน ถ้ามีน้ำก็จะมีทุกอย่าง ก็จะประสบความสำเร็จ พ่อผายผายนั้นจึงสอนชาวบ้าน ให้รู้จักออมดิน ออมน้ำ ออมต้นไม้ โดยการขุดสระน้ำในที่นาของตนเองเอาไว้เลี้ยงปลา และสำหรับการทำเกษตรผสมสาน โดยมีครอบครัวบ้านสระคูณร้อยละ ๙๘ ที่ขุดสระ แต่ละครอบครัวจึงมีสระน้ำตั้งแต่ ๑ สระจนถึง ๕ สระ หลังจากนั้นทำให้ชุมชนเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นรายจ่ายลดลงจนไม่มีหนี้ มีเงินออมเพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมถูกทำลายน้อยลงจนสามารถฟื้นฟูสู่ความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนได้รับประทานอาหารปลอดสาร ทำให้สุขภาพแข็งแรง มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พ่อพายปลูกทุกอย่างที่กินได้ส่วนพวกที่กินไม่ได้ ตอนมีข้าราชการผู้ใหญ่เขามาให้ผมปลูก ส่วนพวกต้นสักที่ปลูกคืออยากให้เป็นมรดกของลูกหลาน “ผมรักต้นไม้มากเพราะผมเกิดจากต้นไม้พอผมเกิดมา แม่ผมก็ต้องอยู่ไฟ กินน้ำร้อน ต้นไม้เลี้ยงผมมาพอเวลาให้นมผมน้ำนมก็เลยดีผมก็คิดว่าประโยชน์มาจากตรงนั้นแหละ ต้นไม้ให้ประโยชน์กับผมทุกอย่าง ดูบ้านผม เสาก็เสาไม้ เครื่องใช้ต่างๆก็ไม้หมด หรือง่ายๆปัจจัย 4 อยู่ในต้นไม้ผมหมด อีกทั้งให้ร่มไม้ ต้นตะบกเวลาไปนั่งใต้ต้นมันลูกมันสุกก็ตกลงมาก็ได้กินลูกมัน” จากคำกล่าวของพ่อพาย ระหว่างพูดคุยกับพ่อผายอยู่นั้นเองมีเสียงระฆังวัดดังขึ้นพอดีเพราะเป็นช่วงฉันท์เพลของพระพอดีและหลังจากนั้นเพียงสักครู่มีแม่ขาว (ชื่อที่ชาวบ้านจะเรียกคนที่ใส่เสื้อขาวมาถือศีล) ตามพ่อผายพร้อมหมู่คณะไปกินข้าว กับข้าวนั้นจัดเป็นสำรับ โดยมีถาดหนึ่งวางอยู่ตรงกลางเป็นถาดที่เต็มไปด้วยของทอดทั้งหมูทอด เนื้อทอด ปลาทอด และปลาดุกนาย่างกลิ่นหอมมารับประทาน ยังมีแกงปลาใส่หน่อไม้ดองและแกงไก่ใส่หยวกกล้วยอีกซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านที่น่าลิ้มลองมาก ทั้งกลิ่นและรสชาตินั้นไม่พื้นบ้านอย่างที่คิด ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตท้องถิ่นเป็นอย่างดี ซึ่งพอดูแล้วเป็นสิ่งที่ธรรมดาแต่มีเสน่ห์มาก เมื่อกินข้าวเที่ยงแล้วก็กลับมาเริ่มพูดคุยกับพ่อผายถึงเรื่องราวต่างๆในชีวิตกันต่อ พ่อพายมีอารมณ์ขัน ร้องเพลงให้ฟัง “นอนสาหล่า หลับตาแม่สิกล่อม เจ้าบ่นอนบ่ให้กินกล้วย แม่ไปห้วยไปส่อนปลาซิว เก็บผักติ้วมาใส่แกงเห็ด ไปใส่เบ็ดได้ปลาค้อใหญ่ อย่าฮ้องไห้แมวโพลงสิจกตา...อีเกิ้งเดือนดาว ผู้สาวตำข้าวผู้เฒ่าเป่าแคน ตั๊กแตนเป่าปี่แมงกุดจี่ไถนา นกกระทาตุ้มป๋อม ๆในครัวมีปั้นข้าวจี่ สงสารแมงวันแมงหวี่ตอมปั้นข้าวจี่ เด็กน้อยนอนเว็น” เป็นเพลงกล่อมที่ฟังรู้ความหมายบ้างไม่รู้บ้างแต่ท่วงทำนองบวกน้ำเสียงที่สอดใส่อารมณ์ชวนเคลิ้มพาให้อยากจะหลับซะจริงๆ พ่อพายบอกว่า เรื่องต้นไม้ที่มีราคานั้นพ่อพายไม่ได้นำมาปลูก ส่วนใหญ่ผู้รับผู้ใหญ่เขาเอามาให้ปลูก พ่อพายมีวิธีเลือกพันธ์คือพันธ์นี้อยู่ที่ไหน เคยอยู่ภาคอีสานไหม เช่นพันธ์อยู่ภาคใต้พอเอามาปลูกก็โตช้า ลูกก็ไม่ดกถ้าเอามาจากภาคอีสานนี่โตเร็ว แต่ถ้าเอามาจากภาคอื่นโตช้า เพราะคุ้นกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม ที่เอาพันธ์จากภาคอื่นมาปลูกเพราะไม่มี อยากรู้ อยากทดลอง มีต้นส้มโอที่นำพันธ์มาจากจังหวัดนครนายกที่ปลูกแล้วโตดี ลูกใหญ่ ถือว่าประสบความสำเร็จใช้ได้ ผมเคยได้ยินมาว่าผักหวานป่านั้นปลูกยากมากกว่าจะโต บางคนก็ปลูกแล้วตาย บ้างไม่ตายก็ไม่โตแต่พ่อพายบอกว่า “ผักหวานป่าเมื่อเทียบกับพืชอื่นที่ปีหนึ่งจะโตขึ้นๆอย่างรวดเร็ว แต่ผักหวานป่านี้ต่อให้ดูแลดียังไงก็ขึ้นแค่คืบเดียวเท่านั้น ปีที่สองจะโตขึ้นและปีที่สามจะโตจนออกยอด เพียงแต่เราต้องดูแลรักษาไม่ให้มันตาย เพราะมันต้องข้ามฤดูแล้งไปสองฤดู แต่ถ้ามีต้นไม้มันแล้วสับรากจะโตดีมาก ผักหวานป่าเป็นยาแก้ผิดสำแดง เป็นโรคของผู้หญิงอาการจะท้องผูก อาเจียน” “ส่วนที่ปลูกไม่ขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งรากผักหวานที่เอามาปลูก ที่จริงรากผักหวานนี้ปีแรกตอนแค่คืบหนึ่งแต่รากนี้ยาวมาก แต่ถ้าข้ามปีต้นสวยอยู่แต่ระบบรากมันไปแล้ว ผักหวานแหละถ้าคนปลูกไม่เข้าใจยังไงก็ตาย ต้องรู้จักนิสัย และเวลาของผักหวาน ปัจจัยอื่นคือต้องตรวจสอบก่อนว่าพื้นที่เคยมีผักหวานป่าไหม อีกอย่างคือผักหวานป่าต้องมีพืชพี่เลี้ยง เพราะรากเขาอ่อนแอฉะนั้นเวลาเขาหากิน เขาจะไปตามรากของต้นไม้ใหญ่เพื่อที่จะประคองตัวเอง เช่นต้นแคบ้าน ตะขบบ้าน มะขามเทศ” พ่อพายแอบบอกมาว่าผักหวานป่าเหมาะสำหรับคนขี้เกียจ แต่ต้องเข้าใจสภาพของผักหวาน สภาพพื้นดิน คนที่มาดูกับผมแล้วนำไปปลูก 3 วันตายเพราะเขาขยัน รดน้ำเช้า เย็น พอใบเหลืองหน่อยรดน้ำ พรวนดินใส่ปุ๋ย 3 วันตาย ส่วนดินควรใช้ดินเดิมจะเพาะง่าย หยอดเมล็ดดีสุด และตอนนี้พ่อพายและลูกข่ายกำลังหาต้นไม้หายากมาปลูกอย่างเช่น ลูกหยี นมวัวเพื่อนำมาทดลองปลูกเก็บรักษาไว้เพิ่มเติมนอกจากผักหวานป่า “ผมเกิดอยู่ที่อีสานเน้อ บ้านผมก็ไม้ พ่อผมก็เป็นชาวบ้านเอาไม้มาทำบ้าน ถ้ามีป่าไม้ที่ไร่นามากๆ ไร่น่าก็จะสวย ทำให้ปลูกข้าวได้ดี บ้านก็สวย เจ้าของก็รวยเงิน พอดีไม่มีไฟฟ้าเราก็เผาถ่าน (นี่ตรงกับแนวในหลวงเรื่องปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง)” พ่อพายเล่าให้ฟังว่าครั้งหนึ่งในชีวิตเคยได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นทรงจำที่คงสถิตอยู่ในใจชายชราคนหนึ่งไปตลอดกาล“ผมจำได้ว่าในหลวงถามผมว่าสบายดีไหม ตอนนี้ทำอะไอยู่ ลำบากไหม ผมทูลในหลวงว่า “ถ้าเหงื่อออกมากก็ได้เงินมาก ถ้าเหงื่อออกน้อยก็ได้เงินน้อย ถ้าเหงื่อไม่ออกก็แปลว่าไม่ขยันเราเป็นชาวนาไม่ขยันไม่ได้” คำกล่าวของพ่อพาย พ่อพายยังบอกต่อว่า “ผมยังจำได้คร่าวๆว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสกับผมว่า “กินอิ่ม นอนอุ่น อยู่ดี หนี้หมด ทำได้ไหมนายผาย” ผมก็ตอบไปว่าทำได้พระเจ้าค่ะ ผมคิดว่าชาวนาสบายนะ ข้าราชการเขาไม่มีเวลาพักเหมือนชาวนาเพราะเขามีหน้าที่ที่ต้องทำ ส่วนเราเป็นเกษตรกรอยากทำเมื่อไหร่ก็ได้เหนื่อยก็นอนพักได้” ..................................