ศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล สัปดาห์นี้ขอระงับ “การปฏิรูปประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน” ที่เราใกล้ “วันปีใหม่ไทย-วันสงกรานต์” ที่พี่น้องประชาชนต่างๆ เริ่มเดินทางกลับภูมิลำเนากันบ้างแล้ว จริงๆ แล้วน่าจะเริ่มเดินทางกันตั้งแต่ “วันจักรี” ที่ 6 เมษายน ด้วยการลากิจ ลาป่วย ลาทำธุระเพียง 3 วันเท่านั้น ก็จะได้หยุดยาว 11 วันกันเลยทีเดียว! ใครจะคิดครับว่า “วันสงกรานต์ 2560” เวียนบรรจบวนกลับมาอีกแล้ว ช่างเร็วจริงๆ หนึ่งปีผ่านไป ส่งสัญญาณว่า ทุกคนก็แก่กันลงไปอีกหนึ่งปี แต่จริงๆ แล้วเหตุการณ์เกิดขึ้นต่างๆ มากมาย ถ้าจะให้รวบรวมก็คงไม่หวาดไหว! วันสงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม และมนฑลยูนานของจีน รวมถึงศรีลังกา และประเทศทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานกันว่า ประเพณีสงกรานต์นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน โดยจะจัดให้มีขึ้นในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งก็คือเดือนมีนาคม สงกรานต์ เป็นคำในภาษา “สันสกฤต” ที่หมายถึง “การเคลื่อนย้าย” โดยเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทยและบางประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเพณีสงกรานต์นั้นมีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงมักเรียกรวมกันว่า “ประเพณีตรุษสงกรานต์” หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมทีวันที่จัดสงกรานต์นี้นั้นจะมีการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดวันที่แน่นอน คือ ตั้งแต่ 13 – 15 เมษายน แต่เดิม วันขึ้นปีใหม่ไทย คือ วันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 และได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483 ประวัติวันสงกรานต์ เมื่อครั้งก่อน “พิธีสงกรานต์” เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงให้พิธีสงกรานต์นั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ โดยได้ขยายออกไปสู่คมเป็นวงกว้างมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศคติ ตลอดจนความเชื่อไป แต่เดิมในพิธีสงกรานต์จะใช้ น้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของพิธี แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ในวันนี้จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ มีการรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ต่อมาในสังคมไทยสมัยใหม่เกิดเป็นประเพณีกลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นับว่าวันสงกรานต์เป็น “วันครอบครัว” อีกทั้งยังมีประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่าง การสรงน้ำพระที่นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ประวัติของวันสงกรานต์นั้น เป็นเพียงเรื่องเล่าสืบกันมายาวนาน โดยได้มีใจความไว้ในวัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แต่จะขอเล่าย่อๆ ตอนสุดท้ายก็แล้วกัน พระอินทร์ซึ่งนับเป็นพระที่มีอิทธิฤทธิ์สูงสุด จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรลงไปปฏิสนธิในครรภ์ บิดามารดาจึงขนานนามว่า ธรรมบาลกุมาร แล้วปลูกปราสาทขึ้นให้กุมารอยู่ใต้ต้นไทรริมสระฝั่งแม่น้ำนั้น ครั้นเมื่อกุมารเจริญขึ้นก็รู้ภาษานกและเรียนจบไตรเพทเมื่อมีอายุได้ 8 ขวบ อีกทั้งยังได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่างๆ แก่มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งปวง ซึ่งขณะนั้น โลกทั้งหลายนับถือ “ท้าวมหาพรหม” มีกบิลพรหมองค์หนึ่งได้แสดงมงคลการแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมได้แจ้งเหตุที่ธรรมกุมารเป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นที่นับถือของมนุษย์ชาวโลกทั้งหลาย ทั้งนี้เรื่องราวยังมีอีกเยอะแต่ขอสรุปว่า เมื่อธรรมบาลกุมารที่นอนอยู่ใต้ต้นไม้ได้ยินการสนทนาของทั้งสองก็จำได้ จึงมีความโสมนัส ปีติ ยินดีเป็นอันมาก จึงเดินทางกลับมาที่ปราสาทของตน ครั้นถึงวาระเป็นคำรบ 7 วันตามสัญญา ท้าวกบิลพรหมก็ลงมาถามปัญหาทั้ง 3 ข้อตามที่นัดหมายกันไว้ ธรรมบาลกุมารก็วิสัชนาแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อตามที่ได้ฟังมาจากนกอินทรีนั้น ท้าวกบิลพรหมยอมรับว่าถูกต้อง และยอมแพ้แก่ธรรมบาล จำต้องตัดศีรษะของตนบูชาตามที่สัญญาไว้ แต่ก่อนที่จะตัดศีรษะ ได้เรียกธิดาทั้ง 7 อันเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์ คือ นางทุงษะเทวี นางรากษเทวี นางโคราคเทวี นางกิริณีเทวี นางมณฑาเทวี นางกิมิทาเทวี และนางมโหธรเทวี เปิดนามนางสงกรานต์2560 “นางกาฬกิณีเทวี” เผยคำทำนาย “ปีนี้หวั่นน้ำมากปลายปี พืชพรรณธัญหารถูกแมลงรบกวนเสียหาย บ้านเมืองจะเกิดสงคราม” คำทำนายก็คือคำนาย กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีประกาศ “สงกรานต์ปีพุทธศักราช 2560” เปิดเผยว่า ในปี2560นี้ วันที่ 14 เม.ย. เป็น “วันมหาสงกรานต์” ทางจันทรคติตรงกับ วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา “วันเถลิงศก” ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 16 เม.ย. เวลา 06.46 น. โดยนางสงกรานต์ประจำปี 2560 ทรงมีนามว่า “นางกาฬกิณีเทวี” หรือ นางกิริณีเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา หัตถ์ขวาทรงขอช้าง หัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จไสยาสน์หลับเนตร(นอนหลับตา) มาเหนือหลังกุญชร(ช้าง) เป็นพาหนะ โดยมีคำทำนายในทางโหราศาสตร์จากสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ ระบุไว้ว่า “เกณฑ์พิรุณศาสตร์” ปีนี้ อังคาร เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 300 ห่า ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 90 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ “อาโป”(ธาตุน้ำ) น้ำมาก น้ำท่วม เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีระกา นาคราชให้น้ำ 4 ตัว ขอทำนายว่า ฝนต้นปีน้อย กลางปีงาม แต่ปลายปีมากแล ฯ ส่วนเกณฑ์ธัญญาหาร ชื่อ “วิบัติ” ข้าวกล้าในไร่นา จะเกิดกิมิชาติ คือ มีด้วงมีแมลงรบกวน ข้าวกล้า จะได้ผล 1 ส่วน เสีย 5 ส่วน บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม จะฆ่าฟันกัน จะนิราชจากกัน จะฉิบหายเป็นอันมากแลฯ อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นการทำนายที่เกิดขึ้นทุกปี “ดีบ้าง-ไม่ดีบ้าง!” เป็นกรณีปกติก ทั้งนี้เราชาวไทยทุกคนต้องรับฟังไว้และต้องระวังตัวให้ดีที่สุดการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้หรือก่อนหน้านี้ ยอมรับว่า “ติดระเบิดเถิดเทิง!” ทุกภูมิภาค ไม่ว่า มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ เพราะฉะนั้น คนขับขี่รถยนต์ต้องเตรียมการไว้อย่างดี ไม่ว่า “ห้ามดื่มสุรา” หรือ “เผื่อคนขับนถไว้หนึ่งคนเผื่อสลับกันขับ!” และต้องตรวจความพร้อมของรถขอให้ทุกท่านสุขสันต์วันสงกรานต์ครับ!