เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ได้โพสต์ภาพ พร้อมข้อความระบุว่า...

ห​อร​ำลึกการลุกฮือแห่งอู่ชาง

เรายังอยู่ในเขตอู่ชางสายฝนยังโปรยปรายไม่ขาดเม็ดเดินพาคณะกลุ่มเล็กออกจากหอนกกระเรียนเหลืองลอดใต้ท้องถนนมีที่หลับนอนของคนไร้บ้านขึ้มาถึง"อนุสรณ์สถานการปฏิวัติซินไห่" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า"ตึกแดง"ด้านหน้ามีรูปั่นขนาดตัวจริง.ดร.ซุนยัดเซ็นเด่นเป็นสง่าทีานี่เคยใช้เป็นตึกสภาที่ปรึกษามณฑลหูเป่ย์

ย้อนเวลาทวนเข็มนาฬิกากลับไปอดีตของนครอู่ฮั่นเป็นเมืองที่ผ่านประวัติศาสตร์จีนมาอย่างเข้มข้นมาตั้งแต่ยุครณรัฐ สามก๊ก จนถึงประวัติศาสตร์จีนยุคใหม่ที่เป็นจุดกำเนิดของการก่อการที่อู่ชาง  (武昌起义) จนนำไปสู่การปฏิวัติซินไห่ในปี 1911 การโค่นล้มราชวงศ์ชิง การก่อตั้งสาธารณรัฐจีน และยังเคยเป็นเมืองหลวงช่วงสั้น ๆ ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในปี 1937

เมื่อปี 1910 หรือเพียง 1 ปี ก่อนการโค่นล้มราชวงศ์ชิงในประเทศจีน ได้มีแผนการก่อสร้างอู่ฮั่นฉางเจียงต้าเฉียวเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกับทางรถไฟจากปักกิ่งและกว่างโจว แต่ในช่วงดังกล่าวติดปัญหาด้านข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจและสถานการณ์สงครามทั้งสงครามโลกและสงครามกลางเมือง จนในปี 1950 ได้เริ่มทำการก่อสร้างอย่างเต็มรูปแบบและก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 1957 และใช้งานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

พรรคก๊กมินตั๋งช่วงจีนเป็นระบบสาธารณรัฐได้กำหนดนโยบายลัทธิไตรราษฎร์ประกอบด้วยหลักการสามข้อ ได้แก่ "ประชาชาติ" (民族; people's rule) คือ ความนิยมชาติ, "ประชาสิทธิ์" (民權; people's right) คือ ประชาธิปไตย, และ "ประชาชีพ" (民生; people's livelihood) คือ ความอยู่สุขสวัสดีของผองชน

ซึ่งรัฐบาลนายพลเจียไคเซ็กกลับล้มเหลวไม่เป็นท่าเพราะเต็มไปด้วยทุจริตเชิงนโยบายแต่เมื่อกลายเป็นรัฐบาบพลัดย้ายไปยะงเกาะไต้หวันเขาได้นำบทเรียนของความบ้มเหลวและเข้มงวดพร้อมการนำหลักการทั้งสามไปใช้นั้นก่ออิทธิพลและผลลัพธ์ที่เด่นชัดที่สุดเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของสาธารณรัฐจีนในไต้หวัน อนึ่ง

ปรัชญานี้ถูกอ้างว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของนโยบายของสาธารณรัฐจีนซึ่งดำเนินการโดย พรรคก๊กมินตั๋ง (國民黨) หลักการเหล่านี้เป็นดังเสาค้ำชาติไต้หวันที่ แบกไว้บนบ่า หลักการทั้งสามยังปรากฏในท่อนแรกของเพลงชาติสาธารณรัฐจีนด้วยมิวเซียมแห่งนี้เข้าชมฟรีทั่งคนจีนและชาวต่างชาติ... อู่ฮั่นมีอะไรเที่ยวเยอะและรื่นรมย์

 

 

ขอบคุณข้อมูล :เฟซบู๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต