รศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล หลังวันสำคัญทางศาสนาพุทธ “วันมาฆบูชา” และตามด้วยพระราชพิธีสำคัญการสถาปนา “สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 : สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” เป็นที่เรียบร้อยสร้างความปลาบปลื้มปิติยินดีให้แก่ชาวไทยทุกคนโดย “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10” ที่ได้ทรงสถาปนาด้วยพระองค์เองที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อุณหภูมิการเมืองค่อยๆ เริ่มระอุขึ้นมาทันทีเมื่อ “วันวาเลนไทน์” 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ด้วยการเชิญพรรคการเมืองประมาณ 70 พรรคให้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นว่าจะปรองดองสามัคคีกันได้อย่างไร โดยเงื่อนไขสำคัญมีด้วยกัน ป.ย.ป.มีเงื่อนไขว่าการปรองดองครั้งนี้จะไม่มีนิรโทษกรรมแต่มีข้อเสนอของคณะกรรมการต่าง ๆ ในอดีตว่าใช้กระบวนการกฎหมายที่มีอยู่ เช่น การถอนฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี ส่วนคดีที่ถึงที่สุดแล้วก็มีการอภัยโทษ ลดโทษตามกระบวนการในฐานะที่เรียนกฎหมายรู้ว่ามูลเหตุจูงใจคดีอาญาไม่เป็นเหตุให้มีการละเว้นโทษ แต่เพราะหัวข้อศึกษาปรองดองทั้งหมดที่ผ่านมา พูดถึงเรื่องมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ตัดช่วงตั้งแต่ปี 2548-2557 เป็นเหตุให้ไม่ต้องรับโทษ หรือไม่มีความผิด จึงต้องศึกษาต่อว่าจะวางกรอบอย่างไร เช่น การสั่งไม่ฟ้อง การถอนฟ้อง ไม่ต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรมก็ได้                “คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง” ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 4 คณะ ประกอบด้วย 1. คณะอนุกรรมการด้านรับฟังความคิดเห็น 2.คณะอนุกรรมการบูรณาการ ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ 3. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอกระบวนการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง และ 4. อนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ โดยมีเงื่อนไขสำคัญด้วยกัน 5 ประการ กล่าวคือ จะไม่มีการกล่าวหากล่าวโทษว่าใครผิดใครถูกในอดีต นั่นหนึ่งล่ะ สองจะไม่มีการฟื้นฝอยหาตะเข็บกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอดีตหรือกล่าวถึง สามจะไม่มีการรื้อฟื้นคดีใดก็ตามที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมอยู่แล้ว หรือกล่าวง่ายๆ หมายความว่า จะให้เป็นการดำเนินคดีต่อไปจะไม่มีการเข้าไปแทรกแซง สี่จะไม่มีการกล่าวถึง กฎหมายนิรโทษกรรมเด็ดขาด และห้าจะมีแต่การนำเสนอให้เกิด “อนาคตสดใส” แก่การปฏิรูปและพัฒนาชาติบ้านเมือง         สำหรับกรอบการทำงานของคณะอนุฯ ด้านรับฟังความคิดเห็น จะมีการเชิญพรรคการเมืองทุกพรรค ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย มาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อเสนอแนะในความคิดที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ร่วมกัน โดยเปิดเวทีสาธารณะให้ทุกกลุ่มทุกฝ่าย และผู้มีส่วนได้เสียมีเวทีพูดคุยและหารือกัน แล้วจะส่งข้อเท็จจริงจากการพูดคุยไปให้ “คณะอนุกรรมการบูรณาการ” ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ ในการรวบรวมข้อเสนอแนะทั้งหมด และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อเตรียมการปฏิรูป  จากนั้นจะส่งให้ “คณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอกระบวนการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง” สำหรับประเด็นหารือมีทั้งหมด 10 บวก 1 หัวข้อ ประกอบด้วย 1. ด้านการเมือง การแก้ปัญหาโดยสันติวิธีเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทยขึ้นอีก ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ 2. ด้านความเหลื่อมล้ำ เช่น การครอบครองที่ดินทำกินของเกษตรกร การเข้าถึงแหล่งน้า มักถูกยกมาเป็นประเด็นสร้างความขัดแย้งอย่างกว้างขวาง จะมีการพูดถึงแนวทางในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้า เพื่อลดความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองในสังคมไทย 3. ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงต่อการขยายไปสู่ความขัดแย้ง จะมีทางออกหรือวิธีการดำเนินการต่อประเด็นความขัดแย้งที่เกิดจากความไม่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม การแทรกแซงการบังคับใช้กฎหมายอย่างไร 4. มีแนวทางเสริมสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ต่อประเด็นความแตกต่างทางสังคม ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การศึกษา และสาธารณสุขอย่างไร 5. แนวทางในการไม่ให้สื่อเป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้งได้อย่างไร 6.มีแนวทางที่จะทาให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น ความขัดแย้งเรื่องพลังงาน การก่อสร้างโรงไฟฟ้า ฯลฯ ไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาสร้างความขัดแย้งในสังคมได้อย่างไร 7. มีแนวคิดที่จะดำเนินการต่อประเด็นปัญหากิจการภายในประเทศมายกระดับให้เป็นปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ รวมทั้งผลกระทบจากการดำเนินการของต่างประเทศ เช่น ปัญหาเขตแดน ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ปัญหาเสรีภาพและประชาธิปไตย ปัญหาแรงงานและการค้ามนุษย์ ฯลฯ ที่ส่งผลทาให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทยอย่างไร 8. มีแนวคิดอย่างไร ที่จะป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อไม่ให้เป็นสาเหตุนามาซึ่งความขัดแย้ง ในสังคมไทย 9. ด้านการปฏิรูป มีข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปอย่างไร เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดอง 10. มีข้อเสนอแนะให้เกิดการยอมรับและร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน หรือไปสู่เป้าหมายร่วมกันอย่างไร นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอจากคณะกรรมการฝากเพิ่มเติมว่ามีความจำเป็น “ข้อที่ 11 คือ มองปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร และจะแก้ไขปัญหาอย่างไร!” รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันส่งหนังสือเชิญครบ 70 พรรค ร่วมเสนอแนะแนวทางปรองดองแล้ว ระบุยังไม่มีสัญญาณพรรคใดปฏิเสธเข้าร่วมพูดคุย พร้อมขอคนไทยหัวใจเดียวกันรู้สักสามัคคีร่วมกันหาทางออกพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุถึงการประชุมคณะกรรมการเตรียมการปรองดอง โดยทุกพรรคนั้นจะร่วมแสดงความเห็นใน 10 หัวข้อที่ ป.ย.ป.กำหนดไว้ แต่หากพรรคใดมองว่าน้อยเกินไปสามารถเสนอเพิ่มได้ ทั้งนี้ พรรคใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปตย์ จะตอบรับอย่างไรนั้นยังไม่ทราบ แต่เบื้องต้นไม่มีสัญญาณว่าพรรคใดจะปฏิเสธ และยืนยันว่าการรับฟังความคิดเห็นทุกพรรคยังอยู่ในกรอบเวลาเดิมคือ 3 เดือน ประเด็นสำคัญคือ กระบวนการขั้นตอนในการแสดงความคิดเห็นนั้นจะถูกรวบรวม และที่สำคัญต้องให้ “ตกผลึก!” ให้ได้เพื่อเสนอแนวทางในทางรูปธรรมที่สามารถดำเนินการได้ เพื่อปฏิรูปและพัฒนาประเทศต่อไป...มิใช่แค่พูดอย่างเดียว แต่ไม่มีประการใดปรากฎ!