ชัยวัฒน์ สุรวิชัย หยุด จอดไฟแดง : ฟังผู้ใหญ่พูด หน่อย ………………….ประชาธิปไตยไปไม่ถึงฝั่ง เพราะพวกที่ชอบอ้าง “ ประชาธิปไตย เป็นสรณะ “ เป็นเหตุ เราควรมองบวก สร้างสรรค์ เน้นความเป็นจริง อะไรที่ยังไม่เกิดขึ้น คาดการณ์ได้ แต่อย่าไปปักใจเชื่อ ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะไปฟังแล้วเลือกเชื่อ ในส่วนที่ตรงกับความคิด และจริตของตนเอง การตั้งคำถาม หรือ โจทย์ ควรอยู่ในพื้นที่ของเหตุแลผล มิใช่อคติ และความเชื่อส่วนตน ต้องเป็นประโยชน์แก่ ชาวบ้าน และการพัฒนาความรับรู้ของตน ให้ถูกให้ดีขึ้น มิใช่ปรารถนาเพื่อตัวกูของกู อย่าเอาแต่ค้าน ต่อสู้หัวฟันหัวเหวียง หรือมองด้านลบ อย่างเดียว มันจะเดียวดาย ห่างไกลความสำเร็จ ต้องมีมาตรการ ที่เป็นไปได้ มีเหตุผล ได้ประโยชน์ รู้ประมาณ ใช้ความรู้ สติปัญญาและไหวพริบพลิกแพลง นำเสนออย่างเป็นรูปธรรม ง่ายๆ ที่ชาวบ้านเข้าใจ และเข้าร่วมได้ สังคมยังสนใจความเป็นประชาธิปไตยกันไม่มากนัก นี่ มิใช่ จะไปโทษชาวบ้านอย่างเดียว ว่า “ ไม่ศึกษา ไม่พัฒนา “แต่เพราะ พวกผู้รู้ดีรู้มาก ชอบอ้าง “ คาถาประชาธิปไตย เป็น สรณะ “ นี่แหล่ะ เป็นตัวเหตุ ไล่ตั้งแต่ 85 ปี เป็นต้นมา ซึ่งมีทั้งคนที่ตั้งใจจริง คิดดีทำดีเพื่อประชาชนและประเทศ ได้ทำการเปลี่ยนแปลงประเทศ ไปสู่ประชาธิปไตย เพราะ ได้ไปพบไปเห็นสิ่งที่ดีงดงาม และความสำเร็จของประเทศประชาธิปไตย แต่กลับนำเข้ามา ( Import ) แต่รูปแบบ ไม่ได้เอาจิตวิญญาณประชาธิปไตยมาครบถ้วน คือ เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา หลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า และการขาดความเข้าใจเข้าถึงที่เป็นจริง เกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงของสังคมเขา และสังคมไทย และที่สำคัญ คือ มีกลุ่มคนที่มีความคิดอนุรักษ์ ซึ่งมีพลังอยู่ไม่น้อย คอยต่อต้านขัดขวาง อีกทั้ง “พวกลำไผ่ แต่เหลาไปมา กลับเป็นบ้องกัญชา “ คือ ตอนแรกก็ดูดี แต่อำนาจทำให้เปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดศึกสายเลือด ทหาร ฝ่ายอนุรักษ์ ฝ่ายรัฐบาล ขัดแย้งทั้งทางความคิดและผลประโยชน์ “ประชาธิปไตยไทย “ จึงเป็นแบบหัวมกุฎ ท้ายมังกร “ ขึ้นๆลงๆตามสันดอนของผู้นำ บทเรียน ที่เป็นอมตะวาจาของผู้นำที่ให้ไว้ คือ “ เมื่อข้าพเจ้ามีอำนาจ ข้าพเจ้าขาดประสบการณ์ และเมื่อข้าฯมีประสบการณ์ ก็ไม่มีอำนาจแล้ว “และอีกหัวใจที่เป็นพื้นฐานสำคัญของประชาธิปไตย ที่ไม่ได้ทำ หรือทำไม่สำเร็จ คือ “ การสร้างคุณภาพของประชาชน ที่มีอิสระ มีความรู้สติปัญญา ที่ตัดสินใจได้เอง และมีความรับผิดชอบ “ ถัดมาสู่ยุครัฐบาลจากการเลือกตั้ง ในระบบรัฐสภาไทย ในช่วงแรกก็ดูดี แต่แล้วก็ไปไม่ถึงฝั่งประชาธิปไตย ยิ่งมาถึงยุคทุนสามานย์ ทั้งตัวจริง และนอมินีชายหญิง ที่ใช้การซื้อเสียง ซื้อ สส. ซื้อพรรค และซื้อสว. ที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก มีอำนาจเบ็ดเสร็จ แล้วใช้อำนาจรัฐ สร้างอำนาจทุน ( จากการโกง ) อำนาจข้าราชการ อำนาจมวลชน และอำนาจสื่อ ฯลฯ ปูทางสร้างพื้นฐานที่ฝั่งแน่นลงลึกในสังคมไทย เป็น “ ถนน คอ-นก-รีต “ ที่ปิดทับสิทธิเสรีภาพของชาวบ้าน แม้ว่าจะมีการรัฐประหารโดยทหาร ก็ได้แต่ยึดอำนาจมาชั่วคราว แต่ขาดกึ๋นวิสัยทัศน์ และความเป็นรัฐบุรุษ ที่กล้าเสียสละกล้าตัดสิน “ ปฏิรูปประเทศ เศรษฐกิจ-สังคม-วัฒนธรรม โดยเฉพาะ การเมือง “ อย่างจริงจัง แล้วก็เกิดภาวะ “ ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย “ ( History repeats itself ) คือหัวใจที่เป็นพื้นฐานสำคัญของประชาธิปไตย ที่ไม่ได้ทำ หรือทำไม่สำเร็จ คือ “ การสร้างคุณภาพของประชาชน ที่มีอิสระ มีความรู้สติปัญญา ที่ตัดสินใจได้เอง และมีความรับผิดชอบ “โดยสรุป ผู้นำรัฐบาล นักการเมือง ชนชั้นนำในสังคม นักธุรกิจ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อ ฯลฯ ยังแสดงบทบาทน้อย นำเสนอ “ ประชาธิปไตย ตามมองมองและทัศนะของตน “ เพื่อตนและพวกพ้องเท่านั้น หาไปถึงความสุขสมบูรณ์ และสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคของชาวบ้านชาวเมือง หาไม่แล้วเราจะโทษใคร หากมิใช่ “ คนที่อยู่หน้าเรา เมื่อเราส่องกระจก” แล้ว ผู้ใหญ่ ยังคงบอกต่อไปว่า พวกเรา ยังคงคิดทำและสู้แบบเก่าๆเดิมๆ ( Conventional ) ตามอัตตาและพฤติกรรมอย่างที่ผ่านมา คิดในเชิงลบ ต่อคนอื่น โทษเขาทั้งหมดทั้งปวง อะไรที่ไม่สำเร็จ อะไรที่ไม่ดี ขาดการมองตัวเอง การสำรวจวิเคราะห์ ประเมิน และสรุปผล “ ที่ผ่านมา ไม่สำเร็จ เพราะ เหตุปัจจัยอันใด “และที่สำคัญ “ อันตัวข้าพเจ้าเอง มีผิดพลาดใหญ่อะไร ถึงคราวจะต้อง มองตัวเองให้มาก หากต้องการถึงฝั่ง” และขาดการมองชาวบ้าน ว่า “ เขาคิดอะไร อย่างไร และต้องการอะไรเป็นเบื้องต้น “ คาถาที่เป่าเป็นน้ำมาตร์ออกจากปากว่า “ นักการเมือง ทหาร ข้าราชการ นายุทนไม่ดี “ เขาฟังมาเยอะแล้วแล้ว จะเอายังไง ต่อ “ ไม่เห็นพูดอะไร ให้เข้าใจง่ายๆ “ หลักการ และ นามธรรม เอาเก็บใส่ลิ้นชักไว้ก่อน เอารูปธรรมของจริง มาก่อนชาวบ้าน ต้องการ รัฐบาลที่ดีมีประสิทธิภาพ ทำเพื่อแก้ทุกข์ สร้างสุขให้กับตน ผู้ใหญ่ ที่นั่งหัวโต๊ะ นั่งฟังคำพูดคำกล่าว การตั้งโจทย์ ตั้งประเด็นของนักเคลื่อนไหวฝีปากกล้า มานาน คงจะรู้สึกรำคราญ ที่ได้ฟังเรื่องเก่า มีข้อมูลที่กล่าวอ้าง เป็นของเก่าตกค้าง หาประโยชน์ได้ไม่ : จึงเอ๋ยขึ้นว่า โจทย์ของเรา คือ “ ทำอย่างไร จึงจะข้ามพ้นเส้นแดงเส้นเหลือง ที่พันคอพันความคิด ให้หลุดออกไปได้ “ รวมทั้งเรื่อง ม.112 , เรื่องเลือกตั้ง , คสช. , เรื่องสถาบันฯ ซึ่งเรา control ไม่ได้จริง : จึงมีประโยชน์น้อย ซึ่งเป็นประเด็นที่เรานำพูด ชูขึ้นมา แล้วถกเถียงกันมามาก แต่ไม่ได้คำตอบ ไม่ได้ลงมือทำสักที ชาวบ้าน ไม่ได้สนใจ เรื่องที่ดูมันส์ น่าตื่นเต้น ด้วยข้อมูลที่คิดเองเออเอง แล้วสรรหาฟังมา แล้วมาขยายต่อ ชาวบ้านต้องการ ว่า เรา care for ( สนใจใส่ใจห่วงใย ) เขาอย่างจริงใจ ตามที่ชอบอ้างประชาชน หรือไม่ ฉะนั้น เราต้องเริ่มตั้งกลุ่ม “ ทำเพื่อชาวบ้าน , ชาว - บ้าน “ ( คือ คนที่ทำเพื่อ ชาวบ้าน ) ไปแก้เรื่องความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม กระบวนการยุติธรรม อย่างมีส่วนร่วม คือ ชาวบ้านเอง ต้องเข้ามาร่วม สร้างและพัฒนาตัวเอง ให้ “ ตกปลาเป็น “ มิใช่คอยแต่ละรับปลา เราสามารถทำได้หลายระดับ ในตอนเริ่มต้น แต่ต้องไปถึงระดับชาติ เพราะเป็นเรื่องของคนทั้งชาติ เขียน manifesto ( คำแถลงอุดมการณ์, คำประกาศเจตนา ) ออกมา โดยมีผู้รับผิดชอบ และแบ่งงานกันทำ ทำอย่างจริงใจและจริงจัง มียุทธศาสตร์ “ สร้างความเปลี่ยนแปลง ให้เกิดขึ้นในสังคม “และเพื่อให้เกิดผลเป็นดับเบิ้ลเป็นแบบยกกำลังสอง คือ ต้องหาคนที่เก่งและอินมาๆมาช่วยทำ ทำให้มี “ เรื่องดี และคนดี “ เพราะ ต้องฟื้นความรู้สึกที่ดี ออกมาจากหัวใจของผู้คน เพราะเป็นเรื่องยาก ที่คนละเลยผ่านไป ไม่มีใครเอาจริงเพื่อชาวบ้าน ไม่ว่ารัฐหรือนัการเมือง โดยการสร้างความเข้มแข็ง ทั้งในคณะผู้ที่อาสามารับผิดชอบ และ ความเข้มแข็งของชาวบ้านไม่ต่อต้านใคร ไม่เป็นศัตรูกับใคร แต่สร้างความร่วมมือกับทุกฝ่าย ทำเพื่อชาวบ้าน ก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ดีและถูกต้องก่อน “ เรามิใช่ชาวบ้าน “ แต่เราต้องการทำเพื่อชาวบ้าน ฉะนั้น เราต้องเข้าใจ ชาวบ้าน คือใคร ? ต้องการอะไร และเราจะทำอะไร อย่างไร เมื่อใด ? คือ เราเป็น secondary เป็นผู้อาสา ผู้ช่วย ดำเนินการให้ ชาวบ้าน เป็น primary บรรลุ หนทางสู่ความพ้นทุกข์ สู่ความสุขความเจริญพัฒนาสถาพร ซึ่ง ตรงกับความหมายที่แท้จริงของ “ ประชาธิปไตย “ เป็นของปวงชน โดยปวงชน และเพื่อปวงชน หากเราทำให้ชาวบ้าน เป็นใหญ่ คือ มีสิทธิมีเสียง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ตัดสินได้ด้วยตนเองได้ เราก็มิต้องไปกังวลหรือเป็นห่วง ในเรื่องของการเลือกตั้ง เพราะชาวบ้าน ที่มีคุณภาพ เป็น พลเมืองผู้เอาการเอางาน ( Active Citizen ) จะเลือกผู้แทนเป็น สส. สว. เลือกพรรคการเมือง ไปเป็นรัฐบาล และ รัฐสภาฯ ได้ดี ประชาชนเป็นอย่างไร ก็ได้ สส. เป็นอย่างนั้น และจะได้รัฐบาลที่ดี คดดีทำดีเพื่อประชาชนและประเทศ และอีกเรื่องหนึ่ง เสนอให้ เน้น แนวคิด ใหญ่ ที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงกับคนรุ่นใหม่ และคนอื่นๆ ปลุกเร้า ขวัญกำลังใจ ให้มีสำนึก ตระหนักในความรับผิดชอบและความกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด นขณะที่คนส่วนใหญ่ เริ่มรู้สึกว่า “ ทำเพื่อชาวบ้าน “ เป็นเรื่องที่ดี และน่าจะเป็นทางออกได้ มีนักคิดฝีปากกล้า ยกมือขึ้น “ ค้าน “ เสนอว่า “ ทำเรื่องชาวบ้าน “ ไม่พอที่จะแก้ปัญหา เพราะ ปัญหาอยู่ที่อำนาจรัฐ อำนาจนักการเมือง ข้าราชการ ทหารและสถาบันอีกหลายอย่าง ผู้ใหญ่ ยิ้ม และตอบว่า “ ก็พวกคุณ เป็นอย่างนี้ ดีแต่พูด แต่ไม่ทำจริง “ ยังไม่เริ่มต้นทำ ก็ปฏิเสธมาก่อน ก็ต้องกลับไปทบทวนว่า “ ไอ้เรื่องที่พูดมาคำใหญ่คำโต เรื่องอำนาจรัฐ ……. “พูดมานานนม ตั้งแต่วัยรุ่น จนจะแก่ตายแล้ว ยังทำไม่สำเร็จ มิใช่เพราะมันยากเท่านั้น แต่เพราะ “ พวกเรา มิได้เอาจริง เอาใจจดจ่อ แล้วเริ่มทำทันที “ความสำเร็จ เป็นของผู้ทำ มิใช่ เพียงแต่พูด …….. เสียงเงียบ ปกคลุม บรรยากาศ ในเวทีโต๊ะกลม ที่ทุกคนมาโดยมิได้นัดหมาย มิได้มาเพื่อตนเอง แต่เรื่องบ้านเมือง ที่นั่งรถไฟไทยมาร่วมห้าสิบปี ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง มาถึงสถานีแต่ละแห่ง ก็สายไปหลายนาทีหลายชั่วโมง และไม่เคยไปถึงหัวลำโพงสักกะที มีบางคนโดดลงที่ สถานีบางซื่อไปก่อน การฟังผู้ใหญ่พูดให้ข้อคิด ทั้งเตือนสติ จากความรักและความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง ได้ประโยชน์ไม่น้อย ปู่จิ๊บ มีความหวังมากขึ้น และยังคงเดินหน้าต่อไป บนเส้นทางสายประชาชน ที่ยากเย็นแสนเข็ญ แต่สุขใจ