ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) รวบหนุ่มแสบ อ้าง ผบช.ก. วิ่งเต้นคดี
ลวงเหยื่อสูญเงินกว่า 4.5 ล้าน

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชัยสังฆะ รอง ผบช.ก. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป., พล.ต.ต.คงกฤช เลิศสิทธิกุล ผบก.ทล.,พ.ต.อ.พัฒนศักดิ์ บุบผาสุวรรณ, พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย, พ.ต.อ.บุญลือ ผดุงถิ่น, พ.ต.อ.ปทักข์ ขวัญนา รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.เอกสิทธิ์ ปานสีทา ผกก.4 บก.ป., พ.ต.อ.มนูญ แก้วก่ำ ผกก.1 บก.ป., พ.ต.อ.ภคพล สุชล ผกก.2. บก.ทล., พ.ต.ท.เจษฎา แก้วจาเครือ, พ.ต.ท.อรรถวิทย์ สุขทัศน์, พ.ต.ท.เอนก บุญตา รอง ผกก.4 บก.ป., พ.ต.ท.ทัตพร เลขะวัฒนพงษ์ สวญ. ส.ทล.2 กก.8 บก.ทล.

เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ท.ศุภกร ตังคะประเสริฐ รอง ผกก.4 บก.ป. , พ.ต.ต.ณรงค์ หาญสันเทียะ, พ.ต.ต.พัฒน์ คล้ายวัฒนะ, ว่าที่ พ.ต.ต.พนา สี่สุวรรณ สว.กก.4 บก.ป., ร.ต.ต.สุชีพ นาคา รอง สว(ป.)ฯ, ร.ต.อ.ศรัณยพงศ์ อ่อนสิงห์ รอง สว.ส.ทล.1 กก.2 บก.ทล., ร.ต.อ.สมศักดิ์ ทรัพย์เล็ก รอง สว.(ป.) ส.ทล.2
กก.2 บก.ทล.

ร่วมกันจับกุม
1.นายพรหมพร (ณฐพนธ) หรือพัฒน์ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 35 ปี ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ต้องหาตามหมายจับของ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 5 ที่ 39/2566 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2566 คดีอาญา ที่ 553/2566 สภ.สารภี จ.เชียงใหม่  โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง,เรียกรับทรัพย์สิน เป็นการตอบแทนในการจูงใจหรือจะจูงใจเจ้าพนักงาน โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมาย” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143
 
สถานที่จับกุม บริเวณ หน้าหน่วยบริการประชาชนตำรวจทางหลวงวังมะนาว ถนนพระราม 2 ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
 
โดยพฤติการณ์สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ ผู้เสียหายได้ถูกดำเนินคดี ที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด ในความผิดฐาน “ฉ้อโกง” และอยู่ระหว่างต่อสู้คดีในชั้นศาล ต่อมานายณฐพนธฯ ผู้ต้องหา อ้างว่าตนทำงานที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สามารถช่วยดำเนินการวิ่งเต้นคดี ยื่นขอประกันตัว ขอถอดกำไลอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากมีความสนิทสนมกับผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต่อมานายณฐพนธฯ ได้ยื่นเรื่องประกันตัวผู้เสียหายตามขั้นตอนของศาล จนผู้เสียหายได้รับการประกันตัว แต่นายณฐพนธฯ ไปแอบอ้างว่าเป็นผลจากวิ่งเต้นคดีของตน ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าผู้ต้องหาสามารถวิ่งเต้นคดีได้จริง พร้อมเรียกค่าใช้จ่ายในการวิ่งเต้นคดีฉ้อโกงก่อนหน้านี้ เป็นเงินจำนวน 3,750,000 บาท​


ขณะเดียวกัน ผู้เสียหายทราบว่าตนเองถูกดำเนินคดีในข้อหา “ฉ้อโกงประชาชน และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ” ของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งนายณฐพนธฯ หลอกลวงอ้างกับผู้เสียหายว่า สามารถประสานกับ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. เพื่อช่วยเหลือวิ่งเต้นคดีได้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ โอนเงินจำนวน 500,000 บาท ให้กับนายณฐพนธฯ เพื่อเป็นค่าดำเนินการวิ่งเต้นเคลียร์คดีรวมมูลค่าความเสียหาย ที่นายณฐพนธฯ หลอกลวงผู้เสียหายว่าจะนำไปวิ่งเต้นคดี เป็นเงินจำนวน 4,250,000 บาท
ต่อมาผู้เสียหายมาทราบภายหลังว่าถูกหลอกลวง จึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่ สภ.สารภี จ.เชียงใหม่ และพนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐาน ขอศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 5 ออกหมายจับนายณฐพนธฯ ตามหมายจับที่ 39/2566 ลงวันที่ 6 ธ.ค.2566 ในข้อหา “ฉ้อโกง,เรียกรับทรัพย์สิน เป็นการตอบแทนในการจูงใจหรือจะจูงใจเจ้าพนักงาน โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143” และได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. เพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหาอีกกรณีหนึ่ง
เจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง กก.1,กก.4 และ กก.5 บก.ป. ได้ร่วมกันสืบสวนติดตามจับกุมตัวนายณฐพนธฯ จนทราบว่า ในวันที่ 19 ธ.ค. 2566 นายณฐพนธฯ ขับรถจะเดินทางจากกรุงเทพมหานครมุ่งหน้าลงใต้ ไปตามถนนพระราม 2 จึงได้ประสานกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 , กก.8 บก.ทล. ให้ติดตามสกัดจับนายณฐพนธฯ ได้ ที่หน้าหน่วยบริการประชาชนตำรวจทางหลวงวังมะนาว ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี พร้อมตรวจยึดรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ สีบรอนซ์ เทา จำนวน 1 คัน ก่อนควบคุมตัวนายณฐพนธฯ ส่ง พนักงานสอบสวน สภ.สารภี จ.เชียงใหม่ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป


จากการตรวจสอบประวัติคดีอาญาฯ ย้อนหลัง 10 ปี นายพรหมพรฯ หรือนายณฐพนธฯ พบว่า มีประวัติเคยถูกดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง, พ.ร.บ.เช็ค และคดีอื่นๆ มากกว่า 20 กว่าคดี ในหลายท้องที่ โดยแผนประทุษกรรม จากการตรวจสอบ แบ่งได้ 3 กรณี คือ


กรณีที่ 1 ผู้ต้องหาได้หลอกลวง ว่าได้ทำการสั่งจองตั๋วเครื่องบิน เดินทางไปต่างประเทศได้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ จึงได้จ่ายเงินให้ไป ต่อมาจึงทราบว่า ไม่มีการซื้อตั๋วเครื่องบินจริง ตามที่ตกลงกันไว้
กรณี ที่ 2 ผู้ต้องหา ได้ออกเช็คชำระหนี้ให้ผู้เสียหาย เมื่อถึงกำหนดเมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ปรากฎว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน


กรณี ที่ 3 ผู้ต้องหาหลอกลวง โดยแอบอ้างสามารถช่วยเหลือ วิ่งเต้น เรื่องคดีความและสามารถขอให้ศาลถอดกำไลอิเล็กทรอนิกส์ได้ ช่วยเหลือเรื่องการติดต่อขอประกันตัว จนผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้
 
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ไม่มีการเรียกรับเงินเพื่อวิ่งเต้น หรือช่วยเหลือในทางคดีแต่อย่างใด หากพบเห็นกรณีดังกล่าวขอให้เชื่อว่าเป็นการหลอกลวงแอบอ้าง และหากมีข้อสงสัยในทางคดีสามารถเข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน
ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อสอบถาม หรือปรึกษาข้อสงสัยได้โดยตรง

สอบถามปากคำผู้ต้องหาเบื้องต้น ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา