วันที่ 19 ก.ย.66 ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ นักกิจกรรมนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ @NuttaaBow ระบุว่า...

แทนที่บุ้งจะสนับสนุนให้หยกกลับบ้าน บุ้งกลับสนับสนุนให้หยกออกจากบ้าน แล้วย้ายมาอยู่กับตัวเอง และเปิดบัญชีบริจาคให้คนโอนเงินสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มทะลุวัง เพื่อจะป่วนไปทั่ว สะสมคดีความ ดับอนาคต .. อีกสองสามปีหยกก็จะบรรลุนิติภาวะ ไม่มีคำว่าเด็กเป็นเกราะคุ้มกันอีกต่อไป ในวันที่คดีความของบุ้งสิ้นสุดและเดินเข้าคุก .. หวังว่าหยกจะรู้ตัว กลับบ้าน หรือยอมเข้ากระบวนการช่วยเหลือของรัฐ ไม่ใช้คำว่าเด็กสิ้นเปลืองเกินไปจนหมดเวลา #ทะลุวัง #ก้าวไกล #ภัยสังคม

ถ้าหยกอายุต่ำกว่า 9 ปี รัฐจะสามารถดำเนินคดีพ่อแม่ข้อหาทอดทิ้งบุตรได้ แต่เมื่ออายุเกิน 9 ปี กระบวนการช่วยเหลือจึงซับซ้อนกว่านั้น และยากขึ้นไปอีกเมื่อเด็กไม่ให้ความร่วมมือ จนถึงยากที่สุดเมื่อมีกลุ่มการเมืองคอยจับผิดและพร้อมจะมีปัญหากับหน่วยงานรัฐ ในขณะที่มีเด็กอีกมากมายที่ต้องการและสมควรได้รับการช่วยเหลือและทุ่มเททรัพยากร

ความร่วมมือของหยกเองซึ่งเป็น “นางสาว” แล้วไม่ใช่ “เด็กหญิง” จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการคลี่คลายปัญหาด้วย แต่ที่ผ่านมาหยกปฏิเสธทุกอย่าง เพราะมีแนวร่วมและกลุ่มการเมืองคอยทำให้เขาเชื่อว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นคือความกล้าหาญที่น่ายกย่อง … แต่สุดท้ายคนที่จะต้องรับผลของการตัดสินใจเลือกนั้นคือตัวหยกเอง และโดยลำพัง ในวันที่ไม่เหลือคำว่าเด็กไว้ให้ใครหาประโยชน์อีกต่อไป

สำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ พ่อแม่จะใช้คำว่า “เคารพการตัดสินใจของลูก” ได้ ก็เฉพาะสิ่งที่ไม่เป็นภัยกับสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเด็กเท่านั้น หากเด็กจะทำอะไรที่เป็นภัยกับตนเอง แล้วผู้ปกครองปล่อยให้ทำ โดยอ้างว่าเคารพการตัดสินใจของเด็ก คุณคือผู้ใหญ่ที่ไร้ความรับผิดชอบ และบกพร่องใน “หน้าที่หลัก” ของความเป็น “ผู้ปกครอง”