ศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้กล่าวถึง “ระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกา” ยากกว่า “ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ” โดยเฉพาะในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องยอมรับว่า หลักสูตรปริญญาโทในอังกฤษ นั้นน่าจะไม่ยากและไม่ง่ายพอๆ กัน หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็หมายความว่า เพียงหนึ่งปีหรือหนึ่งปีครึ่งก็สามารถจบได้ แต่ก็มีโอกาสที่มีเด็กต่างประเทศที่อาจไม่สนใจเรียนเลยอาจไม่จบเลย แม้กระทั่งปริญญาตรี เรียกว่า “ไม่สนใจเลย!” แต่ถ้าทุ่มเทเอาใจใส่เรียนอย่างจริงๆ จังในอังกฤษปริญญาตรีเรียนเพียง 3 ปีก็จบ และปริญญาโทเพียงปีเดียวก็จบ แต่ถ้าในสหรัฐอเมริกา 4 ปี หรือ 3 ปีครึ่งจบปริญญาตรี โทก็อาจหนึ่งปี แต่ถ้าจะเรียนปริญญาเอก ไม่ว่าอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา ทางคณะกรรมการในการพิจารณาการรับเข้าเรียนศึกษาต่อนั้น ต้องพิจารณาอย่างซีเรียสมาก เพราะต้องเรียนหนักจริงๆ โดยเฉพาะต้อง “วิจัย” อย่างมาก โดยเฉพาะสาขาวิศวกรรมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ กฎหมาย หรือแม้กระทั่งทางด้านดาราศาสตร์ และฟิลิกส์กับเคมี แต่ก็ไม่น่าเชื่อว่า ยังมีคนไทยที่อัจฉริยอย่างมากได้มีโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอย่างมาก และทำงานต่อในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ยังพอมีคนไทยจำนวนไม่มากนักที่มีโอกาสได้ศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศ แล้วทำงานเลย แต่ส่วนใหญ่มักเป็น “โรบินฮู้ด” กล่าวคือ เรียนจบแล้วก็หนีทำงาน แต่งงานไม่กับฝรั่งต่างชาติก็คนไทยกันเองที่มีกรีนการ์ดแล้วก็กลายเป็นคนอเมริกันไปเลย ทั้งนี้ถามว่า “ฉลาดมั๊ย” ก็ต้องตอบว่า “ฉลาด” เพราะเงินเดือนเยอะดี! การศึกษาไทยนั้น ต้องเรียนตามตรงว่า “เคร่งครัดมาก!” และ “อาจคร่ำครึ!” มาก คงไม่ใช่เฉพาะแต่เมืองไทยเท่านั้น แต่น่าจะครอบคลุมทั่วเอเชียไม่ว่า จีน เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น ที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า “เฮี๊ยบ!” อย่างมาก ที่มักไม่ค่อยใส่ใจในเชิง “จิตวิทยา” ของเด็กและเยาวชน แต่มักพุ่งไปทางวิชาการ โดยไม่คำนึงถึง “วัยเจริญพันธุ์” และ “จิตวิทยาของเด็ก” ที่ในวัยเด็กว่า เด็กต้องการอะไรในช่วงวัยเท่าใด และจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณการเรียนให้เพิ่มมากขึ้น ผิดกับชาวยุโรปและอเมริกา ไม่ต้องดูอื่นไกล เด็กอนุบาลของเรามักแบกเป้จนหลังแอ่นตั้งแต่เด็ก เพียงแค่หนังสือที่เรียนนั้นอาจไม่เคร่งเท่าใดนัก “แต่ต้องเรียนมากกว่าเล่น!” แต่ที่สำคัญเด็กอาจรับไม่ไหวทางสมอง ผิดกับทางการศึกษาของอังกฤษกับอเมริกาที่มุ่งเน้นด้าน “ระเบียบวินัยและกฎเกณฑ์ต่างๆ” พร้อมทั้งอาจเพิ่มทางด้าน “คุณธรรม จริยธรรม” พอระดับประถมศึกษาไทยเรามุ่งเรียนตั้งแต่เช้ายันบ่ายเลย มีวิชาพละศึกษาเพียงชั่วโมงเดียว โดยมุ่งคณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ความรู้ทั่วไป ภาษาอังกฤษ กับสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ที่เรียกว่า “มุ่งเน้นวิชาการ” โดยอาจารย์ไม่ค่อยให้ความสำคัญในการอบรมบ่มสั่งสอน หรือเรียกว่า “สักแต่สอน” ไป ทั้งนี้ อาจมิใช่อาจารย์ทั้งหมด เหตุผลสำคัญเพราะว่า “เงินเดือนน้อย” จึงเอาเวลาไปใส่ใจกับ หารายได้เสริมเพื่อประคับประคองตนเองและครอบครัวให้อยู่ได้ โดยไม่คำนึงถึง “การพัฒนาเด็ก!” ยิ่งระดับมัธยมศึกษาไม่ต้องพูดถึง เป็นการศึกษาเล่าเรียนที่ทุ่มเทเฉพาะวิชาการ โดยมิได้คำนึงว่าเด็กอายุ 13-18 ปีนั้น ยังเป็นเด็กที่ความพร้อมยังมีไม่มากนัก ที่จำต้องแบกเรียนวิชาหนักๆ อาทิ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต แต่มิได้มุ่งเน้นเรื่องระเบียบวินัย จริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม และสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือ “โลกทัศน์” ที่นับวันจักเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความรีบที่หนักเกินสมองเด็กจะรับได้! ระบบการศึกษาในต่างประเทศเขาจะใช้ “ระดับความคิด” ของเด็กใน “วัยเจริญพันธ์” บวกกับ “จิตวิทยา” ของเด็กและเยาวชนที่ต้องเข้าใจ “พฤติกรรมของเด็ก” อย่างมาก ยกตัวอย่างเด็กเริ่มตั้งแต่เรียนอนุบาลตั้งแต่วัย 3 ขวบถึงประมาณ 5 ขวบ เด็กอนุบาลจะเป็นเพียง “รวมกลุ่มเด็ก” ให้รู้จักกิจกรรมในการรวมกลุ่มและทำกิจกรรมร่วมกันเท่านั้น โดยรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ต้องรู้จักการยอมรับซึ่งกันและกัน โดยแน่นอนต่างฝ่ายต่างต้องยอมรู้แพ้รู้ชนะซึ่งกันและกัน โดยต้องมีการเอาชนะต่อสู้กันบ้าง แต่คงไม่หนักหนาสาหัสอะไร โดยครูจะต้องคอยเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด และที่สำคัญคือ หนึ่งต้องรู้จักอยู่ร่วมกัน สองรู้จักระเบียบวินัย สามรู้จักการได้เปรียบเสียเปรียบ กับสี่รู้จักพักผ่อนนอนหลับ และห้ารู้จักการนับตัวเลขบ้าง โดยไม่จำเป็นต้องหนักอะไร แต่ที่สำคัญคือ “รู้จักเรียนรู้ชีวิตการอยู่ร่วมกัน!” พอเข้าเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 เด็กจะอายุประมาณ 6 ขวบที่จะเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ที่รู้จักแยกแยะได้บ้างว่าอะไรผิดอะไรถูก แต่อาจแยกแยะได้อย่างไม่ชัดเจนอยู่ที่ “วิธีคิด” และ “สภาวะทางสมอง” ของเด็กแต่ละคนที่มาจากสภาวะทางครอบครัวและสภาวะการเลี้ยงดู พร้อมทั้งสภาวะทางสมอง เพราะฉะนั้น “การอบรมบ่มสั่งสอน” ครูจะต้องสังเกตเด็กอย่างใกล้ชิดโดยพยายามอย่าพูดจาดูหมิ่นดูแคลนเด็กและแยกแยะเด็กออกจากกันกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามตีเด็กอย่างเด็ดขาด การให้เด็กเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติของการอยู่ร่วมกัน บวกกับพฤติกรรมมนุษย์เชิงจิตวิทยาว่ามนุษย์อาจแตกต่างกัน และอาจมีความเชี่ยวชาญ และ/หรือ ชอบคนละอย่างโดยต้องอาศัยครูที่มี “ความรู้เชิงจิตวิทยาและพฤติกรรมวิทยา (PSYCHOLOGY-SOCIOLOGIST)” ขั้นพื้นฐาน ที่ต้องเข้ามาเป็นบางชั่วโมงเพื่อสังเหตุเด็กแล้วให้ “กำลังใจเด็ก” จึงจะทำให้เด็กมีกำลังใจและแรงจูงใจในการเรียน ทั้งนี้การศึกษาอย่างหนักจนเกินไปในชั้นประถมที่ 1-3 แต่พอประถมที่ 4-6 นั้นอาจค่อยๆ เพิ่มวิชาให้มีมากขึ้น เนื่องด้วยเด็กมีอายุมากขึ้น ความเจริญพันธ์ทางสมองะเริ่มโตขึ้นด้วยอายุมากขึ้นวัย 10 ขวบความคิดความอ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญในวัยนี้ การเรียนการสอนในหลักสูตรด้าน “คุณธรรม-จริยธรรม-ศีลธรรม” มีความสำคัญมาก บวกกับ “ระเบียบวินัย” ที่มีความสำคัญที่ต้องปลูกฝังให้เป็น “อุปนิสัย” ของเด็กที่ต้อง “เคารพสิทธิ” ของบุคคลและตนเอง โดยเฉพาะเด็กในวัย 12-15 ปี ในระดับมัธยมศึกษา...ต่อคราวหน้าครับ!